10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! กัญชา
การเลือกตั้งในปี 2566 นโยบายที่มีคนพูดถึงลำดับต้นๆ คือกฎหมายกัญชาเสรี ที่มีคนทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งก็มีมุมมองต่างกันไป ในส่วนตัวแล้ว www.ThaiSMEsCenter.com ก็คิดว่ากัญชามีทั้งคุณและโทษ อยู่ที่การเลือกใช้ของแต่ละบุคคลมากกว่าอย่างไรก็ดีเพื่อให้เข้าใจเรื่องกัญชามากขึ้น เรามาดู 10 เรื่องจริงที่คุณไม่รู้! กัญชา น่าจะมีอีกหลายเรื่องที่คุณเองก็ไม่เคยรู้
1.กัญชามี 3 สายพันธุ์
กัญชาเป็นพืชในตระกูล Cannabis มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa ซึ่ง มี 3 สายพันธุ์ย่อย คือกัญชา , กัญชง (Cannabis sativa spp. Sativa) และ Cannabis sativa spp. Ruderalis ซึ่งมีลักษณะต้นเล็กคล้ายวัชพืช ใบมีลักษณะกว้างและเล็กผสมกัน เติบโตได้ดีทั้งในอากาศร้อนและเย็น พบได้มากในทวีปยุโรป
2.สารสำคัญที่อยู่ในกัญชา
สาระสำคัญที่อยู่ในกัญชามี 2 ชนิดคือ Tetrahydrocannabinol (THC) และ Cannabidiol (CBD) ซึ่งประโยชน์ขอสาร THC เช่น ลดการคลื่นไส้จากยาเคมีบำบัด , ลดอาการปวดเรื้อรัง ส่วนประโยชน์ของสาร CBD คือ ใช้รักษาโรคลมชักในเด็ก รวมถึงการบรรเทาอาการวิตกกังวล ช่วยให้มีความสุขในช่วงสั้นๆ ได้
3.ความแตกต่างของกัญชา-กัญชง
กัญชาและกัญชงเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดจากพืชในตระกูลเดียวกัน ความแตกต่างทางกายภาพมีน้อยมาก ต้องอาศัยการสังเกตคือ กัญชาต้นเตี้ยและใบอ้วน ส่วนกัญชงต้นสูงและใบเรียว ในอดีตกัญชาถูกใช้เป็นยารักษาโรคและเพื่อการสันทนาการ ขณะที่กัญชงเป็นพืชที่นำเส้นใยมาใช้สำหรับการถักทอ โดยกัญชงและกัญชามีสารที่เรียกว่า THC (Tetrahydroconnabinol) และ CBD (Canabidiol) พบได้มากในกัญชา โดยมีประมาณ 1-20% ส่วนกัญชงมีสารชนิดนี้น้อยกว่า 1% ส่วนสาร CBD ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในกัญชงมากกว่ากัญชา คือพบประมาณ 2% แต่ในกัญชามีสารชนิดนี้อยู่น้อยมาก
4.อิสราเอล ก้าวมากที่สุดในเรื่องการศึกษา “กัญชา” ทางการแพทย์
อิสราเอลเป็นประเทศที่ก้าวหน้าเรื่องการศึกษากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ผู้ป่วยมากกว่า 20,000 รายได้รับใบอนุญาตใช้กัญชาเพื่อการรักษาภาวะบางอย่าง เช่น ต้อหิน โรคโครห์น (Crohn’s disease) หรือลำไส้เล็กอุดตันบางส่วน การอักเสบ อาการเบื่ออาหาร และโรคหืด เป็นต้น
5.อันตรายจากการใช้กัญชาผิดวิธี
แม้กัญชาจะมีประโยชน์ทางการแพทย์และมีการเปิดกัญชาเสรีแต่ถ้านำมาใช้ไม่ถูกต้องก็เป็นผลเสียได้ เช่นการนำมาสอดไส้บุหรีสูบ อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด เพราะการเสพกัญชามวนเพียง 4 มวน อาจเทียบเท่าการสูบบุหรี่ถึง 1 ซอง
6.กัญชาอยู่ในร่างกายได้นานกว่าที่คุณคิด
สารในกัญชาจะค่อยๆ ถูกขับออกผ่านทางปัสสาวะและอุจจาระ ส่วนการที่สารในกัญชาจะค้างอยู่ในร่างกายนานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความถี่ในการใช้กัญชา โดยสามารถตรวจพบได้ในระหว่าง 10-13 วันหลังเสพ หรืออาจนานถึง 45-90 วัน หากใช้กัญชาในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน
7.กัญชาสามารถออกฤทธิ์ไม่นาน แต่ผลเสียเกิดขึ้นยาวนานมาก
ปกติแล้วหลังสูบกัญชา สารในกัญชาจะออกฤทธิ์สูงสุดภายในครึ่งชั่วโมง และมักเป็นอยู่นานประมาณ 3-8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้ ทั้งนี้หากสูบกัญชาบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อระบบประสาทและสมอง ทำให้สมาธิสั้น ระบบการคิดการตัดสินใจแย่ลง ภูมิคุ้มกันต่ำคล้ายกับผู้ป่วยโรคเอดส์
8.เมากัญชาทำไมต้องกินของหวาน?
กัญชามีฤทธิ์ผสมผสานหลายอย่าง เสพแล้วอาจทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายแปรปรวน เช่น ตาแดง คออักเสบ คอแห้ง เหงื่อออกมาก นอกจากนี้สารในกัญชายังเพิ่มการขับน้ำในร่างกายผู้เสพ ทำให้เกิดอาการหิวน้ำและต้องการรับประทานของหวานนอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น มือเท้าเย็น เพราะสารในกัญชามีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนอีกด้วย
9.วิธีการเลิกกัญชาในเบื้องต้น
สามารถเลิกได้โดยวิธีการหยุดใช้ได้ทันที เมื่อหยุดใช้แล้วอาจจะมีอาการถอนยาบ้างในช่วง 1-2 วันแรก จากนั้นอาการดังกล่าวจะค่อยๆ หายไปเอง ซึ่งจุดนี้อาจต้องได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัว เพื่อน และคนรักหากคิดว่า ต้องการการช่วยเหลือเพิ่มเติม การติดต่อสถานบำบัดยาเสพติด หรือโทรสายด่วนเลิกยาเสพติด 1165 ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คุณสามารถปรึกษากับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการเลิกสารเสพติดได้
10.รอลุ้นกัญชาเสรีจะมีต่อไปไหม?
เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในสังคมมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้าน ซึ่งทุกคนล้วนมีเหตุและผลในตัวเอง อย่างไรก็ดีหลังการเลือกตั้งใหญ่ในปี 2566 นี้เชื่อว่าจะมีผลกระทบกับกฎหมายกัญชาเสรีพอสมควร แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน ก็ขึ้นอยู่กับอำนาจของภาครัฐในการบริหารจัดการ ในฐานะประชาชนคนไทยก็ต้องเฝ้ารอลุ้นเรื่องนี้กันต่อไป
ทั้งนี้กัญชาว่ากันตามตรงมีคุณและมีโทษในตัวเองชัดเจนแตกต่างอยู่ที่วิธีการนำมาใช้และจุดประสงค์ในการใช้ โดยส่วนตัวแล้วสนับสนุนให้กัญชานำมาใช้ทางการแพทย์จะมีประโยชน์มาก แต่ก็ไม่เห็นด้วยในการนำกัญชามาสูบเองอย่างเสรีเพราะผลกระทบที่ตามมาอาจมีมากกว่าที่คิดก็ได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)