10 เหตุผล ทำไมใครๆ ก็อยากขายแฟรนไชส์

หลายคนอาจไม่รู้ว่าจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปัจจุบันมีจำนวนราวๆ 640 กิจการ ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม อยากรู้หรือไม่ว่าทำไมใครๆ ถึงขายแฟรนไชส์กันมากขึ้น ทำไมไม่ขยายกิจการด้วยตัวเอง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบครับ

1. ขยายธุรกิจได้รวดเร็ว ลงทุนต่ำ

ภาพจาก ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว

การขายแฟรนไชส์สามารถช่วยให้เจ้าของธุรกิจขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ใช้เงินลงทุนต่ำ ผู้ขายแฟรนไชส์แทบจะไม่ต้องใช้เงินทุนของตัวเองด้วยซ้ำ ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงเงินลงทุนสำหรับการขยายสาขานั้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเป็นผู้รับผิดชอบเกือบทั้งหมด ปัจจุบันมีหลายแบรนด์แฟรนไชส์ในเมืองไทยมีมากกว่าพันสาขา เช่น แฟรนไชส์ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว 4,829 สาขา, ลูกชิ้นปลาระเบิด 2,510 สาขา, ธุรกิจห้าดาว 5,000 สาขา, 7-Eleven 13,400 สาขา เป็นต้น

2. มีรายได้รวดเร็วหลากหลายช่องทาง

การขายแฟรนไชส์นอกจากจะขยายสาขาได้อย่างรวดเร็วแล้ว ผู้ขายแฟรนไชส์ยังจะมีรายได้จากหลากหลายช่องทางจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า ค่าการตลาด ค่าโฆษณา ค่าต่อสัญญาแฟรนไชส์ ค่าจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบ ค่าฝึกอบรม รวมถึงค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายและบริหารจัดการร้าน  

3. กระจายสินค้าและบริการได้กว้างมากขึ้น

ผู้ขายแฟรนไชส์จะสามารถกระจายสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ของตัวเองได้กว้างมากขึ้น แม้แต่ในพื้นที่ที่ตัวเองไม่ค่อยชำนาญ ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารสาขาในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ยกตัวอย่างกรณีแฟรนไชส์ “ธุรกิจห้าดาว” ปัจจุบันขยายสาขาและกระจายสินค้าภายใต้แบรนด์ไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์อาหารที่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นอย่างมาก  

4. ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วยทำการตลาดในพื้นที่

การขายแฟรนไชส์นอกจากจะกระจายสินค้าและบริการได้กว้างขวางทั่วประเทศ ผู้ขายแฟรนไชส์ยังไม่ต้องทำการตลาดหรือบริหารธุรกิจในพื้นที่ที่ตัวเองไม่ชำนาญอีกด้วย ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะทำหน้าที่บริหารจัดการธุรกิจแทนเอง ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ไก่ทอดเคเอฟซีของสหรัฐอเมริกาขายแฟรนไชส์ไปทั่วโลก ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในแต่ละประเทศจะเป็นผู้ทำการตลาดเอง  

5. ลดปัญหาการบริหารจัดการบุคลากร

คนขายแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์ต้องการทีมงานที่เป็นแค่ทีมงานสนับสนุนสาขาแฟรนไชส์ โดยไม่ต้องการลงมือทำธุรกิจเองด้วยตัวเองทั้งหมด การออกแบบธุรกิจดังกล่าวทำให้ลดขนาดทีมงานและบุคลากรด้วยการกระจายธุรกิจสู่ผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ ทำให้สามารถจัดคนที่เป็นทีมงานในด้านการสนับสนุนดูแลสาขาทั้งหมดเท่านั้น  

6. ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการธุรกิจ

คนขายแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์จะไม่ต้องกังวลในเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการธุรกิจ แม้จะมีสาขาจำนวนมาก ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่เปิดร้าน รวมถึงตัดปัญหาเรื่องการบริหารพนักงานจำนวนมาก ค่าจ้างพนักงาน การจัดสวัสดิการ ประกันสังคม ข้อบังคับด้านการทำงานต่างๆ เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นคนรับผิดชอบแทนทั้งหมด  

7. มีคนท้องถิ่นในพื้นที่ช่วยบริหารธุรกิจ

หากลงทุนขยายกิจการด้วยตัวเองอาจจะไม่สามารถดูแลกิจการที่มีหลายสาขาได้อย่างทั่วถึง แต่ถ้าขายแฟรนไชส์จะลดภาระลงไป เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ในแต่ละพื้นที่จะช่วยบริหารจัดการธุรกิจแทนเราได้ เสมือนกับว่ามีผู้ลงทุนและผู้บริหารที่ดีของแฟรนไชส์ซีแต่ละสาขามาช่วยบริหารธุรกิจให้ฟรีๆ เพียงแต่ต้องวางระบบและจัดทำคู่มือให้แฟรนไชส์ซีปฏิบัติตาม  

8. มีอำนาจในการต่อรองซื้อสินค้าราคาถูก

ผู้ขายแฟรนไชส์จะมีกำลังในการจัดซื้อจากจำนวนการขายที่เพิ่มมากขึ้น และแฟรนไชส์ซีต้องสั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบผ่านแฟรนไชส์ซอร์ ทำให้แฟรนไชส์ซอร์มีอำนาจต่อรองในการสั่งซื้อสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของแฟรนไชส์ซอร์ถูกลง

9. ลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจด้วยตัวเอง

ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีจะเป็นคนบริหารสาขาเอง ย่อมเป็นคนรับผิดชอบในเรื่องการลงทุนและค่าใช้จ่ายมากกว่า ช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจด้วยตนเองหากธุรกิจมีปัญหาหรือขากทุน เจ้าของแบรนด์รับผิดชอบเพียงคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ และสร้างระบบการฝึกอบรม การสนับสนุนทีมงานกลางแทนเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จมากขึ้น  

10. ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วยหาทำเลขยายสาขา

ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเป็นคนรับผิดชอบและช่วยหาทำเลการค้าสำหรับเปิดร้าน ซึ่งการขายแฟรนไชส์ทำให้เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์สามารถขยายกิจการไปยังทำเลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เจ้าของแฟรนไชส์เพียงแค่พิจารณาความเหมาะสมของทำเลเท่านั้น หากอยู่ในแผนงานก็สามารถดำเนินการได้ทันที โดยไม่ต้องออกไปหาทำเลหรือไปลงทุนซื้อหรือเช่าที่ดิน การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ทำให้เกิดอัตราการขยายตัวได้เร็วขึ้น

โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เจ้าของแบรนด์ไม่ชำนาญ หากรอการขยายกิจการด้วยการสะสมทุนของธุรกิจนั้นจะเป็นไปได้ช้ามาก ยิ่งเมื่อต้องแข่งขันกับคู่ต่อสู้ที่มีกำลังทุนมากกว่าอาจจะทำให้เกิดข้อเสียเปรียบได้ หรือถ้ามองในแง่การสร้าง ทีมงานที่เข้มแข็งก็คงไม่มีอะไรดีเท่า การเอาเถ้าแก่ที่ตั้งใจจริงมาเป็นสมาชิกที่ร่วมทำงานสร้างองค์กรด้วยกัน

#สนใจสมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3GUA1Fw

#รับคำปรึกษาการขายแฟรนไชส์ คลิก https://www.thaifranchisecenter.com/consult/  

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3NbbcGd , https://bit.ly/3wqbPF8 , https://bit.ly/3wm0fKS  

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์ 1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187

ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช