11 อุปสรรคในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์
ปัจจุบัน เจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจการร้านค้า ต่างให้ความสนใจขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จำนวนมาก เพราะใช้เงินลงทุนในการขยายธุรกิจไม่สูงมากนัก แถมยังสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอย่างรวดเร็ว เพียงแต่เจ้าของธุรกิจต้องมีความรู้และเข้าใจระบบแฟรนไชส์ รวมถึงต้องมีทักษะในการบริการจัดการสาขาแฟรนไชส์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
แต่ถึงอย่างไร ใช่ว่าเจ้าของธุรกิจทุกคนจะสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จได้โดยง่าย เพราะระบบแฟรนไชส์มีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าระบบธุรกิจทั่วๆ ไป เป็นการรูปแบบของการขายสิทธิและทำงานร่วมกับแฟรนไชส์ซีหลายๆ คน หากไม่สามารถบริหารสาขาแฟรนไชส์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ ก็มีความเสี่ยงที่จะล้มเหลวสูงเช่นเดียวกัน
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะขอนำเสนอ 11 อุปสรรค ในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับเจ้าของธุรกิจ และ เจ้าของกิจการร้านค้า ที่กำลังคิดจะขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ได้นำเอาไปเป็นแนวทางศึกษาก่อนเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์
1. ขาดความรู้เรื่องแฟรนไชส์
น่าจะเป็นอุปสรรคในการสร้างแฟรนไชส์อย่างแน่นอน หากเจ้าของธุรกิจไม่มีความรู้ในเรื่องระบบแฟรนไชส์ ที่จะต้องทำงานร่วมกันกับแฟรนไชส์ซีหลายๆ คน ต้องมีระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ซี ต้องรู้ว่ารายได้มาจากไหนบ้าง การสร้างคู่มือแฟรนไชส์ การสร้างร้านต้นแบบ ทำตลาด ไม่ใช่รู้เพียงมีคนมาขอซื้อแฟนไชส์ก็รีบขายไปเพราะได้เงินเร็ว
2. ธุรกิจไม่เหมาะทำแฟรนไชส์
ธุรกิจไม่เหมาะสำหรับทำแฟรนไชส์ เช่น ธุรกิจตามกระแสมาไวไปเร็ว ธุรกิจที่ถ่ายทอดได้ยาก ไม่สามารถสร้างยอดขายและกำไรได้ เป็นธุรกิจที่ไม่ฐานกลุ่มลูกค้า ธุรกิจที่ไม่สามารถสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้ สินค้าหรือบริการที่ลูกค้าซื้อไปแล้ว ไม่สามารถช่วยยกระดับหรือตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้ ธุรกิจแบนี้จะทำแฟรนไชส์ได้ยาก
3. ขาดเงินลงทุนและหมุนเวียน
ถือว่าสำคัญมาก เพราะเงินลงทุนในเปิดร้าน รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนในช่วงเปิดร้านแล้ว มีส่วนทำให้ธุรกิจหรือกิจการเติบโตได้ เช่น หากเจ้าของกิจการไม่มีเงินทุน ก็ไม่สามารถเปิดร้านสาขา หรือร้านต้นแบบได้ หรือซื้ออุปกรณ์วัตถุดิบต่างๆ ในการเปิดร้านได้ ที่สำคัญเงินทุนเหล่านี้จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจรู้ว่า เมื่อขายแฟรนไชส์ไปแล้วแต่ละสาขาแฟรนไชส์ต้องใช้เงินเท่าไหร่ ซึ่งเจ้าของธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์จะต้องแจ้งให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ทราบด้วย
4. ทีมงานไม่มีประสิทธิภาพ
การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ จำเป็นต้องมีทีมงานคอยช่วยเหลือ เจ้าของธุรกิจไม่สามารถทำคนเดียวได้ ดังนั้น หากทีมงานไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นอุปสรรคในการสร้างแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาย การทำตลาด การหาทำเล การอบรม การสนับสนุนแฟรนไชส์ ซึ่งหากทีมงานเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพก็อาจทำให้ระบบแฟรนไชส์ไม่แข็งแกร่ง
5. แบรนด์ไม่เป็นที่รู้จักในตลาด
แบรนด์ธุรกิจถือว่ามีความสำคัญในการขายแฟรนไชส์ เพราะคนซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว สามารถเปิดร้านขายได้ทันที เพราะคนรู้จักมาก่อนแล้ว เช่น 7-11 ไม่ว่าจะเปิดสาขาแฟรนไชส์ที่ไหน ก็มีคนใช้บริการ เพราะแบรนด์คนรู้จัก แต่ถ้าแบรนด์ธุรกิจที่คนไม่รู้จัก ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว ก็ยากที่จะมีคนมาใช้บริการ แบรนด์ไม่ดังจึงเป็นอุปสรรคในการสร้างแฟรนไชส์
6. สินค้าและบริการไม่ตอบโจทย์
ถ้าหากสินค้าและบริการของคุณเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงแคบๆ คนรู้จักเพียงแค่พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง สินค้าไม่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ ก็ยากที่จะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์แล้วประสบนความสำเร็จ แฟรนไชส์ที่ดีสินค้าและบริการต้องขายได้ในทุกพื้นที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น KFC แมคโดนัลด์ เป็นต้น
7. คู่แข่งขันในตลาดจำนวนมาก
หากธุรกิจที่คุณจะสร้างแฟรนไชส์มีคู่แข่งในตลาดจำนวนมาก ก็จะเป็นอุปสรรคในการทำแฟรนไชส์เช่นกัน เพราะหากเปิดขายแฟรนไชส์จะขายได้ยาก ผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์จะมีทางเลือกมากมาย จะเลือกแบรนด์คุณหรือไม่เลือกก็ได้ หรือถ้าเปิดขายแฟรนไชส์ก็อาจไปไม่รอด เช่นเดียวกันกับแฟรนไชส์ชา 25 บาท ที่ในปัจจุบันเริ่มขายจากตลาดไปทีละแบรนด์
8. ร้านมีจำนวนสาขาน้อยเกินไป
กิจการที่สามารถทำแหรนไชส์ได่ดี ก็คือ กิจการที่มีสาขามากกว่า 2 สาขา ซึ่ง 2 สาขา ถือเป็นร้านต้นแบบที่คุณจะต้องบริหารจัดเอง เพื่อดูว่าร้านเหล่านี้มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง สร้างยอดขายและกำไรมากน้อยแค่ไหน ยิ่งถ้ามีสาขามากกว่า 5 แห่ง และทุกแห่งมีกำไรเหมือนๆ กัน มาตรฐานเดียวกัน ก็จะทำให้มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด หากมีสาขาน้อย อาจเปรียบเทียบได้ยาก
9. กิจการขาดทุนไม่มีกำไร
กิจการที่ขาดทุน ไม่มีกำไร ก็ยากที่จะมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ เพราะแฟรนไชส์เป็นการซื้อความสำเร็จของระบบธุรกิจ ภายใต้แบรนด์เดียวกัน มาตรฐานเดียวกัน สินค้าและบริการเหมือนกัน ถามว่าทำไมคนอยากซื้อแฟรนไชส์ 5 ดาว เพราะทำกำไรได้
10. ธุรกิจถ่ายทอดได้ยาก
ธุรกิจที่ถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้ยาก เป็นอุปสรรคต่อการทำแฟรนไชส์อย่างแน่นอน เพราะอย่างที่กล่าวไป แฟรนไชส์เป็นการซื้อระบบที่ประสบความสำเร็จ โดยเจ้าของกิจการจะเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ การทำงาน ผ่านการอบรม ทั้งการสาธิตให้ดู หรือการให้ปฏิบัติ ถ้าหากคนซื้อแฟรนไชส์ไม่สามารถทำตามได้ ก็ยากที่จะทำแฟรนไชส์ให้สำเร็จ
11. เศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
เป็นเรื่องใหญ่มากในการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ หรือธุรกิจทั่วๆ ไป เพราะคงไม่มีใครที่สร้างธุรกิจ หรือขยายธุรกิจในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี เงินทุนหดหาย สังเกตได้ว่าช่วงเศรษฐกิจดีๆ เราจะเห็นธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ผู้คนอยากเริ่มต้นธุรกิจ ทำไปแล้วขายได้แน่นอน เพราะผู้บริโภคมีกำลังซื้อเป็นแน่ แต่ถ้าช่วงเศรษฐกิจไม่ดีทำอะไรก็ไม่ดีไปเสียหมด ดูได้จากช่วงโควิด-19 ธุรกิจต่างๆ เงียบไปหมด ปิดกิจการ ยอดขายตก ผู้คนไม่มีกำลังซื้อ ไม่กล้าเสี่ยงลงทุน เจ้าของกิจทำได้แต่ประคับประคองตัว
ทั้งหมดเป็น 11 อุปสรรค ในการสร้างธุรกิจเข้าสู่แฟรนไชส์ ใครที่คิดจะสร้างแฟรนไชส์ สามารถเอาไปเป็นแนวทางศึกษา พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมให้กับตัวเองและธุรกิจ ก่อนจะขยายในรูปแบบแฟรนไชส์ เพื่อป้องกันความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ท่านใดสนใจอยากทำคู่มือแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3gjjr34