มาแล้ว! 10 อันดับ #แฟรนไชส์ คนไทยค้นหาในปี 2024 by Google Trends
การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ยังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ละแบรนด์ต่างพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้ประทับใจลูกค้าและสร้างรายได้ให้ผู้ลงทุนอย่างสูงสุด ในช่วงที่ผ่านมามีหลายแฟรนไชส์ใหม่ที่เข้ามาสร้างกระแสให้คนสนใจได้มาก
ทั้งนี้หากดูในภาพรวมของปี 2024 (ถึงเดือนสิงหาคม) โดยใช้ Google Trends ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้สำรวจความนิยมของคีย์เวิร์ดที่คนใช้ค้นหาบนเว็บไซต์ Google ในช่วงเวลาต่างๆจะพบว่ามีหลายแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีคนเข้ามาค้นหามาก มีแฟรนไชส์อะไรบ้างลองไปดูพร้อมๆกัน
1.กาแฟพันธุ์ไทย
หนึ่งในธุรกิจของบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG มีสาขาเริ่มแรกที่บางปะกงในปี 2555 แนวคิดของแฟรนไชส์เน้นที่เอกลักษณ์และจิตวิญญาณแบบไทย ผสมผสานความทันสมัย มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกลงทุนได้ตามต้องการ เป็นอีกธุรกิจที่คนต้องการลงทุน ถึงกับขึ้นคำว่า “Breakout”ใน Google Trends ซึ่งหมายถึงมีการค้นหาคำนี้สูงมากในช่วงเวลาหนึ่ง
2.Cafe Amazon
แบรนด์ร้านกาแฟชื่อดังที่ก่อตั้งในปี 2545 ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศรวมกว่า 4,000 แห่ง ข้อมูลในปีที่ผ่านมาระบุว่ามียอดขายกาแฟรวมทั่วประเทศกว่า 371 ล้านแก้ว ถือเป็นแฟรนไชส์ร้านกาแฟที่หลายคนสนใจลงทุนมาก โดยมีระบบบริหารจัดการให้พร้อมลงทุนอย่างดี มีสัดส่วนการค้นหาใน Google Trends +250% สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในการลงทุนได้อย่างดี
3.Mixue
เป็นอีกแฟรนไชส์ที่กระแสมาแรงมากสำหรับ Mixue แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้จากจีน ราคาเริ่มต้น 15 – 50 บาท ที่เข้ามาเปิดตลาดในไทยเมื่อกลางปี 2565 ภายใต้การบริหาร บริษัท มี่เสวี่ย (ประเทศไทย) จำกัด เปิดสาขาแรกที่รามคำแหง 53 และธุรกิจโตเร็วมากมีกว่า 200 สาขา โดยมีสัดส่วนการค้นหาใน Google Trends + 200%
4.ฮ็อป ชาเฟ่
แฟรนไชส์ชานมไข่มุก ที่ซื้อง่ายขายคล่อง ในราคาประหยัด 20 บาทแถมฟรีไข่มุก มีจุดเด่นที่รสชาติ ออกแบบร้านน่ารักสไตล์คาเฟ่ ดึงดูดลูกค้าได้อย่างดี แถมยังเป็นแฟรนไชส์ไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายเดือน รายปี ไม่มีส่วนแบ่งจากยอดขาย พร้อมการฝึกอบรมและสอนสูตรฟรี โอกาสคืนทุน 2-3 เดือนโดยขึ้นอยู่กับทำเล ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศกว่า 3,300 แห่ง มีสัดส่วนการค้นหาใน Google Trends +150%
5.ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว
ถือเป็นอีกแฟรนไชส์สตรีทฟู้ดที่พร้อมสร้างอาชีพให้คนไทยได้อย่างดีก่อตั้งมานานกว่า 30 ปี มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกลงทุนได้ตามต้องการ โดยมีการฝึกอบรมให้ก่อนเริ่มเปิดร้าน และมีการสนับสนุนด้านการตลาด + วัตถุดิบให้เป็นอย่างดี เป็นสินค้ายอดฮิตที่ขายง่ายขายดี มีทำเลที่ดีจะสร้างรายได้ที่ดีมาก ปัจจุบันมีสาขารวมทั้งในและต่างประเทศกว่า 4,829 แห่ง มีสัดส่วนการค้นหาใน Google Trends +120%
6.ชาพะยอม
แฟรนไชส์เครื่องดื่มที่มีชื่อเสียงและคนรู้จักเป็นอย่างดี มีเมนูที่หลากหลาย พร้อมรูปแบบการลงทุนให้เลือกได้ตามต้องการ มีอุปกรณ์และวัตถุดิบพร้อมการฝึกอบรมให้ก่อนเปิดร้าน เป็นอีกแฟรนไชส์ลงทุนน้อย คืนทุนไว มีสัดส่วนการค้นหาใน Google Trends + 80%
7.สเต็กลุงหนวด
ร้านสเต็กชื่อดังที่เริ่มต้นจากริมทางฟุตบาทก่อตั้งในปี 2546 จุดเด่นคือเอกลักษณ์ของร้านที่มีคอนเซปต์ร่มสีม่วง ขาว เมนูมีให้เลือกหลากหลาย รสชาติอร่อย สะอาด ราคาไม่แพง เน้นทำเลย่านคนพลุกพล่านใกล้โรงเรียน โรงงาน สถานศึกษา ย่านออฟฟิศ และตลาดต่างๆ มีสัดส่วนการค้นหาใน Google Trends +70%
8.ธุรกิจห้าดาว
ธุรกิจห้าดาว เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2528 ปัจจุบันมีการแตกไลน์สินค้าให้เลือกลงทุนได้หลากหลายเช่น ไก่ย่างห้าดาว ไก่ทอดห้าดาว ข้าวมันไก่ห้าดาว บะหมี่ห้าดาว ห้าดาวเรดีมีล ห้าดาวโรลเลอร์กริลล์ มีสาขาทั่วประเทศกว่า 5,000 แห่ง ทั้งนี้คนส่วนใหญ่มีการค้นหาคำว่า ไก่ย่างห้าดาว ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของธุรกิจห้าดาว มีสัดส่วนการค้นหาใน Google Trends +50%
9.7-Eleven
เป็นธุรกิจร้านสะดวกซื้ออันดับหนึ่งของประเทศมีสาขารวมกว่า 14,200 แห่ง ทั้งแบบStand Alone และสาขาในสถานีบริการน้ำมัน PTT โดยมีเป้าหมายจะขยายสาขาเพิ่มขึ้นในปีนี้อีกมาก ทั้งนี้ 7-Eleven มีระบบบริหารจัดการโดยทีมงานมืออาชีพ เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการส่งเสริมด้านการตลาดให้เป็นอย่างดี มีการพัฒนาสินค้าและบริการต่อเนื่อง มีสัดส่วนการค้นหาใน Google Trends +50%
10.ชาตรามือ
แบรนด์ชาตรามือก่อตั้งมายาวนานปัจจุบันเป็นทายาทรุ่นที่ 3 ในการบริหาร มีจุดเด่นสินค้าคือชาคัดสรรคุณภาพเป็นอย่างดี เมนูหลากหลาย แต่สิ่งที่ทุกคนควรรู้คือ ชาตรามือไม่ได้เปิดขายแฟรนไชส์ในประเทศไทยและ บริษัทฯ ไม่อนุญาตให้ใช้โลโก้ของชาตรามือ หรือชื่อร้านชาตรามือ เนื่องจากชื่อและเครื่องหมายการค้าชาตรามือเป็นลิขสิทธิ์ของทางบริษัทฯ แต่ผู้สนใจสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ของชาตรามือในการเปิดร้านได้ มีสัดส่วนการค้นหาใน Google Trends + 40%
ใน Google Trends ยังมีคำค้นหาอื่นๆที่มาแรงไม่แพ้กันเช่น แฟรนไชส์ซักผ้า + 70% , แฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยว +70% เป็นต้น และหากไปดูคำค้นเฉพาะคำว่า “แฟรนไชส์” ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2567 มีการค้นหาคำนี้แตะระดับสูงสุด และถ้าไปดูข้อมูลย่อยอีกพบว่า 5 จังหวัดที่มีการค้นหาคำว่าแฟรนไชส์มากที่สุดคือ ปราจีนบุรี , อยุธยา , ประจวบคีรีขันธ์ , นครปฐม และ สมุทรปราการ
มาแล้ว! 10 อันดับ #แฟรนไชส์ คนไทยค้นหาในปี 2023 by Google Trends – “https://bit.ly/4ge4f6n“
ธุรกิจเแฟรนไชส์ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทางคอลัมน์ K SME แนะนำนักลงทุนมือใหม่ ไว้ดังนี้
- ชื่อเสียง หรือ แบรนด์ (Brand) แบรนด์ดี มีภาพพจน์ เป็นที่รู้จักกว้างขวาง และชื่อเสียงดี
- ระบบ (System) ต้องเรียนรู้ง่าย อุปกรณ์ใช้งานได้ดี มีการสนับสนุน อบรม และช่วยเหลือดี
- ผลกำไร (Profit) การลงทุนไม่มากเกินไป รายได้ดี มีกำไร และค่าใช้จ่ายไม่เยอะ
- การคืนทุน (Return) ใช้เวลาไม่นานเรื่องคืนทุน ระยะเวลาไม่เกินครึ่งหนึ่งของสัญญา
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)