12 ขั้นตอน สร้างแฟรนไชส์อย่างมีระบบ (ฉบับสมบูรณ์)
การเริ่มต้น สร้างระบบแฟรนไชส์นั้น ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากนัก เพียงแต่เจ้าของธุรกิจต้องการทีมงานที่มีความอดทน และการเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับที่ดีเป็นองค์ประกอบ
ขณะเดียวกันต้องมีแรงทุนทรัพย์เป็นตัวผลักดัน ขับเคลื่อนธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ เพราะก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ได้นั้น ต้องมีร้านต้นแบบ ผ่านการลองผิดลองถูกมาก่อน และอื่นๆ
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะขอนำเสนอ 12 ขั้นตอน การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นแนวทางให้กับเจ้าของธุรกิจที่สนใจอยากเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ มาดูกันว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง
ภาพจาก facebook.com/Tamsatansuang
1. ประเมินความเป็นได้ของธุรกิจที่ทำแฟรนไชส์
อย่าคิดว่าทุกธุรกิจสามารถทำเป็นแฟรนไชส์ได้ คิดจะขายแฟรนไชส์ก็ขายได้ทันที ธุรกิจที่จะทำเป็นแฟรนไชส์และขายสิทธิให้กับคนอื่นได้นั้น ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้า เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นกิจการที่มีผลกำไรมาแล้ว มีร้านสาขาอยู่บ้าง มีอายุธุรกิจนานพอที่จะสามารถนำเอาเทคนิคและรูปแบบบริหารมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ และมีการสร้างทีมงานที่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์
ดังนั้น ก่อนที่คุณคิดจะนำธุรกิจไปขายแฟรนไชส์ ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน อยู่ในระดับไหนแล้ว เพราะการขายแฟรนไชส์ต้องมีความพร้อม ถ้าไม่พร้อมก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย อาจต้องกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เรียกได้ว่าต้องวางรูปแบบของธุรกิจ กำหนด Concept ของธุรกิจให้คนรู้จัก ดึงดูดลูกค้าได้
2. การจดทะเบียนต่างๆ ตราสินค้า และลิขสิทธิ์
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ก็คือ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการของเจ้าของธุรกิจ ซึ่งเมื่อให้สัญญาแฟรนไชส์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์แล้ว
สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าหรือ เครื่องหมายบริการของเจ้าของ ที่จะต้องใช้ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจของผู้รับแฟรนไชส์ด้วย พร้อมกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีหรือมาตรฐานที่ดีของการให้บริการที่จะต้องควบคู่ไปพร้อมกับ การดำเนินธุรกิจดังกล่าวนั้นด้วย
ภาพจาก facebook.com/ChaTanyong
3. ร้านต้นแบบ
การสร้างร้านต้นแบบขึ้นมา 4-5 แห่ง ก็เพื่อนำมาศึกษาหาข้อดีข้อเสียของธุรกิจที่คุณกำลังทำ ว่ามีความสามารถเพียงใด ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าใด ระบบการขายอย่างไร ระบบเก็บเงินอย่างไร หลายๆ อย่างจะได้จากร้านต้นแบบ
แต่ถ้าคุณมีร้านอยู่แล้ว ก็ต้องสร้างระบบควบคุมให้รัดกุม และ เป็นระบบที่สามารถกระจายการทำได้อย่างมีหลักมีเกณฑ์ เมื่อมีร้านต้นแบบ คุณก็จะสามารถคำนวณได้แล้วว่า จะมีของอะไรบ้าง ป้ายโฆษณา โลโก้ ขาดไม่ได้เลยทีเดียว
4. ระบบการจัดการธุรกิจ และการอบรม
การอบรมให้ทำธุรกิจได้ก็เป็นเรื่องสำคัญ คุณภาพของสินค้าของเราจะดีหรือไม่ก็ขึ้นกับคุณภาพของแฟรนไชวส์ซีด้วยว่า รับรู้วิธีการและเข้าใจในการดำเนินการธุรกิจมากน้อยเพียงใด ดังนั้น การอบรม จึงเป็นวิธีการพื้นๆ แต่ได้ผลในการทำให้ระบบงานทั้งระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ภาพจาก facebook.com/Yangimim
5. สัญญาและมูลค่าแฟรนไชส์
การตั้งราคามูลค่าแฟรนไชส์ ก็ควรตั้งให้เหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเอง การทำสัญญาให้รัดกุมก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ปรึกษาทนาย และดูจากสัญญาของระบบงานอื่นดูบ้างก็ได้
6. การจัดหาวัตถุดิบ และควบคุมคุณภาพ
สินค้าจะมีคุณภาพหรือไม่ วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ คุณภาพของวัตถุดิบที่เราจะนำมาทำนั้น เป็นคุณภาพแบบไหน ความชื้นเท่าได ต้องรักษาและดูแลอย่างไรถึงจะรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นไปตามกำหนดได้ การจัดซื้อจากแหล่งใดก็ต้องหา Supplier ที่สามารถควบคุมคุณภาพให้เราได้เช่นกัน
ภาพจาก facebook.com/rajaporkball
7. การจัดการเรื่องการรับ-ส่งวัตถุดิบ
คุณต้องเข้าไปดูแลตั้งแต่การรับสินค้าจาก Supplier การเก็บเข้าคลัง และการกระจายสินค้าออกไปสู่ แฟรนไชส์ซี การจัดทำ Packaging ที่ทำจากเครื่องเลย ก็มีส่วนช่วยให้ลดแรงงานลงไปได้ เช่น น้ำจิ้ม หรือ สูตรสำเร็จที่จะใส่ในน้ำซุปเป็นต้น
8. ราคาวัตถุดิบที่จะขายให้แฟรนไชส์ซี
ราคาวัตถุดิบที่จะขายนั้น ควรจะเป็นราคาที่ไม่สูง หรือ ต่ำจนเกินไป ต้องรับรู้ว่าจริงๆแล้ว เราต้องการสิ่งเหล่านี้ไปโดยตลอด เป็นรายได้หลักของเราที่จะเข้ามาทุกวัน หากคุณภาพและราคาไม่เหมาะกันแล้ว คุณอาจจะเสียลูกข่ายไปได้ง่ายๆ หรือ แฟรนไชส์ซี เล่นกลซื้อของอย่างอื่นมาใช้แทน คุณก็จะเสียรายได้หลักไปโดยปริยาย
ภาพจาก bit.ly/2RB8MHd
9. การวางแผนด้านการตลาด
การวางแผนการตลาดที่จะสนับสนุนการยอมรับตราสินค้าได้อย่างดี ทั้งด้านการสร้างตราธุรกิจ การสร้างลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค รองรับการขยายของธุรกิจที่มีสาขามากขึ้น การตลาดที่ว่านี้ จะต้องรวมถึงการนำเสนอธุรกิจให้กับนักลงทุนได้อย่างดี น่าสนใจมากพอ ผู้ที่เป็นลูกค้าประจำของเราเองก็อาจจะ มีโอกาสที่จะกลายมาเป็นแฟรนไชส์ซีของคุณต่อไปก็ได้
10. วิเคราะห์วางแผนทางการเงิน
ร้านต้นแบบจะเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่
โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี และคุ้มไหมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะลงทุนทำธุรกิจนี้ ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย
ภาพจาก facebook.com/Pangaiyathailand
11. สร้างแบรนด์แฟรนไชส์ให้เป็นที่รู้จัก
หากคุณคิดจะทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ต้องลองสำรวจตลาดก่อนว่า แบรนด์สินค้าและบริการธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปหรือไม่ ถ้าคนไม่รู้จัก ธุรกิจคุณก็ไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้
ดังนั้น การสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จัก ก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจคุณด้วย ถ้าแบรนด์สินค้าของคุณดีก็จะมีคนบอกต่อปากต่อปาก ขยายฐานตลาดให้กว้างขึ้น นำไปสู่ยอดการขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เพราะแบรนด์จะเป็นหน้าตาของธุรกิจคุณ เมื่อขายให้แฟรนไชส์ซีไปแล้ว แบรนด์นั้นก็จะติดไปด้วย ถ้าลูกค้ารู้จักแบรนด์คุณมาก่อน ก็จะทำให้แฟรนไชส์ซีขายสินค้าได้เหมือนกับคุณ ไม่ว่าจะไปตั้งร้านอยู่ที่ไหนก็ตาม นั่นก็จะสร้างความมั่งคงกลับมาให้กับธุรกิจคุณด้วย
12. จัดทำคู่มือการถ่ายทอดระบบแฟรนไชส์
ระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีคู่มือการดำเนินธุรกิจ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับร้านต้นแบบ คู่มือดังกล่าวจะเป็นไกด์หรือรูปแบบการบริหารธุรกิจ ที่เจ้าของแฟรนไชส์ใช้ในการถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจที่มีมานานให้แก่ผู้อื่น
คู่มือเล่มนี้จะสามารถควบคุมให้การบริหารงานในระบบแฟรนไชส์มีความง่ายและราบรื่นขึ้น ไม่ว่าคุณจะขายแฟรนไชส์ไปกี่สาขา ทุกสาขาแฟรนไชส์ก็จะยึดแนวทางการปฏิบัติ แนวทางการบริหารธุรกิจ และการให้บริการในรูปแบบเดียวกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ถ้าคุณต้องการทำแฟรนไชส์ ต้องอย่าลืมจัดทำคู่มือการดำเนินงาน ตามแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การตกแต่งร้าน การทำตลาดและประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่นต่างๆ การบริหารจัดการด้านการเงิน บริหารสต็อก เป็นต้น
สรุปก็คือ หลักการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่อยู่ๆ จะลุกขึ้นมาเปิดขายแฟรนไชส์ได้เลย คุณต้องทำการศึกษาโอกาสและกระบวนการแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้ นอกจากการสร้างธุรกิจให้มีชื่อเสียง ลูกค้าชื่นชอบ คุณอาจจะต้องเข้าคอร์สอบรมการทำธุรกิจแฟรนไชส์จากองค์กรที่เกี่ยวข้อง หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ด้วย
***** รวมคอร์สเรียนแฟรนไชส์ สร้างรายได้! ตลอดปี 2563 คลิก https://bit.ly/2PuE7IV
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
Franchise Tips
- ประเมินความเป็นได้ของธุรกิจที่ทำแฟรนไชส์
- การจดทะเบียนต่างๆ ตราสินค้า และลิขสิทธิ์
- ร้านต้นแบบ
- ระบบการจัดการธุรกิจ และการอบรม
- สัญญาและมูลค่าแฟรนไชส์
- การจัดหาวัตถุดิบ และควบคุมคุณภาพ
- การจัดการเรื่องการรับ-ส่งวัตถุดิบ
- ราคาวัตถุดิบที่จะขายให้แฟรนไชส์ซี
- การวางแผนด้านการตลาด
- วิเคราะห์วางแผนทางการเงิน
- สร้างแบรนด์แฟรนไชส์ให้เป็นที่รู้จัก
- จัดทำคู่มือการถ่ายทอดระบบแฟรนไชส์
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3d5CAFU
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise