13 ทิศทางธุรกิจร้านอาหารเปลี่ยนไปตลอดกาล จากสถานการณ์โควิด-19

เชื่อหรือไม่ว่า การระบาดโควิด-19 กำลังเปลี่ยนโลกธุรกิจร้านอาหารไปตลอดกาล เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างมากหลังจากนี้ คำถามที่ทุกคนอยากรู้ ก็คือ ธุรกิจร้านอาหารหลังวิกฤติโควิดจะเปลี่ยนไปแบบไหน

ผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมืออย่างไรบ้าง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าและดึงดูดให้กับมาใช้บริการเหมือนเดิม ธุรกิจร้านอาหารจะเปลี่ยนอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 13 ทิศทางธุรกิจ ร้านอาหารเปลี่ยนไปตลอดกาล จากสถานการณ์โควิด-19 ให้ทราบครับ

13 ทิศทางธุรกิจ

1.เชนร้านอาหารขนาดใหญ่ทั้งแบรนด์ไทย แบรนด์นอก จากเดิมขยายสาขาในห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้า จะเปลี่ยนมาเน้นขยายสาขานอกห้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตลาด แหล่งชุมชน หน้าหมู่บ้าน ออฟฟิศ ปั้มน้ำมัน ฯลฯ เพื่อลดความเสี่ยง

2.ร้านอาหารจะปรับเปลี่ยนโมเดลร้านให้มีขนาดเล็กลง ใช้พื้นที่น้อยลง ใช้เงินลงทุนต่ำ เช่น เขียงจากเดิมเปิดในห้างร้านขนาดใหญ่ ก็ปรับโมเดลให้เล็กลง รุกทำเลนอกห้างเป็นหลัก มีหลายร้านเปลี่ยนเป็นคีออส หรือ Food truck

3.ร้านอาหารจะเน้นหาเช่าพื้นที่ราคาถูกสำหรับเปิดร้าน อาจเป็นนอกห้าง หรือในห้าง แต่ต้องใกล้แหล่งชุมชน มีพื้นที่ให้กลุ่มไรด์เดอร์ของแต่ละแอปฯ สามารถจอดรถรับส่งอาหารได้สะดวก

13 ทิศทางธุรกิจ

4.แต่เดิมร้านอาหารส่วนใหญ่มีรายได้หลักจากการให้ลูกค้านั่งรับประทานในร้าน จากนี้ไปผู้ประกอบการร้านอาหารน่าจะให้บริการทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงช่องทางเดลิเวอรี่ ทั้งจัดส่งเอง และร่วมเป็นพันธมิตรแอปฯ ฟู้ด

5.ร้านอาหารบางร้านไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน เพียงแต่มีวัสดุอุปกรณ์ในการปรุงและทำอาหาร ก็เข้าร่วมกับแบรนด์อื่นๆ เช่าพื้นที่ในการทำเป็น Cloud Kitchen หรือ ครัวกลาง เพื่อเป็นศูนย์กระจายและจัดส่งอาหารโดยเฉพาะ

6.ร้านอาหารแบรนด์ใหญ่หันมาบุกตลาดอาหารกล่อง อาหารพร้อมทาน จัดทำเมนูอาหารเป็นเซ็ท จัดส่งเดลิเวอรี่ และวางขายตามร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าปลีกทั่วไป ทั้งในห้างและนอกห้าง

13 ทิศทางธุรกิจ

7.แบรนด์ร้านอาหารใหญ่จะหันมาพัฒนาแอปพลิเคชั่นจัดส่งอาหารของตัวเอง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องค่า GP ที่สูงเกินไป อีกทั้งยังได้เก็บข้อมูลผู้บริโภค เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ รวมถึงจัดทำโปรโมชั่นได้โดนใจ

8.ร้านอาหารจะใส่ใจเรื่องความสะอาด ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การบรรจุอาหาร ตลอดจนการแต่งกายของพนักงาน การสวมใส่ถุงมือ หน้ากากอนามัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคได้

9.ร้านอาหารจะมีความเป็น Self-Service มากขึ้น ทำให้ลูกค้าสื่อสารหรือใกล้ชิดกับพนักงานน้อยลง อาทิ การนำเทคโนโลยีมาช่วยสั่งอาหาร มีอุปกรณ์ทำความสะอาดอยู่บนโต๊ะ และการจ่ายเงินผ่านออนไลน์ เพื่อลดการสัมผัส

13 ทิศทางธุรกิจ

10.ร้านอาหารจะนำเสนอเมนูที่หลากหลาย สมมติหากเปิดร้านอาหารตามสั่งมี 1 ครัว ใช้วัตถุดิบ หมู ไก่ เนื้อ ก็สามารถเปิดขายลาบ ปิ้ง ย่าง ร่วมด้วย แทนที่จะไปครัวที่อื่น ใช้ครัวเดียวกัน พนักงานชุดเดิม แต่ต้องแยกวัตถุดิบไว้คนละตู้

11.ร้านอาหารจะออกแนวลูกผสม มีหน้าร้านตกแต่งสวยงาม อาจจะเช่าพื้นที่ตึกแถว แหล่งชุมชน ให้ลูกค้าสามารถเดินเข้ามาสั่งในร้าน นั่งรอ แล้วหิ้วกลับไปทานบ้าน เช่น ร้านพิซซ่า เป็นต้น

12.แอปฯ ฟู้ดจะเป็นเจ้าของพื้นที่ให้ร้านอาหารเช่า เช่น Grab และ Line Man ชวนร้านอาหารต่างๆ เข้ามาร่วม Cloud Kitchen แอปฯ เหล่านี้มีหน้าที่ทำการตลาด จัดส่งอาหาร โดยที่ร้านอาหารไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แค่นำวัตถุดิบมาประกอบอาหารเท่านั้น แต่อาจไม่สามารถเข้าร่วมกับแอปเดลิเวอรี่อื่นได้ แต่อาจต้องเสียค่า GP on top กับ GP ปกติเพิ่มขึ้น

13.แบรนด์อาหารใหญ่ๆ จะหันมาเน้นขายแฟรนไชส์ เนื่องจากขยายธุรกิจได้รวดเร็ว ยิ่งในช่วงคนตกงาน คนว่างงาน ทำให้คนกลุ่มนี้อยากมีอาชีพและรายได้ จึงหันมาซื้อแฟรนไชส์ เช่น Zen ขายแฟรนไชส์ “เขียง”, บาร์บีคิวพลาซ่า ขายแฟรนไชส์ “หมูทอดกอดคอ” หรือแม้แต่เครือ CRG เปิดขายแฟรนไชส์ “อร่อยดี-เกาลูน”, เชสเตอร์ ขายแฟรนไชส์ “ตะหลิว” เป็นต้น

13 ทิศทางธุรกิจ

ธุรกิจอยากขายแฟรนไชส์ สมัครคอร์สเรียน คลิก https://bit.ly/3zsI3iC

นั่นคือ แนวโน้ม 13 ทิศทางธุรกิจ ร้านอาหารเปลี่ยนไปตลอดกาล จากสถานการณ์โควิด-19

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3y7K0AW

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช