12 กิจกรรมที่นักธุรกิจมักทำในวันอาทิตย์
สำหรับ มนุษย์เงินเดือน ถ้าบอกว่าพรุ่งนี้เป็นวันจันทร์ความรู้สึกคงเหมือนคนกำลังหมดแรง ยิ่งงานที่ทำเหนื่อยยากการมาถึงวันจันทร์ก็เป็นอะไรที่ดูจะเลวร้ายซะเหลือเกิน นักวิทยาศาสตร์พูดถึงอารมณ์ของคนที่เบื่อวันจันทร์ว่าเป็นเรื่องอันตรายที่อาจมีผลเสียหายต่อสุขภาพอาจร้ายแรงถึงขนาดเป็นโรคซึมเศร้าตามมาได้เลยทีเดียว
แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่าหากเป็นในมุมของนักธุรกิจหรือคนที่กระหายในความสำเร็จแล้ว วันจันทร์คือวันที่เขาจะแอคทีฟมากที่สุดเพราะวันอาทิตย์ที่เป็นวันหยุดคนเหล่านี้ก็ไม่ได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปเปล่าๆพวกเขามีกิจกรรมที่น่าสนใจมากๆ
www.ThaiSMEsCenter.com ลองรวบรวมเอา กิจกรรมที่นักธุรกิจมักทำในวันอาทิตย์ เหล่านี้มาให้ดูกันว่าวันอาทิตย์ที่เราคิดว่าควรพักพวกเขาทำอะไรกันบ้าง
1.อ่านหนังสือ
เป็นกิจกรรมที่พูดถึงมากที่สุดและคนดังก็ทำแบบนี้มากที่สุดเหมือนกัน นักพูดชื่อดังอย่าง Michael Kerr เจ้าของหนังสือ You Can’t be Serious? Putting Humor to Work ได้กล่าวไว้ว่าผู้นำบริษัทใหญ่ๆมักจะเซตเวลาในการอ่านหนังสือก่อนนอนกันทุกคน ซึ่งการอ่านนั้นไม่ได้จำกัดว่าต้องอ่านอะไรเพราะคนเหล่านี้จะหาคุณค่าในสิ่งที่เขาอ่านได้เสมอ
2.อยู่กับครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ
การทำงานมาทุกวัน เจอสิ่งที่ต้องรับผิดชอบมากมายแต่ครอบครัวก็เป็นพลังผลักดันที่สำคัญเช่นกัน คนที่ใช้วิธีการอยู่กับครอบครัวเพื่อสร้างพลังใจให้ตัวเองเช่น Roy Cohen โค้ชด้านการทำงานและผู้แต่งหนังสือเรื่อง The Wall Street Professional’s Survival Guide
3.ออกกำลังกาย
Aliza Rosen โปรดิวเซอร์รายการทีวีเป็นอีกคนหนึ่งที่ออกมาแนะนำว่า ถ้ายังนึกไม่ออกว่าจะทำอะไรดี ลองใช้เวลาในวันอาทิตย์ไปออกกำลังกายก็น่าสนใจเช่นกัน เช่น อาจจะเดินเล่น เล่นเทนนิส หรือไปโรงยิมก็ได้
4.บันทึกเรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้น
Micheal Woodward ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและผู้แต่งหนังสือเรื่อง The YOU Plan แนะนำถึงการสร้างพลังใจให้เกิดขึ้นในวันอาทิตย์คือการทบทวนสิ่งที่เกิดมาตลอดสัปดาห์และจดบันทึกเอาไว้ เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ใช้ได้ในวันต่อไป
5.คิดกิจกรรมที่ทำแล้วสนุก
Laura Vanderkam เขียนเอาไว้ในหนังสือ What The Most Successful People Do On the Weekend ว่า การวางแผนทำกิจกรรมสนุก ๆ ในวันอาทิตย์จะทำให้ความคิดถึงวันจันทร์ที่แสนน่าเบื่อนั้นน้อยลง
6.มองหาเป้าหมายในสัปดาห์ต่อไป
โค้ชด้านการทำงาน Marsha Egan แนะนำให้ลองเขียนเป้าหมายของสัปดาห์หน้า ว่ามีอะไรบ้างที่อยากทำให้สำเร็จ รวมถึงระบุเส้นตายเอาไว้ด้วย แต่ก็ไม่ควรให้เป็นเรื่องที่เครียดจนเกินไป
7.สนทนากับเพื่อนร่วมรุ่น
การนัดเจอเพื่อนเก่าในวันอาทิตย์เป็นอีกกิจกรรมที่น่าสนใจที่ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนความคิดและทรรศคติของแต่ละคนที่แยกย้ายกันไปและกลับมาเจอกันอีกที
8.กิน กิน และกิน
แต่การกินก็ต้องเลือกอาหารที่ดีและมีประโยชน์ด้วยจะเป็นการเสริมสร้างความรู้สึกที่ดีในอีกรูปแบบหนึ่ง ซีอีโอของของ Urban Balance อย่าง Joyce Marter ก็เป็นอีกตัวอย่างของคนที่สร้างแรงบันดาลใจในวันอาทิตย์ด้วยการกิน
9.ไปสัมผัสชีวิตที่แตกต่าง
แรงบันดาลใจที่ดีบางทีก็ต้องไปในสถานที่ที่ไม่เคยไป ดังนั้นคนดังที่ประสบความสำเร็จส่วนหนึ่งอาจใช้วันนี้ไปเจอวัฒนธรรมต่างถิ่นยกตัวอย่าง Tim Gunn เมนเทอร์ของ Project Runway ก็เป็นอีกคนที่ชอบหาไอเดียจากวิธีนี้
10.งดการเล่นโซเชี่ยลออนไลน์
วันหยุดก็ควรทำให้เป็นวันหยุดจริงๆ การเสพข่าวหรือการเล่นโทรศัพท์ ไม่ช่วยให้เราพักผ่อนได้แท้จริง Michael Kerr โค้ชด้านการทำงาน แนะนำว่า หากต้องการชาร์จพลังให้ตัวเองควรห่างจากโซเชี่ยลไปเลยสักวันหนึ่ง
11.ทำงานสาธารณะ
การทำงานสาธารณะเป็นการฝึกฝนตนเองอย่างหนึ่งไม่ว่าเราจะเป็นคนดังหรือคนที่ประสบความสำเร็จแค่ไหนหากลองทำงานสาธารณะดูจะพบว่ามีมุมมองของการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
12.นั่งสมาธิ
แม้แต่สตีฟ จ็อบเองก็ยังชอบการทำสมาธิเพราะเขารู้สึกว่าช่วยทำให้สมองรู้สึกปลอดโปร่งและสามารถเรียงลำดับความคิดได้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเขาถึงคิดสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลกนี้ได้อย่างมากมาย
การสร้างพลังใจให้ตัวเองก่อนเข้าสู่โหมดการทำงานเต็มตัวเป็นอีกเคล็ดลับนำพาไปสู่ความสำเร็จได้อย่างดี แต่ทั้งนี้การวางแผนชีวิตไม่ใช่คิดแค่ล่วงหน้าวันหรือสองวัน แต่แผนชีวิตที่ดีควรวางแผนระยะยาวและพยายามก้าวตามแผนที่เราวางไว้ให้ได้คนดังที่ประสบความสำเร็จเขามีแรงบันดาลใจในตัวเองและมีแผนชีวิตในตัวที่ชัดเจนเขาถึงประสบความสำเร็จได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ภาพจาก pixabay.com
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)