10 วิธีการตั้งชื่อเพจให้ปัง เจอง่าย จำง่ายบนเฟสบุ๊ค
ชื่อเพจ เป็นด่านแรกที่ทำให้ลูกค้าค้นหาร้านเราเจอ ยิ่งถ้าลูกค้าเสิร์ชแล้วเจอเราง่ายเท่าไร หรือพิมพ์คำที่คำต้องการค้นหาแล้วปรากฏชื่อร้านของเราเด้งขึ้นมา
ก็ยิ่งทำให้เรามีลูกค้าเข้าร้านเยอะขึ้น ดังนั้นจึงควรมีคำ Keyword ที่คิดว่าลูกค้าจะใช้ค้นหาสินค้า เช่น Beautiful Shop ที่ดูจะธรรมดาเกินไป เราอาจเพิ่มคำว่า “สินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า เดรส” ต่อท้ายเข้าไปเพื่อให้เพจร้านของเราโชว์เวลาที่มีคนค้นหาด้วยคำแบบนี้
นอกจากวิธีเบื้องต้นดังกล่าว www.ThaiSMEsCenter.com ยังได้รวบรวมเทคนิค 10 วิธีการตั้งชื่อเพจให้ปัง ค้นเจอง่าย มาฝากคนที่อยากมีร้านออนไลน์
โดยทั่วไปการตั้งชื่อเพจร้านค้าบน Facebook มีหลักการใหญ่ๆในการตั้งชื่อแค่ 2 ข้อ คือ
- กรณีที่มีชื่อแบรนด์สินค้า สามารถตั้งชื่อเพจเป็นชื่อแบรนด์ได้เลย และตามด้วยคำค้นหาที่คนเข้ามาแล้วว้าว
- กรณีที่ไม่มีชื่อแบรนด์ แนะนำให้ตั้งชื่อเพจเป็นชื่อที่สามารถค้นหาบน google ได้ง่าย และมักจะถูกค้นหามากที่สุด
ซึ่งหากเอา 2 หลักการนี้มาแยกย่อยเราจะอธิบายให้เข้าใจมากขึ้นกับ 10 วิธีการตั้งชื่อเพจให้ปัง จำง่าย เพิ่มโอกาสขายได้มากขึ้น!!
1. ชื่อเรียกง่าย คนก็จำง่าย
ภาพจาก facebook.com/sugariesstation
เป็นการตั้งชื่อแบบ “เรียบง่าย” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะตั้งอะไรก็ได้ตามใจเราคิด ประเภทคิดเองเข้าใจเอง แม้จะเป็นชื่อที่เรียบง่ายแต่ต้องสื่อความหมายให้ตรงประเด็นหรือตรงจุดประสงค์ของเพจเข้าไว้ เช่น ถ้าเป็นเพจเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะทำก็นำคำๆ นั้นมาเป็นพื้นฐานในการตั้งชื่อ หรือถ้าเป็นเพจของธุรกิจ ก็ชื่อธุรกิจหรือแบรนด์ของเรามาตั้งชื่อ หรือถ้าเป็นเพจขายของ ก็ควรดูออกจากชื่อว่าเราขายอะไร
2. หลีกเลี่ยงคำที่อาจโดนแบนจาก Facebook
ตามนโยบายที่ Facebook เคยระบุไว้นั้น ได้พูดถึงการตั้งชื่อเพจหลายข้อที่นอกจากจะเป็นนโยบายที่ไม่ให้ละเมิดต่อผู้อื่น หรือเป็นการสนับสนุนความรุนแรง ยังมีคำบางคำที่ Facebook ไม่อนุญาตให้ใช้ เช่น คำว่า Facebook คำว่า Official ในกรณีที่ตัวแบรนด์ของเราไม่ใช่ Official จริงๆ การใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แปลกๆ ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เล็กปะปนกัน ลักษณะเหล่านี้คือสิ่งที่ Facebook ไม่ชอบ
3. หลีกเลี่ยง “ใช้คำตามกระแส” มาตั้งชื่อเพจ
ภาพจาก bit.ly/34fvrho
พวกวลีฮิต หรือคำฮิตติดปากในช่วงเวลาหนึ่งอาจจะเป็นที่สนใจในช่วงเวลานั้น ๆแต่พอเวลาผ่านไปคำพูดเหล่านี้จะไม่เป็นที่รู้จักและคนที่เกิดไม่ทันช่วงนั้น อาจจะไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร เช่น ปังปุริเย่ , จ๊าบ , สุดแจ่ม ฯลฯ การตั้งชื่อเพจที่ดีจึงควรหลีกเลี่ยงคำเหล่านี้ต้องมองการณ์ไกลไปถึงในอนาคตด้วย
4. อ่านง่ายดูแล้วรู้เลย
สิ่งสำคัญของชื่อเพจนอกจากเรียบง่าย ก็ต้องอ่านง่ายด้วย บางคำเล่นศัพท์สแลง หรือคำผวน อันนี้ก็ไม่แนะนำให้เอามาตั้งชื่อเพจ เพราะอ่านแล้วเข้าใจยาก เราเข้าใจแต่คนอื่นอาจไม่เข้าใจ ยิ่งถ้าเป็นคำภาษาอังกฤษยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษอย่าใช้คำที่ออกเสียงยากเกินไป เพราะแม้จะเป็นคำที่ดูสละสลวยแต่ไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจ บางคนไม่รู้ความหมาย หรือบางคนอ่านแบบผิวเผิน ก็ทำให้ชื่อเพจของเราไม่เป็นที่จดจำ
5. อย่าพยายามซ้ำหรือใกล้เคียงกับเพจอื่น
ภาพจาก bit.ly/3viH8zG
ปัจจุบันมีเพจจำนวนมาก โอกาสในการตั้งชื่อคล้าย ชื่อซ้ำ หรือใกล้เคียงมีมาก เทคนิคในการตั้งชื่อเพจเพื่อหลีกเลี่ยงข้อนี้แนะนำให้ลองใช้ Google และ Search box ใน Facebook ลองเสิร์ชหาชื่อที่อาจจะคล้ายๆ กันดูก่อนว่ามีคนตั้งชื่อประมาณนี้ หรือคล้ายๆ กันไหม ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรให้ซ้ำหรือคล้ายกับเพจอื่นเกินไป ชื่อเพจของเราจะได้โดดเด่น
6. ชื่อเพจควรกระชับสั้น ไม่ยาวเกินไป
หลายคนพยายามหลีกเลี่ยงชื่อเพจที่ไปซ้ำกับคนอื่น หรือบางทีก็พยายามใส่คีเวิร์ดลงไปในชื่อเพจเพื่อให้ลูกค้ามองเห็นภาพ แต่บางทีก็กลายเป็นดาบสองคม กลายเป็นชื่อเพจที่ยาวเกินไป เช่น “Beautiful dress เสื้อผ้าเดรส สวยใสสำหรับวัยรุ่น วัยทำงาน เพื่อคนอยากสวย” บางทีชื่อเพจที่ยาวเกินไปจะกลายเป็น Spam นอกจากจะดูไม่ดีแล้ว ใครผ่านไปผ่านมาก็ไม่อยากกดไลค์หรือแชร์อีก
7. ชื่อเพจที่ดีต้องมี Keyword
ภาพจาก fanfacemarketing.com
ชื่อเพจที่ดีต้องควรมี Keyword ที่สำคัญอยู่ในชื่อด้วย จะเป็นประโยชน์เมื่อผู้ที่สนใจสินค้าบริการค้นหาก็จะพบเพจของเราได้ง่ายมากขึ้น เช่น อาจจะขึ้นต้นด้วยชื่อแบรนด์แล้วตามด้วยชนิดของสินค้าและบริการ ซึ่งการจะหา Keyword ที่ดีสามารถดูตัวอย่างจากใน google จะทำให้เรามองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เช่น “BOBO love ขายอาหารสัตว์เลี้ยง ของเล่นและเสื้อผ้าสุนัข” เป็นต้น
8. ชื่อเพจต้องเชื่อมโยงกับสินค้า
ภาพจาก facebook.com/Baancookie
การตั้งชื่อเพจนอกจากกระชับ มีคีเวิร์ด ไม่ยาวเกินไป และต้องให้เชื่อมโยงกับสินค้าหรือบริการที่เรานำเสนอให้ลูกค้าอ่านปุ๊บแล้วรู้เลยว่านี่คือเพจอะไร ต้องการอะไร เช่น “บ้าน Cookkie Homemade อร่อยจัดส่งทั่วประเทศ” คนที่ได้เจอก็รู้ทันทีว่านี่คือเพจที่ทำคุ้กกี้จำหน่ายและมีบริการส่งทั่วประเทศ คนที่สนใจและกำลังมองหาสินค้าก็จะคลิกเข้าไปในเพจ โอกาสขายสินค้าของเราก็มากขึ้น
9. ใช้คำที่ดึงให้คนสนใจ
ภาพจาก facebook.com/ibedtime
นอกจากการตั้งชื่อแบบทั่วไปมีคีเวิร์ด มีความหมายที่สื่อว่าเราทำอะไร อย่างไร สิ่งที่ควรมีในชื่อด้วยก็คือคำที่ดึงดูด หรือกระตุ้นให้คนอยากเข้ามาใช้บริการ คำเหล่านี้ เช่น ราคาถูก หายาก ของแท้ ส่งฟรี ซึ่งควรใช้ให้เหมาะสมและไม่ควรให้ชื่อยาวเกินไป ต้องพยายามทำให้กระชับได้มากที่สุดด้วย
10. ชื่อเพจต้องไม่มีคำอธิบายหรือสโลแกนต่อท้าย
ภาพจาก freepik
เป็นข้อกำหนดหนึ่งในการตั้งชื่อเพจที่นอกเหนือจากห้ามใช้คำไม่เหมาะสม และไม่ควรมีคำว่า “อย่างเป็นทางการนอกจากนี้ควรเว้นคำอธิบายหรือสโลแกนต่อท้าย เช่น The Best Cafe – เราเสิร์ฟกาแฟที่ดีที่สุดในเมือง ในส่วนนี้คือคำอธิบายที่ไม่ควรมีในชื่อ แต่ถ้าต้องการใส่สามารถใส่ได้ในส่วนที่ “เกี่ยวกับ” ที่จะสามารถใส่คำอธิบายตามที่เราต้องการลงไปได้
และใครที่อ่านวิธีการเหล่านี้แต่นึกไม่ออกว่าจะตั้งชื่อยังไง อีกเทคนิคที่น่าสนใจคือลองใส่คำค้นหลักที่เราคิดได้ลงไปก่อน จากนั้นให้ไปดูที่ด้านล่างสุดของหน้า google ซึ่งจะมีคำที่ใกล้เคียงแสดงอยู่ เราเอาตรงนั้นมาเป็นไอเดียในการตั้งชื่อก็ได้ แต่การคำค้นที่ออกมาจาก google เยอะๆ แบบนี้ ก็ไม่ใช่เอามาทุกคำ ให้คัดที่เกี่ยวข้อง และตัดคำที่ซ้ำจะทำให้เราได้ชื่อเพจที่มีคุณภาพมากขึ้น
และนอกจากมีชื่อที่คนจำง่าย เราต้องไม่ลืมวิธีการโปรโมทเพจ ซึ่งมีหลักเบื้องต้นคือ
- ลงบทความในเพจ ก็ให้เป็นบทความที่เกี่ยวกับสินค้าและแทรกคีย์เวิร์ดที่เเกี่ยวข้องเข้าไป
- ใส่ # แฮชแท็ก เวลาโพสต์เพจ
- พยายามอย่าให้เพจเงียบ ต้องมีการโพสต์อย่างต่อเนื่อง
- ตอบแชทลูกค้าและขายอย่าปล่อยให้ลูกค้าคอยนาน
- อาจจะทำ Blog เอาไว้เขียนบทความแล้วโยงมาใส่กับเพจซึ่งตัวบล็อกเองอาจช่วยทำอันดับได้ดีบน Google
สำหรับการตลาดยุคออนไลน์สิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่เราต้องศึกษา เป็นเทคนิคที่หลายคนอาจมองว่าไม่สำคัญแต่มันคือสิ่งจำเป็นที่เราควรจะต้องเรียนรู้ไว้ ส่วนจะนำไปใช้ได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ของแต่ละคนด้วย
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wAAiWz
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)