10 เหตุผล ทำไมเรากู้เงินไม่ผ่าน!
จะเริ่มธุรกิจจำเป็นต้องมีเงินลงทุน บางคนอาจมีเงินเก็บตัวเองอยู่บ้าง แต่บางคนที่ไม่มีจำเป็นที่ต้อง “กู้สินเชื่อ” จากสถาบันการเงินต่างๆ และการกู้เงินไม่ใช่แค่การนำมาเริ่มต้นธุรกิจ แต่ยังหมายถึงการนำเงินมาขยายธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น
อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่ามีปัญหาที่หลายคนเคยเจอคือ “กู้เงิน” ไม่ผ่าน ซึ่งอันที่จริงสถาบันการเงินทุกแห่งมีความต้องการจะปล่อยกู้ให้กับคนที่สนใจเพียงแต่เราต้องทำตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ ลองมาพิจารณาดูว่ามีเหตุผลสำคัญอะไรบ้างที่ทำให้การกู้เงินของเราต้องล้มเหลว
1.เอกสารที่สำคัญและจำเป็นต้องใช้ไม่ครบถ้วน
เรื่องหลักฐานในการกู้เงินเป็นสิ่งสำคัญมาก การเตรียมเอกสารหลักฐานอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสินเชื่อที่ต้องการ โดยมี 3 กลุ่มหลักคือ เอกสารประจำตัวเช่น สำเนาบัตรประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน , สำเนาทะเบียนสมรส เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีเอกสารเกี่ยวกับรายได้ เช่น สมุดบัญชีเงินฝาก , หลักฐานการรับหรือจ่ายเงิน เป็นต้น สุดท้ายเอกสารที่สถาบันอาจต้องการเช่น สำเนาโฉนดที่ดิน (สำหรับค้ำประกัน) , เอกสารสำคัญของผู้กู้ร่วม , แผนธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งเอกสารเหล่านี้ถือเป็นขั้นต้นในการยื่นของกู้เงิน ซึ่งหากมีไม่ครบก็เป็นเหตุผลที่อาจไม่อนุมัติให้กู้
2.ขาดคุณสมบัติขั้นพื้นฐานในการกู้เงิน
นอกจากเอกสารที่ต้องจัดเตรียมให้ชัดเจน การเช็คคุณสมบัติตัวเองก็สำคัญในการกู้ ตามกฎหมายแล้วผู้ที่จะขอสินเชื่อ SME หรือขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน จำเป็นจะต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป เพราะถ้ามีอายุน้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด ถือว่ายังไม่บรรลุนิติภาวะและอาจส่งผลต่อการชำระหนี้ในอนาคต หรือในกรณีที่ผู้กู้อายุมากเกินไป คำนวณระยะเวลาในการชำระหนี้ประมาณ 30-35 ปี อายุผู้กู้ไม่ควรจะเกิน 60-65 ซึ่งผู้กู้อายุมากเกินไป สถาบันการเงินอาจมองว่าจะมีปัญหาในระยะยาวเกี่ยวกับการชำระเงินได้เช่นกัน
3.แผนธุรกิจไม่มีความน่าสนใจ
ส่วนใหญ่การขอกู้ในกลุ่มของ SME จำเป็นต้องมีแผนธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยแผนธุรกิจจะต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) และแผนการดำเนินงานของกิจการ การเขียนแผนธุรกิจที่ดี ผู้ประกอบการควรสะท้อนแผนธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ และสอดคล้องกับความเป็นจริง หากมีแผนธุรกิจไม่ดีก็อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ขอสินเชื่อธุรกิจไม่ผ่าน ได้เช่นกัน
4.ขาดหลักฐานการแสดงรายได้ที่ชัดเจน
เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญสำหรับประกอบการพิจารณาที่จะดูว่าผู้กู้จะมีความสามารถในการชำระหนี้ได้มากแค่ไหน โดยหลักฐานที่สถาบันการเงินจะขอดูเป็นพิเศษเช่น บัญชีหมุนเวียน เพื่อเช็ก Statement ย้อนหลัง 6 เดือน หรืออาจดูความเคลื่อนไหวทางการเงินของธุรกิจย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อตรวจสอบว่าธุรกิจมีรายรับ – รายจ่ายเท่าไร มีกำไรมากน้อยแค่ไหน และมีเงินคงเหลือเท่าไร ซึ่งใช้ประกอบกับการพิจารณาว่า เราจะสามารถผ่อนชำระคืนกับสถาบันการเงินตามวงเงินที่ขอกู้มาได้หรือไม่ ถ้าเอกสารในส่วนนี้ไม่ชัดเจนตัวเลขรายได้ไม่แน่นอน การพิจารณาส่วนใหญ่จะมองว่าผู้กู้อาจไม่มีความสามารถในการชำระคืนที่ดีพอ ก็ปล่อยกู้ไม่ได้
5.มีประวัติการชำระหนี้ไม่ค่อยดี
การที่สถาบันการเงินใดๆ จะปล่อยกู้กฏเกณฑ์พิจารณาต้องดูถึงความสามารถในการชำระหนี้และจำเป็นต้องมีการเช็คเรื่องนี้อย่างละเอียด สำหรับผู้ที่จะผ่านการปล่อยกู้ได้ง่ายประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาต้องดี ไม่ติดแบล็คลิสต์ แต่คนที่มีประวัติการชำระหนี้ไม่ค่อยดีใช่ว่าจะหมดสิทธิ์ขอสินเชื่อได้เลย ถ้ามีการไปติดต่อเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ แล้วทยอยผ่อนชำระหนี้ที่ตัวเองค้างอยู่ ทางธนาคารก็อาจพิจารณาให้เป็นพิเศษ แต่แนะนำว่า ไม่ควรมีประวัติเสียเลยตั้งแต่แรกจะดีที่สุด
6.ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
การกู้เงินเพื่อเริ่มธุรกิจจำเป็นต้องใช้วงเงินที่มากพอควร ดังนั้นสถาบันการเงินจำเป็นต้องการหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน หลายคนลาออกจากงานประจำเพื่อมาสร้างธุรกิจ ที่อาจจะยังไม่มีทุนสร้างทรัพย์สินมากนัก ทำให้ธุรกิจ SME ส่วนใหญ่ไม่มีหลักทรัพย์ที่เพียงพอในการใช้ค้ำประกัน ทำให้สถาบันการเงินมองว่าไม่มีความมั่นคงเพียงพอที่จะชำระ โดยสินทรัพย์ค้ำประกันส่วนมาก ได้แก่ สิ่งปลูกสร้าง บ้าน ที่ดิน รถยนต์ หรือทรัพย์สินมีค่าต่างๆ ตามแต่ผู้ให้บริการแหล่งเงินทุนเห็นว่าสามารถใช้ค้ำประกันสินเชื่อเพื่อธุรกิจได้
7.การเลือกสินเชื่อที่ไม่เหมาะสม
สินเชื่อที่จะเลือกกู้มีหลายรูปแบบ อัตราดอกเบี้ย และวงเงินในการชำระก็จะแตกต่างกันไป เป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการปล่อยกู้ก็แตกต่างกันด้วยเช่นกัน การเลือกสินเชื่อไม่เหมาะสมกับการใช้งาน อาจสร้างปัญหาระยะยาวให้แก่ผู้กู้ได้ และอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ให้บริการสินเชื่อด้วยเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้สถาบันการเงินไม่พิจารณาอนุมัติสินเชื่อ เช่น ขอสินเชื่อในวงเงินที่สูงเกินความสามารถในการชำระเงินคืน หรือขอสินเชื่อระยะสั้น เพื่อนำไปลงทุนระยะยาว เป็นต้น
8.ขาดประสบการณ์ในทางธุรกิจ
สินเชื่อของบางสถาบันการเงินมองถึงประสบการณ์ด้านธุรกิจเป็นสำคัญด้วย คนที่กู้ไม่ผ่านบางครั้งอาจมาจากเหตุผลนี้ ซึ่งต้องดูเงื่อนไขในการกู้ของแต่ละสถาบันการเงินให้ชัดเจน เพราะบางแห่งต้องการผู้กู้ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจหรือประกอบกิจการมาไม่น้อยกว่า 1-3 ปี หากไม่มีเงื่อนไขนี้ก็กู้ไม่ผ่าน ทางแก้ปัญหาจึงควรมองหาสินเชื่อที่ไม่มีเงื่อนไขเรื่องประสบการณ์เป็นสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายใหม่ จะสามารถกู้ผ่านได้ง่ายกว่า
9.ไม่เดินบัญชีธนาคาร
การที่ผู้กู้เงินมีเงินหมุนเวียนทางการค้าที่ไม่ผ่านระบบบัญชีธนาคาร บางครั้งก็หมุนเวียนในนามบุคคลอื่น หรือซื้อขายกันเป็นเงินสด ทำให้ธนาคารไม่เห็นปริมาณกระแสเงินสดที่หมุนเวียนเข้าออกจริงๆ ในธุรกิจ จึงเกิดความไม่ชัดเจนว่าธุรกิจมีประวัติการรับและจ่ายเงินอย่างไร ดังนั้นผู้ต้องการกู้ควรรับและจ่ายเงินผ่านทางบัญชีธนาคาร ที่ปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านทางออนไลน์บนมือถือเพื่อให้มีการเดินบัญชีที่ชัดเจนจะประกอบการพิจารณาในการกู้ได้ง่ายขึ้น
10.ความคิดเชิงลบและแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ผู้กู้บางส่วนอาจมีทัศนคติเชิงลบต่อสถาบันการเงิน เนื่องด้วยขอกู้แล้วไม่ผ่าน ทำให้มีภาพจำไม่ค่อยดี ส่งผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่นเอะอะโวยวาย , ตำหนิพนักงาน เป็นต้นซึ่งการแสดงออกเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ทางสถาบันการเงินมองว่าผู้กู้มีปัญหา และอาจทำให้การพิจารณาในเรื่องคุณลักษณะของตัวเจ้าของธุรกิจนั้นไม่ผ่าน ส่งผลให้ไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อตามไปด้วย
ทั้งนี้การขอกู้สินเชื่อทางธุรกิจมีข้อดีคือการทำให้เรามีเงินลงทุน และที่สำคัญคือทำให้เรามีเครดิตในด้านการเงิน ซึ่งมีผลในอนาคตสำหรับคนที่ต้องการจะกู้เพิ่มเพื่อขยายธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีคำว่าเงินกู้คือเงินที่เรานำมาใช้ล่วงหน้า ดังนั้นต้องมีการวางแผนในการชำระคืนอย่างเหมาะสม เพื่อให้เงินที่กู้มานั้นเกิดประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุดด้วย
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3wEQiIK , https://bit.ly/3wMpO8k , https://bit.ly/3wJ2ubl , https://bit.ly/3sT7FnX
อ้างอิงจาก https://bit.ly/38OBXS7
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)