12 คุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในยุคนี้
หลายคนอยาก เริ่มต้นทำธุรกิจ หรือเป็นเจ้าของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง หรือเริ่มต้นธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ แต่ก่อนที่จะเดินเข้าสู่วงการของธุรกิจในฐานะผู้ประกอบการนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการประเมินศักยภาพและความพร้อมของตัวเองว่ามีคุณลักษณะที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจหรือไม่
ใครที่อยากทำธุรกิจ อยากเป็นผู้ประกอบการ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะบอกคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจให้ทราบครับ
1.มีเป้าหมายที่แน่นอน
การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถเดินทางไปสู่ความสำเร็จได้เร็วขึ้น เพราะเป้าหมายจะทำให้เกิดกำลังใจ มีความมุมานะ ก่อให้เกิดพลังที่จะต่อสู้ เดินหน้าไปสู่จุดมุ่งหมาย นั่นคือ ความสำเร็จของธุรกิจ
2.มีความเชื่อมั่นในตนเอง
ผู้ประกอบการถือเป็นผู้นำต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าคิด กล้าทำ พึ่งพาตนเองเป็นหลัก มีความตั้งใจเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง มีลักษณะของความเป็นผู้นำ และมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
3.มีความขยันหมั่นเพียร
อยากประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องพร้อมที่จะทำงานหนัก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหมายที่ตั้งไว้ ผู้ประกอบการต้องทำงานมากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเริ่มต้นกิจการต้องทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มที่ มีความอดทน สามารถทนต่อภาวะกดดันต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามากระทบตลอดเวลา
4.กล้าเสี่ยง
การลงทุนในการทำธุรกิจถือว่ามีความเสี่ยง จะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยเท่านั้นเอง แต่ผู้ประกอบการต้องเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง เลือกทำธุรกิจที่ไม่เกินขีดความสามารถของตัวเอง ศึกษาหาข้อมูล วางแผน เลือกทำในสิ่งที่ถนัด เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมประเมินปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน จากนั้นจึงตัดสินใจว่าจะก้าวต่อไปอย่างไรดี
5.มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ
ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ ส่วนใหญ่จะมีไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ แปลกๆ แตกต่างจากคู่แข่งในท้องตลาด โดยเฉพาะสินค้าและบริการต้องมีความแตกต่าง ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค ที่สำคัญต้องนำเอาความรู้ด้านการบริหารการจัดการสมัยใหม่มาปรับใช้ในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพด้วย
6.มีเงินทุน
เป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องมีเงินลงทุนเริ่มต้นเป็นของตนเองส่วนหนึ่ง มีเงินทุนสำรองไว้หมุนเวียนในการเริ่มต้นธุรกิจอย่างน้อย 3-5 เดือน ผู้ที่มีเงินทุนไม่มากควรเริ่มจากกิจการเล็กหรือเริ่มจากกิจการประเภทที่มีรายรับเป็นเงินสดก่อน
7.รู้จักประมาณตัวเอง
ผู้ประกอบการที่ดีต้องรู้จักประมาณตนเอง ไม่โลภมาก ทำธุรกิจอย่างระมัดระวัง จะลงทุนหรือทำอะไรต้องให้เหมาะสมกับตัวเองเหมาะสมกับเวลาและสภาพแวดล้อม รวมถึงทุนทรัพย์ของตนเอง ระมัดระวังการใช้จ่าย ต้องรู้ประหยัด ขยัน อดทน
8.กล้าตัดสินใจ
นอกจากกล้าคิด กล้าทำ ผู้ประกอบที่จะประสบความสำเร็จต้องกล้าตัดสินใจ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง โดยก่อนที่จะตัดสินใจต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง เมื่อศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบแล้ว ต้องหนักแน่น มีความเชื่อมั่นในตัวเองและในงานที่ทำ
9.สร้างทีมงานที่มีความรู้
องค์ประกอบอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจให้สำเร็จ คือ ทีมงานที่มีความรู้ ผู้ประกอบการต้องสร้างทีมงานที่มีความรู้ความสามารถ ซื่อสัตย์ ไว้วางใจได้ พร้อมลุยงาน จะช่วยแบ่งเบาภาระได้ ทีมงานที่ดีจะต้องเป็นทั้งคู่คิด เป็นเหมือนแขน ขา หรืออาจเป็นสมองให้การจัดการทีมงานเป็นสิ่งหนึ่งที่จะวัดความสามารถของผู้ประกอบการที่ดีได้
10.มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม
คุณลักษณะอีกอย่างที่ทำให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมงาน และลูกค้า โดยเฉพาะในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานสินค้า ต้องสร้างความเชื่อถือให้ตนเองด้วยการรักษาคำพูด เป็นต้น
11.ประหยัดเพื่ออนาคต
ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จหลายๆ คน นอกจากจะขยัน อดทน ต้องรู้จักเก็บออมเงินไว้เพื่อขยายกิจการในอนาคต การดำเนินธุรกิจต้องใช้เวลายาวนานกว่าจะบรรลุเป้าหมายได้ ผู้ประกอบการจึงต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจที่จะหาความสุขใส่ตนไว้ก่อน การประหยัดหมายถึงการใช้เงินไปในทางที่ถูกที่ควร เมื่อมีส่วนที่เหลือก็ให้เก็บออมไว้เพื่อการลงทุน
12.มีความรับผิดชอบต่อสังคม
ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในยุคนี้ จะให้ความสำคัญในเรื่องการตอบแทนสังคม ดำเนินนโยบาย CSR ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนา เป็นผู้ทำให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างงานให้คนทำ สร้างรายได้และอำนาจการซื้อให้กับประชาชน ผู้ประกอบการจึงต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะอย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการก็ต้องพึ่งสังคมในรูปแบบของผู้บริโภคสินค้า หากสังคมดำรงอยู่ด้วยดีผู้ประกอบการก็ดำรงอยู่ได้เช่นกัน
นั่นคือ 12 คุณลักษณะ ของการเป็นผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจในยุคนี้
SMEs Tips
- มีเป้าหมายที่แน่นอน
- มีความเชื่อมั่นในตนเอง
- มีความขยันหมั่นเพียร
- กล้าเสี่ยง
- มีความคิดสร้างสรรค์สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ
- มีเงินทุน
- ต้องประมาณตัวเอง
- กล้าตัดสินใจ
- สร้างทีมงานที่มีความรู้
- มีความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรม
- ประหยัดเพื่ออนาคต
- มีความรับผิดชอบต่อสังคม
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3qgN50t
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)