13 คำถามที่ต้องรู้ก่อนซื้อแฟรนไชส์ให้ปัง!
ใครที่กำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อการลงทุนสร้างอาชีพ สร้างรายได้ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกแฟรนไชส์ที่มีความเหมาะสมกับตัวเองและมีโอกาสประสบความสำเร็จได้หรือเปล่า วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อแนะนำให้ผู้ที่กำลังจะซื้อแฟรนไชส์ได้นำไปปฏิบัติก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์
โดยจะต้องตั้งคำถามหรือเข้าไปพูดคุยกับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์หรือผู้เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์นั้นๆ เพื่อให้ได้คำตอบเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อแฟรนไชส์มาประกอบธุรกิจ มาดูกันว่ามี 13 คำถามที่ต้องรู้ก่อนซื้อแฟรนไชส์ให้ปัง! จะต้องหาคำตอบให้ได้จากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์อะไรบ้าง
1.ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณเปิดดำเนินการมานานแค่ไหน
ธุรกิจแฟรนส์ที่ไชส์เปิดดำเนินกิจการมานาน 4-5 ปี จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่เพิ่งเปิดดำเนินกิจการ อีกทั้งผู้บริหารจะมีทักษะและประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ สามารถช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ดี
2.สินค้าและบริการมีจุดเด่นและแตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างไร
หากธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจมีสินค้าและบริการแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ จะมีโอกาสทำยอดขายได้ดีกว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีสินค้าและบริการที่ไม่มีจุดเด่นและเหมือนกับแบรนด์อื่นๆ ในท้องตลาด เพราะไม่มีคู่แข่งและดึงดูดความสนใจได้ดี
3.คุณวางเป้าหมายธุรกิจแฟรนไชส์ในตลาดไว้อย่างไร
เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์มีการเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการนำพาธุรกิจแฟรนไชส์ให้เจริญเติบโต ทั้งในและต่างประเทศในระยะเวลา 2-3 ปี หรือ 5-10 ปี จะสร้างความเชื่อมั่นและการันตีให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ว่าจะเติบโตไปพร้อมๆ กัน
4.ใครคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแฟรนไชส์คุณ
ก่อนจะซื้อแฟรนไชส์จะต้องรู้ว่าฐานกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร เช่น เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ วัยทำงาน หรือ ทุกเพศ ทุกวัย เพื่อที่จะได้รู้ว่าแฟรนไชส์ที่จะซื้อไปเปิดในพื้นที่นั้นๆ มีฐานกลุ่มลูกค้าเหล่านี้และเหมาะสมกับพื้นที่ที่จะเปิดหรือไม่
5.คุณให้การช่วยเหลือและสนับสนุนแฟรนไชส์ซี ทั้งก่อนเปิดร้านและหลังเปิดร้านอย่างไรบ้าง
เพื่อจะได้รู้ว่าเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะให้การช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายช่วงวันเปิดร้าน รวมถึงการจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบ การทำตลาด การพัฒนาสินค้า ฯลฯ
6.ธุรกิจแฟรนไชส์สามารถทำยอดขายและรายได้ต่อวันมากน้อยแค่ไหน
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่น่าสนใจซื้อมาเปิดจะต้องมียอดขายและรายได้ไม่ต่ำกว่า 2-3 หมื่นบาทต่อเดือน ยิ่งถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่ต้องใช้พนักงาน 4-5 คน จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 5-6 หมื่นบาทต่อวัน ถึงจะอยู่รอดได้ เพราะมีค่าเช่า ค่าพนักงาน เป็นต้น
7.แฟรนไชส์ของคุณมีร้านสาขาที่ขาดทุน และทำกำไรมากน้อยแค่ไหน
เจ้าของแฟรนไชส์อาจไม่ให้คำตอบว่ามีสาขาไหนบ้างขาดทุนและไม่ประสบความสำเร็จ แต่หากอยากได้คำตอบสามารถไปถามกับสาขาแฟรนไชส์อื่นๆ ก็ได้ อาจจะสอบถามแฟรนไชส์ซีหลายๆ ราย 4-5 ราย ถึงจะรู้ว่าแฟรนไชส์น่าซื้อหรือไม่
8.ปัจจุบันมีร้านสาขาแฟรนไชส์เปิดดำเนินการอยู่มากน้อยแค่ไหน
ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีจำนวนสาขามาก อาจไม่ใช่ธุรกิจแฟรนไชส์น่าลงทุน เพราะสาขาแฟรนไชส์เหล่านั้นอาจเป็นคู่แข่งของคุณเอง แต่สิ่งที่ควรจะรู้คือ แต่ละสาขาแฟรนไชส์มีการเปิดดำเนินการอยู่ และล้มหายตายจากไปมากน้อยแค่ไหน
9.หลังการขายแฟรนไชส์มีการรับประกันสินค้า และอุปกรณ์ต่างๆ หรือไม่
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากเจ้าของแฟรนไชส์ในเรื่องของการรับประกันสินค้าและอุปกรณ์ต่างๆ ในระหว่างเปิดร้าน เพราะหลายๆ แฟรนไชส์มีอุปกรณ์ที่จะต้องซื้อขาด หรือบางแฟรนไชส์ส่งสินค้าให้ไม่ได้มาตรฐาน
10.คุณวางแผนรับมือกับการแข่งขันในธุรกิจแฟรนไชส์เดียวกันอย่างไรบ้าง
ผู้บริหารแฟรนไชส์ที่มีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความได้เปรียบจากคู่แข่งในตลาด มีโอกาสนำพาธุรกิจแฟรนไชส์ก้าวไปสู่ความยิ่งใหญ่ในวันข้างหน้าได้ ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมาก
11.ทำเลที่ตั้งที่มีศักยภาพสำหรับเปิดร้านแฟรนไชส์
ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องถามเจ้าของแฟรนไชส์ด้วยว่า ทำเลที่มีศักยภาพในการเปิดร้านอยู่ที่ไหน เช่น ปั้มน้ำมัน ตลาด ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า ริมถนน ย่านคนทำงาน สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ
12.ต้องใช้เงินลงทุนทั้งหมดเท่าไหร่ ในการเปิดร้านแฟรนไชส์
แฟรนไชส์แต่ละแบรนด์จะใช้เงินลงทุนแตกต่างกัน ทั้งลงทุนต่ำ และลงทุนสูง บางแฟรนไชส์ลงทุนหลักแสน บางแฟรนไชส์ลงทุนหลักล้าน ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องรู้ก่อนว่าแฟรนไชส์ที่สนใจเหมาะสมกับเงินในกระเป๋าของตัวเองหรือเปล่า
13.ขั้นตอนและระยะเวลาในการเปิดร้านแฟรนไชส์
ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายคนอยากเปิดร้านให้ได้เร็วๆ เพื่อที่จะมีรายได้เร็วขึ้น ซึ่งปัจจุบันแต่ละแบรนด์แฟรนไชส์ใช้ระยะเวลาเปิดร้านแตกต่างกัน ตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน เดือนครึ่ง ไปถึงครึ่งปี ถ้าแบรนด์แฟรนไชส์มีระบบที่เป็นมาตรฐานใช้เงินลงทุนสูง และมีระยะเวลาในเปิดร้านยาวนาน เพื่อฝึกอบรมผู้ซื้อแฟรนไชส์อย่างเข้มงวดให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
นั่นคือ 13 คำถามที่ต้องรู้ก่อนซื้อแฟรนไชส์ให้ปัง! หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อการลงทุนสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เป็นอย่างดีครับ ดั่งคำที่ว่า…รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3RM9WfN
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)