10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! นมหนองโพ

นมสดหนองโพ นมโต เอ้ย! นมโคแท้ๆ กลับมาเป็นกระแสฮิตถึงขั้นเตรียมขาดตลาดเมื่อเจ้าแม่ Soft Power อย่างลิซ่า แบล็คพิงค์ ได้โพสต์ภาพนมปรุงแต่งพาสเจอไรซ์ รสช็อกโกแลตบรรจุถุง ตราหนองโพ ลงในอินสตาแกรมส่วนตัว ที่มีผู้ติดตามกว่า 94 ล้าน พร้อมระบุว่า “วัยเด็กต้องนี่เลย” และถ้าจำกันได้ก่อนหน้านี้ลิซ่าเคยสร้างกระแสฟีเว่อร์ให้กับผ้าไทยและลูกชิ้นยืนกินโด่งดังมาแล้ว

นมหนองโพ

ภาพจาก https://shorturl.at/nsyU9

คาดว่าคราวนี้ “นมหนองโพ” จะดังเป็นพลุแตกได้เช่นกัน และถ้าใครกลัวคุยไม่รู้เรื่องไม่รู้ว่า “นมหนองโพ” มีประวัติยังไงมาติดตาม 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! นมหนองโพ ไปพร้อมกันเลย

1.“น้ำนมดิบ” ล้นตลาด จุดเริ่มต้นของ “หนองโพ”

นมหนองโพ

ภาพจาก https://shorturl.at/ahlKX

ประเทศไทยเริ่มพัฒนาสายพันธุ์โคของประเทศโดยใช้การผสมเทียมมาตั้งแต่ปี 2499 ทำให้จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือ “น้ำนมดิบล้นตลาด” เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจังหวัดราชบุรี จึงได้ถวายฏีกาแด่ในหลวง รัชกาลที่ ๙ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานเพื่อแปรรูปน้ำนมดิบขึ้นที่บริเวณภายในสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ต่อมาจึงมีพระราชดำริให้มีการสร้างโรงงานเพื่อแปรรูปน้ำนมดิบที่ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

2.เริ่มจดทะเบียนเป็นสหกรณ์โคนมราชบุรี

ในปี 2513 มีการจัดซื้อที่ดินบริเวณตำบลหนองโพจำนวน 50 ไร่ เพื่อเป็นที่ตั้งโรงงานนมหนองโพ ซึ่งในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งคณะกรรมการการสร้างโรงงานขึ้น โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพิ่มจากเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย กระทั่งปี 2514 คณะกรรมการ “ศูนย์รวมนม” และกลุ่มสมาชิกยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเป็นสหกรณ์โคนม โดยใช้ชื่อว่า สหกรณ์โคนมราชบุรี จำกัด

3.เปิดตัวบริษัท ผลิตภัณฑ์หนองโพ จำกัด ในปี 2515

nongphodairy

ภาพจาก www.facebook.com/nongphodairy

วันที่ 9 มีนาคม 2515 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงงานนมหนองโพ บริหารงานใช้ชื่อว่า บริษัท ผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) โดยมี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมี ม.ล.เดช สนิทวงศ์ เป็นประธานกรรมการดำเนินการ

4.เป็นโครงการหลวงที่นำกำไรไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษา

nongphodairy

ภาพจาก www.facebook.com/nongphodairy

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานเงื่อนไขในการจัดตั้งไว้ว่า บรรดาเงินกำไรสุทธิที่บริษัทหาได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมนั้น ไม่มีการแบ่งกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น แต่ให้บริษัทนำกำไรสุทธิส่วนหนึ่งเข้ากองทุนสะสมเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของบุตรหลานสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมและสมาชิกสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้ส่งนมสดให้แก่โรงงานประจำ

5.ติดตั้งเครื่องจักรผลิตนมระบบ ยูเอชที ในปี 2523

ปี 2520 สหกรณ์โคนมหนองโพฯ เริ่มขยายตลาดนมพาสเจอไรซ์มากขึ้น ตามปริมาณน้ำนมดิบที่รับเข้าต่อวัน ปี 2523 ได้ตัดสินใจลงทุนครั้งใหญ่ โดยติดตั้งเครื่องจักรผลิตนมระบบ ยูเอชที (ULTRA HIGH TREATMENT MILK) การดำเนินกิจการของสหกรณ์โคนมหนองโพฯ เป็นไปด้วยความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และมีการขยายโรงงานผลิตภัณฑ์พาสเจอไรซ์เพิ่มขึ้น

6.นมหนองโพจัดกิจกรรมคืนกำไรสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง

nongphodairy

ภาพจาก www.facebook.com/nongphodairy

นับเป็นโครงการในพระราชดำริที่สร้างคุณประโยชน์ให้คนไทยได้มาก พร้อมกันนี้ยังคืนกำไรสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น “นมเพื่อน้อง” โครงการดีดี เพื่อน้องๆนักเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน และ ร.ร. ตำรวจตระเวนชายแดนตะโกปิดทอง ที่ได้มอบนมสดพร้อมดื่มจำนวน 441 ลัง เพื่อให้เด็กๆ ได้มีนมดื่มตลอดช่วงปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2566

7.นมสดหนองโพ รีแบรนด์โฉมใหม่ในปี 2551

nongphodairy

ภาพจาก www.facebook.com/nongphodairy

ในปี 2551 นมหนองโพ ได้ปรับโฉมใหม่รีแบรนด์โลโก้หนองโพ ไปจนถึงการเปลี่ยนโฉม “วัว” ที่อยู่บนหน้ากล่องโดยเอกลักษณ์เดิมของนมหนองโพ คือ สัญลักษณ์วัวสีดำสลับขาวตัวใหญ่ ที่ดูเป็นทางการ ได้ปรับใหม่ให้เป็น “วัวอารมณ์ดี” ที่มีรอยยิ้มเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น ในส่วนโลโก้ดีไซน์ให้สระโอเป็นเหมือนรูปหลอดเจาะบนกล่องนม ส่วนดีไซน์หน้ากล่องนม เน้นการใช้สีที่สื่อสารถึงรสชาติของนมแต่ละรสมากขึ้น

ภาพจาก www.facebook.com/nongphodairy

นอกจากนี้ยังพัฒนาสินค้าให้มากขึ้น เช่น นมพาสเจอไรซ์ นมอัดเม็ด โยเกิร์ต จัดจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าทั่วไป รวมทั้งยังมีการจัดตั้งร้านนมสดหนองโพ ร้านหนองโพคาเฟ่ ซึ่งเริ่มเปิดตัวในปี 2562 เพื่อต่อยอดธุรกิจใหม่ ภายในแบรนด์หนองโพ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไอศกรีมแก่ร้านค้าในพื้นที่จังหวัดราชบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงด้วย

8.นมสดพร้อมดื่ม 3 รสชาติสุดฮิต

ภาพจาก www.facebook.com/nongphodairy

สำหรับนมหนองโพที่ ลิซ่าดื่ม คือนมสดพาสเจอร์ไรซ์แบบบรรจุถุงรสช็อกโกแลต ซึ่งโดยรวมแล้วมีทั้งหมด 3 รสชาติที่ขายดีมากได้แก่

  • รสสเตอเบอรี่ ถุงสีชมพู เป็นนมสีชมพู หอมกลิ่นสตอเบอรี่ หวาน มัน ราคา 12 บาท
  • รสช็อกโกแลต ถุงสีน้ำตาล เป็นนมสีน้ำตาลอ่อน ๆ กลิ่นหอมโกโก้ หวาน มัน มีผงโกโกผสมอยู่ที่ 0.75 %
  • รสจืด ถุงสีน้ำเงิน ถุงสีนี้จะเป็นนมโคแท้ 100% ไม่ผสมน้ำตาล สี กลิ่น และไม่มีส่วนผสมอื่นใดทั้งสิ้น

9.นมหนองโพมีรายได้กว่า 2 พันล้านบาท

ภาพจาก www.facebook.com/nongphodairy

สำหรับสหกรณ์โคนมหนองโพ ผลประกอบการในปี 2563 อยู่ที่ 2,600 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้หลักจากผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีและนมพาสเจอร์ไรส์ 1,300 ล้านบาท ส่วนที่เหลือมาจากร้านหนองโพ คาเฟ่ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ต เป็นต้น

10.นมสดหนองโพแตกไลน์ธุรกิจครบวงจร

ภาพจาก www.facebook.com/nongphodairy

นอกจากผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากนมแล้ว สหกรณ์โคนมหนองโพ ยังแตกธุรกิจออกไปอีกหลายแขนง เช่น ร้านหนองโพคาเฟ่, ร้านแดรี่ฮัทหนองโพ, ร้านค้าโครงการหลวง, ร้านค้าสหกรณ์, สถานีบริการน้ำมัน, โรงงานผลิตอาหารสัตว์, สินเชื่อและออมทรัพย์ ส่วนธุรกิจศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงโคนม ที่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้บุคคลทั่วไปได้เข้ามาเรียนรู้การรีดนมวัว ตอนนี้อยู่ในช่วงปิดปรับปรุง เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นก่อนที่จะเปิดให้บริการในโอกาสต่อไป

ทั้งนี้นมสดพาสเจอไรซ์ เป็นนมที่ถูกความร้อนไม่ได้นานจึงทำให้เสียง่ายมากต้องแช่เย็นที่อุณหภูมิ 8 องศาตลอดเวลา และในนมมีสารอาหารมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ช่วยบำรุงสมอง บำรุงกระดูก และถ้าเป็นนมโคแท้จากธรรมชาติก็จะยิ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น แถมยังเป็นนมสดหนองโพที่ผลิตในประเทศไทย เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรคนไทยด้วยกันเองอีกด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://citly.me/QW0er , https://citly.me/EvO2R , https://citly.me/7TbCi , https://citly.me/LxdaD , https://citly.me/XmenE , https://citly.me/IMXpu , https://citly.me/7CAh0 , https://citly.me/zhwfq

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด