10 เหตุผลร้านแฟรนไชส์ควรใช้ระบบขายหน้าร้าน POS

การค้าขายยุคเก่าอาศัยแค่เครื่องคิดเลข ลูกคิด คิดคำนวณราคาสินค้า แต่เมื่อธุรกิจมีการเติบโต มีการขยายสาขา มีลูกค้ามากขึ้น ปัญหาต่างๆก็ตามมา ยิ่งปัจจุบันการลงทุนในระบบแฟรนไชส์เป็นที่นิยมอย่างมาก แต่ละแบรนด์แต่ละแฟรนไชส์ต่างมีลูกค้าจำนวนมาก 

การบริหารจัดการจึงเป็นสิ่งสำคัญ การเข้ามาของ Point of Sale System (POS) ระบบขายหน้าร้าน www.ThaiSMEsCenter.com ถือว่ามีประโยชน์และมีความคุ้มค่าที่คนทำธุรกิจควรนำมาใช้เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการได้อย่างแท้จริง

วิวัฒนาการเบื้องต้นของ Point of Sale System (POS)

ระบบขายหน้าร้าน

เครื่อง POS ยุคแรกๆ เริ่มในปี 1973 โดยบริษัท IBM แต่ยังเป็นระบบการใช้งานที่ยุ่งยาก จากนั้นเริ่มมีการพัฒนามาต่อเนื่อง ในปี 1986 มี POS แบบจอสัมผัสออกมาครั้งแรก และถือเป็น POS ยุคแรกๆที่นำไปใช้กับร้านอาหาร ร้านค้าปลีกอย่างแพร่หลายมากขึ้น อันที่จริงต้นแบบของ ระบบขายหน้าร้าน POS คือการพัฒนามาจากเครื่องคิดเงินที่เราเคยเห็นอยู่ตรงหน้าบรรดาแคชเชียร์ต่างๆ ซึ่งความสามารถของระบบ POS หรือโปรแกรมขายหน้าร้านนี้ทำได้หลายอย่างเช่น เก็บข้อมูลการขาย , บันทึกค่าใช้จ่าย , นับสต๊อกสินค้า , มีระบบสมาชิก , ตรวจสอบยอดขายได้ , ระบุสินค้าขายดีและไม่ดี เรียกดูยอดขายร้านได้อย่างง่ายดาย เป็นต้น

แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

ระบบขายหน้าร้าน

  1. POS ที่เป็นโปรแกรมเก็บเงินหน้าร้านโดยเฉพาะ (Point of Sale) ถูกออกแบบมาเพื่องานขายหน้าร้านโดยเฉพาะ สามารถใช้งานง่าย ไม่มีความซับซ้อน มักมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน แล้วก็ช่วยให้การขายรวดเร็วยิ่งขึ้น
  2. โปรแกรมบัญชี พ่วงกับส่วนของหน้าร้าน (Accounting Sofware) โดยจะมีการประยุกต์ใช้หลักการของโปรแกรมบัญชีมาใช้งานกับการขายของหน้าร้าน มีข้อเสียคือ ใช้งานยาก มีข้อจำกัดเยอะ แล้วก็มีขั้นตอนการใช้งานที่ค่อนข้างยุ่งยาก

10 เหตุผลร้านแฟรนไชส์ควรใช้ ระบบขายหน้าร้าน POS

ระบบขายหน้าร้าน

เมื่อทราบถึงข้อดีและประสิทธิภาพของ POS ไปแล้ว และเชื่อว่าคนที่มีร้านค้า ร้านอาหารส่วนใหญ่ มองว่ามีประโยชน์และคุ้มค่ามาก ซึ่งมีข้อดีที่น่าสนใจดังนี้

ระบบขายหน้าร้าน

1.เจ้าของกิจการสามารถเช็คข้อมูลได้ตลอดเวลา

เจ้าของธุรกิจบางคนไม่ได้อยู่ประจำที่ร้าน ซึ่งอาจมีงานประจำ หรือมีธุรกิจหลายแห่ง การมีระบบ POS จะทำให้เรารู้ว่าวันนี้ร้านค้าขายสินค้าได้เท่าไหร่ ขายอะไรไปบ้าง อะไรที่ขายดีขายไม่ดี เรียกว่าสามารถเช็คข้อมูลของธุรกิจได้ตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ประจำที่ร้านก็ตาม

2.บริหารจัดการสต็อคสินค้าได้

ระบบ POS จะแจ้งเตือนตลอดหากวัตถุดิบหรือสินค้าในร้านกำลังจะหมด ทำให้เจ้าของกิจการบริหารจัดการสต็อคได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้ว่าต้องเติมสินค้าไหนก่อน-หลัง ทำให้ไม่ต้องสต๊อกวัตถุดิบที่มากเกินความจำเป็น ตัวไหนที่ขายดีก็สต็อควัตถุดิบไว้ได้มาก ตัวไหนที่ขายไม่ค่อยได้ ก็สต็อควัตถุดิบไว้น้อยลง เป็นการบริหารสต็อคที่มีประสิทธิภาพมาก

ระบบขายหน้าร้าน

3.วางแผนการจัดโปรโมชั่นได้มีประสิทธิภาพ

ต่อเนื่องจากการบริหารสต็อคที่มีคุณภาพทำให้เจ้าของกิจการมองเห็นภาพรวมของสต็อคสินค้า ทำให้คิดจัดโปรโมชั่นได้ดียิ่งกว่าเดิม อะไรที่เหลือมากก็นำมาทำการตลาด ดึงดูดลูกค้าให้มากขึ้น เพื่อกระจายสินค้าในสต็อคให้ลดลง ดังนั้น POS จึงถือว่ามีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มยอดขายได้ด้วย

4.ทำให้ประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น

POS เป็นระบบที่ทำให้คนทำธุรกิจประหยัดต้นทุนได้ชัดเจน เนื่องจากโปรแกรม POS จะคำนวณจำนวนสินค้า รวมถึงยอดขายและบัญชีได้อย่างแม่นยำ ลดต้นทุนในการจ้างบุคลากรด้านบัญชี ซึ่ง ราคาโปรแกรม POS ต่อเดือนนั้นไม่แพง โดยเฉพาะตอนนี้ที่มีหลายแบรนด์ออกมาทำการตลาดมีการแข่งขันด้านโปรโมชั่นต่างๆ ให้เราเลือกได้มากขึ้น

ระบบขายหน้าร้าน

5.ปรับโครงสร้างราคาให้เหมาะกับต้นทุน

ระบบ POS สามารถเก็บข้อมูลได้ว่า แต่ละเมนูมีต้นทุนในการผลิตเท่าไหร่ และเมื่อเทียบกับราคาขายแล้ว ร้านอาหารได้กำไรกี่ % ซึ่งระบบก็จะสรุปมาให้เป็นรายวัน หรือรายเมนูได้ ซึ่งเจ้าของกิจการสามารถเช็คดูได้ตลอดเวลา ราคาที่ตั้งขายนั้นสมเหตุสมผลกับต้นทุนหรือเปล่า เช่น บางเมนมีคนสั่งเยอะมาก เราอาจคิดว่าเมนูนี้คือตัวทำเงินของร้าน แต่เมื่อลองดูสรุปยอดจากระบบ POS แล้วพบว่าจริงๆ อาจพบว่าสัดส่วนรายได้ของเมนูนี้ไม่ได้มากอย่างที่คิด อาจมีต้นทุนแฝงรวมอยู่มาก ก็ต้องมาคิดหาวิธีปรับราคาให้เหมาะสมกับความต้องการต่อไป

6.มีฟีเจอร์ Food Delivery สำหรับร้านอาหาร

ปัจจุบันช่องทางการจำหน่ายไม่ได้จำเพาะแค่หน้าร้าน แต่เรื่องของ Food Delivery ก็สำคัญมาก ระบบ POS ในปัจจุบันตอบโจทย์เรื่องเหล่านี้ได้อย่างดี มีหลายฟีเจอร์ที่อยู่ใน POS ที่ทำให้เจ้าของกิจการสามารถรับลูกค้าทั้งหน้าร้านและทาง Delivery ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสในการขาย และมีโอกาสขยายสาขาได้มากขึ้น

ระบบขายหน้าร้าน

7.ป้องกันปัญหาเรื่อง”เงินหาย”

ระบบคิดเงินแบบเดิมๆ มีหลายครั้งที่ยอดขายกับรายได้ไม่ตรงกัน ซึ่งระบบ POS แก้ไขปัญหานี้ได้ เพราะPOS จะมีการเก็บข้อมูลการขายทั้งหมด รวมถึงมีระบบล็อคอินที่ต้องใช้รหัสประจำตัวของพนักงาน สามารถป้องกันปัญหาพนักงานยักยอกเงินจากการขายได้ด้วย

8.เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น

การรับออร์เดอร์แบบเดิมๆ ทำให้ลูกค้าอาจต้องรอนาน แต่ระบบ POS ที่ได้มาตรฐานจะเชื่อมโยงกับระบบครัว ออร์เดอร์จากลูกค้าจึงถูกส่งไปถึงคนทำอาหาร ลดความผิดพลาดในเรื่องการสื่อสาร แถมยังทำให้การบริการนั้นรวดเร็วมากขึ้น หรือแม้แต่ร้านค้าปลีกระบบคิดเงินของ POS ที่รวดเร็วและมีการคิดเงินทอนได้อัตโนมัติทำให้บริการได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

15

9.บริหารธุรกิจได้จากทุกที่

เนื่องจากการทำงานของโปรแกรม POS นั้นจะเป็นการทำงานแบบออนไลน์ คือเมื่อมีคนซื้อสินค้าที่หน้าร้านไป ทางระบบก็จะทำการตัดสต๊อกสินค้าทันที อีกทั้งเรายังสามารถดูข้อมูลการขายได้จากทุกที่เรื่องจากเป็นระบบออนไลน์ ดังนั้นเพียงแค่เจ้าของกิจการอยู่ในที่ที่มีอินเทอร์เน็ต ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทันทีโดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงหน้าร้าน สามารถทำธุระหรือบริหารงานหลายสาขาในเวลาเดียวกันได้

10.รองรับการชำระเงินออนไลน์ หรือ Mobile Payment

จากสถิติโดยรวม 44% ของลูกค้าเริ่มขอชำระเงินผ่าน Mobile Payment ซึ่งเราอาจคิดว่า ถึงไม่มี POS ก็ให้ลูกค้าสแกนผ่าน Banking Application ได้ แต่รายการเหล่านั้นมันอาจไม่ได้ถูกบันทึกเข้ากับระบบ POS และสุดท้ายก็จะต้องแยกดูข้อมูลกัน ซึ่งอาจเป็นการเสียเวลาได้ ซึ่งในอนาคตเทรนด์ Cashless Society จะต้องเติบโตอีกมากการมีระบบ POS ที่รองรับไว้ก็ถือเป็นการลงทุนในระยะยาวเพื่อให้เข้ากับเทรนด์ และพฤติกรรมของคนในอนาคต

16

เรื่องเทคโนโลยีในปัจจุบันมีผลต่อการทำธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะบรรดาแฟรนไชส์หรือคนที่มีธุรกิจหลายสาขา นอกจากการควบคุมคุณภาพสินค้าและบริการที่ดี การทำให้ลูกค้าประทับใจ ก็เป็นคีเวิร์ดสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้เพราะทุกวันนี้คู่แข่งธุรกิจมีเยอะมาก การพัฒนาธุรกิจตัวเองให้ตอบโจทย์ความต้องการคนส่วนใหญ่จึงถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3uhURIQ , https://bit.ly/3uZL1KZ , https://bit.ly/3udOq9V , https://bit.ly/3uZ5f7M , https://bit.ly/37oodfZ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3K1zrVc


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด