13 ข้อต้องมีในสัญญาแฟรนไชส์

สัญญาแฟรนไชส์ ถือเป็นสัญญาที่กฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบไว้ชัดเจน แต่ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีข้อกำหนดต่างๆ ในสัญญา เช่น พื้นที่ จะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ดำเนินการในเขตพื้นที่ใดได้บ้าง

ค่าธรรมเนียม สิทธิและหน้าที่ การให้การสนับสนุนแฟรนส์ไชส์ซี ระยะเวลาสัญญา สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องระบุในสัญญาแฟรนไชส์ให้ครบถ้วนที่สุด

แม้ว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) หลายรายจะรู้ดีว่า หน้าที่การทำสัญญาแฟรนไชส์เป็นงานของนักกฎหมาย ทนายความที่จะเป็นผู้ช่วยร่างให้ แต่แฟรนไชส์ซอร์ จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องสัญญาแฟรนไชส์อยู่บ้าง เพื่อเป็นคนให้แนวทางการเขียนกับทนายความ ว่าต้องการให้สัญญาแฟรนไชส์บังคับใช้ในเรื่องอะไรบ้าง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอสิ่งที่จำเป็นต้องระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ 13 ข้อ เพื่อให้เป็นแนวทางในการร่างและเขียนสัญญาแฟรนไชส์ของเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) เพราะหากไม่ระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์จะไม่สามารถทำการฟ้องร้องแฟรนไชส์ซีในภายหลังได้ หากเกิดกรณีการทำผิดสัญญาแฟรนไชส์

j7

1.เครื่องหมายการค้าและข้อกำหนดในการใช้งาน

เป็นการระบุรายการของเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ในสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในกรรมสิทธิ์ และข้อกำหนดสำคัญระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ กับ แฟรนไชส์ซี

2.การให้สิทธิ์แฟรนไชส์ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียม และการโอนสิทธิ์

เป็นการระบุถึงรายละเอียดของรูปแบบร้านแฟรนไชส์ สถานที่ตั้ง ขอบเขตของการใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้า และทรัพย์สินทางปัญญา ระยะเวลาของสัญญา การต่อสัญญาแฟรนไชส์ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และอื่นๆ

ii4

3.หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์

เป็นการระบุถึงสิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องปฏิบัติ และดำเนินการ ก่อนและหลังเปิดแฟรนไชส์ เพื่อให้แฟรนไชส์ซีสามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา เช่น การให้การสนับสนุนด้านต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซี

4.หน้าที่ของแฟรนไชส์ซี

เป็นการระบุถึงสิ่งที่แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติและยึดถือ เพื่อให้สามารถประกอบการร้านแฟรนไชส์ได้ตามสัญญา เช่น แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของแฟรนไชส์ซอร์ เช่น ซื้อสินค้า วัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์ อนุญาตใช้เครื่องหมายการค้า

l5

5.ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์

ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์เป็นเงินที่แฟรนไชส์ซีจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อแลกกับการที่ได้โอกาสในการใช้สิทธิ์ประกอบการร้านแฟรนไชส์ โดยเงินดังกล่าวอาจเรียกเก็บตามสัดส่วนของยอดขายในแต่ละเดือน หรือตามแต่จะตกลงกัน

6.การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย

เป็นการระบุเงื่อนไขและรูปแบบของการทําโฆษณาและการส่งเสริมการขาย รวมถึงการระบุจำนวนเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ที่แฟรนไชส์ซอร์จะเรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซี

l6

7.บัญชีงบการเงิน รายงาน และการตรวจสอบ

เป็นการระบุเกี่ยวกับรูปแบบทางการบัญชีและการเงิน ที่แฟรนไชส์ซีต้องดำเนินการ รวมถึงการเปิดโอกาสให้แฟรนไชส์ซอร์สามารถเข้าตรวจสอบทางการบัญชีและการเงินได้

8.การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และข้อกำหนดภายหลังการสิ้นสุดสัญญา

เป็นการระบุถึงเงื่อนไขและกรณีต่างๆ ที่จะนำไปสู่การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และผลที่จะเกิดขึ้นจากการทำผิดสัญญาและการยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซี

j6

9.การไม่เปิดเผยความลับ

แฟรนไชส์ซอร์จำเป็นจะต้องถ่ายทอดวิชาเฉพาะธุรกิจนั้นๆ ให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ เช่น ร้านอาหารอาจจะมีเคล็ดลับเรื่องสูตรอาหารหรือกลยุทธ์พิเศษในเรื่องของการทำการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดเผยคู่มือในการทำธุรกิจ ที่มีรายละเอียดทุกอย่างที่เจ้าของแฟรนไชส์ได้ศึกษาขึ้นมา ด้วยประสบการณ์เป็นเวลานาน

เมื่อได้ถ่ายทอดให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว อาจจะมีโอกาสที่จะถูกนำไปเปิดเผยได้ ดังนั้น ในสัญญาควรมีการกำหนดในเรื่องนี้ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ ที่จะต้องรักษาความลับแม้กระทั่งเลิกสัญญาต่อกันไปแล้ว

10.การจัดการข้อพิพาท

เป็นการระบุถึงเงื่อนไขและการดำเนินการ ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี หากเกิดปัญหาขึ้น เช่น หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญาแฟรนไชส์ฉบับนี้ คู่สัญญาทั้งสองจะต้องตกลงระหว่างกัน ให้ทำการฟ้องร้องและดำเนินคดี ที่ศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญาแฟรนไชส์

k6

11.การฝึกอบรม

เป็นส่วนที่เจ้าของแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) ต้องเปิดเผยให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้ได้รับรู้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมรูปแบบไหน อบรมสถานที่ใด รวมถึงสิ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเตรียมตัวในการฝึกอบรม หรืองานสัมมนา

12.ข้อกำหนดเรื่องการเลือกทำเลที่ตั้ง

ส่วนใหญ่ระบบแฟรนไชส์ บริษัทแม่มักมีส่วนช่วยเลือกทำเลที่ตั้งร้านให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ดังนั้น ในสัญญาแฟรนไชส์อาจต้องมีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้ด้วยว่า บริษัทแม่จะมีส่วนช่วยเลือกสถานที่หรือไม่อย่างไร

เพราะเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ที่ดี ส่วนมากจะต้องไม่ทำให้ธุรกิจที่ตั้งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นของบริษัทแม่เอง หรือของบริษัทแฟรนไชส์ซีล้มเหลว จึงมักมีความประสงค์ในการมีส่วนช่วยเลือกทำเลที่ตั้ง เพื่อเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจดำเนินกิจการไปได้

o7

13.กฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจ

ในระบบธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องมีการกำหนดกฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจด้วย เพื่อรักษามาตรฐานของร้าน ดังนั้น ในสัญญาแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ซอร์จะต้องมีการระบุ ระเบียบที่สำคัญที่จะให้แฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติเอาไว้ โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ตรวจสอบการดำเนินงานร้าน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของร้าน เป็นต้น

ทั้งหมดเป็น สิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์จำเป็นต้องระบุไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ให้ชัดเจน ก่อนที่จะทำการซื้อขายและเซ็นสัญญาแฟรนไชส์กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เพราะหากไม่ระบุเอาไว้ในสัญญาแฟรนไชส์ หรือไม่มีการตกลงเอาไว้ก่อนอนุญาตให้แฟรนไชส์ซีดำเนินธุรกิจ

หากวันใดวันหนึ่ง แฟรนไชส์ซีไม่ทำตามกฎระเบียบ แฟรนไชส์ซอร์ก็สามารถฟ้องร้องได้ แต่สัญญาแฟรนไชส์ก็ต้องมีความเป็นธรรมต่อแฟรนไชส์ซี ถ้าไม่มีความเป็นก็อาจเกิดปัญหาข้อพิพาท ฟ้องร้องกันภาหลังได้อีก


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

2

Franchise Tips

  1. เครื่องหมายการค้าและข้อกำหนดในการใช้งาน
  2. การให้สิทธิ์แฟรนไชส์ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียม และการโอนสิทธิ์
  3. หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์
  4. หน้าที่ของแฟรนไชส์ซี
  5. ค่าตอบแทนการใช้สิทธิ์
  6. การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย
  7. บัญชีงบการเงิน รายงาน และการตรวจสอบ
  8. การผิดสัญญา การเลิกสัญญา และข้อกำหนดภายหลังการสิ้นสุดสัญญา
  9. การไม่เปิดเผยความลับ
  10. การจัดการข้อพิพาท
  11. การฝึกอบรม
  12. ข้อกำหนดเรื่องการเลือกทำเลที่ตั้ง
  13. กฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจ

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://bit.ly/32uN8ss
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ https://bit.ly/3sxIeWb

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3appVfA

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช