10 ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง – ดาวร่วง ปี 2025

รู้หรือไม่ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยมีอัตราเติบโต 18% มีมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาท มีธุรกิจแฟรนไชส์มากกว่า 661 กิจการ จำนวนสาขากว่า 166,381 แห่ง กลุ่มแฟรนไชส์ที่มีจำนวนมากที่สุด อันดับ 1-5 ยังเป็นอาหารและเบเกอรี่ 217 กิจการ, เครื่องดื่มและไอศกรีม 168 กิจการ, การศึกษา 105 กิจการ, บริการ 76 กิจการ, อสังหาฯ และค้าปลีก 48 กิจการ

คาดว่าในปี 2025 จะมีธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยไม่น้อยกว่า 600-670 กิจการ แต่ก็จะมีปัญหาเหมือนทุกปี คือ มีทั้งแฟรนไชส์เดิมปิดตัวลงไป และมีแฟรนไชส์ใหม่เปิดตัวมาแทน เลยทำให้จำนวนธุรกิจแฟรนไชส์เหมือนขยายอยู่กับที่ ปี 2025 เป็นปีที่น่าจับตามองสำหรับตลาดแฟรนไชส์ในไทย

จากภาวะเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ บวกกับเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเทรนด์แฟรนไชส์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคในปัจจุบัน มาวิเคราะห์ดูว่า ปี 2025 ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง แฟรนไชส์ดาวร่วง ในไทยกลุ่มไหนบ้าง

#แฟรนไชส์ดาวรุ่ง

1. ธุรกิจการแพทย์และดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย

ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง
ภาพจาก ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โฮมแคร์ภิบาล
ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง
ภาพจาก คลินิกกายภาพ เฌ้อสเชอรี่ โฮม
ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง
ภาพจาก www.facebook.com/happyhomesenior

เป็นแฟรนไชส์ดาวรุ่งมาแรงในไทย เพราะไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โมเดลธุรกิจเป็นรูปแบบศูนย์ดูแลผู้สูงวัย คลิกนิกกายภาพบำบัด ฟื้นฟูสุขภาพร่างกายจากอาการป่วยและพบาดเจ็บ ศูนย์พวกนี้จะมีบริการหลากหลาย มีทีมแพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดูแล มีการรักษาด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ไม่พอยังมีการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่บ้านอีกด้วย

ตอนนี้มีหลายๆ แบรนด์เปิดขายแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โฮมแคร์ภิบาล (Home Care Piban), คลินิกกายภาพ เฌ้อสเชอรี่ โฮม (Chersery Home Rehabilitation Clinic), แฮปปี้โฮม ซีเนียร์ เนิร์สซิ่ง โฮม (Happy Home Senior Nursing Home)

2. ธุรกิจบริการความงาม สปา

ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง
ภาพจาก ศูนย์รักษาสิว เดอร์มิเนต

อีกหนึ่งแฟรนไชส์ดาวรุ่งมาแรงเหมือนการแพทย์และดูแลผู้อายุ จำพวกคลินิกเสริมความงาม รักษาสิว ร้อยไหม โบท็อก ฟิลเลอร์ เลเซอร์ต่างๆ รวมถึงร้านนวดสปาต่างๆ แฟรนไชส์กลุ่มนี้ขยายตัวได้ต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพร่างกาย ความสวยความงาม ดูแลผิวพรรณ ใบหน้า

กลุ่มแฟรนไชส์นี้ยังมีพวกร้านเสริมสวย ร้านตัดผม เป็นธุรกิจที่ยังทำรายได้และกำไรดี มูลค่าตลาดในตอนนี้สูงกว่า 100,000 ล้านบาท คาดว่าปี 2027 จะเติบโต 193,000-248,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีแบรนด์เปิดขายแฟรนไชส์แล้ว เช่น ศูนย์รักษาสิว เดอร์มิเนต (DERMINET ACNE CENTER) ลงทุน 7-9 แสนบาท

3. ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

ภาพจาก freepik.com

ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากหลายปัจจัย เช่น คนมีเวลามากขึ้นบ้าน บางคนเหงา อยู่คนเดียว ใช้ชีวิตโสด ทำให้หลายคนหันมาเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน เป็นที่พึ่งทางใจ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นพวกสถานบริการดูแลสุขภาพสัตว์ ตรวจสุขภาพ ดูแลความสะอาด ฝึกอบรมสัตว์

ส่วนพวกสินค้าเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยง เสื้อผ้าแฟชั่น สปา การเดินเล่น ไปจนถึงบริการที่นอนหรูหรา ธุรกิจเหล่านี้ทำให้เจ้าของเลือกดูแลสัตว์เลี้ยงได้หลายมิติ ไม่แปลกที่มูลค่าตลาดธุรกิจเกี่ยวกับสัตวฺ์เลี้ยงทั่วโลกสูงถึง 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023 คาดว่าปี 2030 สูงถึง 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในบางตลาดอย่างอเมริกามีการใช้จ่ายในธุรกิจสัตว์เลี้ยงสูงถึง 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนในไทยจากข้อมูล Thai Pet Industry Association (TPIA) บอกว่าตลาดสัตว์เลี้ยงมูลค่าประมาณ 20,000 – 25,000 ล้านบาท ในปี 2023 คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการขยายตัวของสินค้าและบริการสัตว์เลี้ยง

4. ธุรกิจอาหารและเบเกอรี่

ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง
ภาพจาก www.facebook.com/chaixibameekiao

ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารและเบเกอรี่ในไทยยังเติบโตได้เรื่อยๆ จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะเป็นธุรกิจที่ผู้คนต้องกินต้องใช้ การเติบโตจะเป็นกลุ่มสตรีทฟู้ด ร้านขนาดกลาง ขนาดเล็ก เงินลงทุนไม่สูงมาก เห็นได้ว่าในประยะหลังๆ แบรนด์ร้านอาหารใหญ่ๆ ได้ปรับไซส์ร้านให้มีขนาดเล็กลง เพื่อเข้าถึงนักลงทุน แต่ยังมีระบบที่เป็นมาตรฐานและให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซี

แฟรนไชส์กลุ่มนี้จะเป็นพวกกินง่าย ขายง่าย เปิดง่าย ไม่มีระบบที่ยุ่งยากซับซ้อนเกินไป สามารถขายได้ทั้งหน้าร้านและออนไลน์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ธุรกิจร้านอาหารในไทยปี 2025 มีมูลค่า 657,000 ล้านบาท เติบโต 4.6% จากปี 2024 และคาดว่าร้านอาหารและเครื่องดื่มจะมีจำนวนประมาณ 6.9 แสนร้าน

5. ธุรกิจเครื่องดื่มและไอศกรีม

ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง
ภาพจาก วีดริ๊งก์

แฟรนไชส์เครื่องดื่มและไอศกรีมในไทยยังเติบโตได้อีกในปี 2025 นับตั้งแต่แฟรนไชส์จีนบุกตลาดในไทย ได้สร้างกระแสและการแข่งขันในตลาดเครื่องดื่มและไอศกรีมเป็นอย่างมาก แฟรนไชส์กลุ่มนี้เป็นพวกร้านกาแฟสด น้ำผลไม้ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ชาผลไม้ ชานมไข่มุก รวมถึงไอศกรีมซอฟท์เสิร์ฟ ไอศกรีมในร้านสะดวกซื้อ

แฟรนไชส์เครื่องดื่มแบรนด์ดังอย่าง คาเฟ่ อเมซอน กาแฟพันธุ์ไทย และอื่นๆ จะขยายตัวได้อีก ส่วนแบรนด์ไอศกรีมแดรี่ควีนที่ตอนนี้มี 530 สาขาก็จะเติบโตเพราะมีเอกลักษณ์ชัดเจน ขายสินค้าคุณภาพ ต่างจากแบรนด์ไอศกรีมและชาจากจีนอย่าง Mixue, Wedrink, Bing Chun และอื่นๆ คาดว่าปี 2025 แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากต่างประเทศจะเข้ามาในไทยอีกหลายแบรนด์

6. ธุรกิจค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา

ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง

แฟรนไชส์ร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ รวมถึงร้านขายยา ยังขยายตัวได้อีกในปี 2025 มาจากปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการซื้อสินค้า ทำให้ร้านสะดวกซื้อและร้านขายยาได้รับความนิยมสูงเนื่องจากเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงและมีสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน

ร้านสะดวกซื้อและร้านขายยามักตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวก เช่น ใกล้สถานีรถไฟฟ้า สถานีขนส่ง หรือในย่านที่มีผู้คนพลุกพล่าน ทำให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว ในปี 2023 พบว่า เซเว่นฯ มีสาขา 14,545 แห่ง, โลตัสโกเฟรช 2,050 แห่ง, บิ๊กซีมินิ 1,548 แห่ง, ซีเจ 1,000 แห่ง, ท็อปไดลี่ 521 แห่ง

7. ธุรกิจการศึกษา

ภาพจาก www.facebook.com/kumonthailand

แฟรนไชส์การศึกษายังเติบโตต่อไปในปี 2025 แต่จะไม่โดดเด่นมากนัก แฟรนไชส์พวกติวเตอร์อาจจะได้รับความนิยมน้อยลง แต่จะขยายตัวในแฟรนไชส์สอนพิเศษ พัฒนาทักษะ การเรียนภาษา ผู้ปกครองและนักเรียนให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในด้านต่างๆ มากขึ้น ทั้งเรื่องของทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน และทักษะเฉพาะทางในสาขาวิชาชีพต่างๆ ทำให้มีความต้องการเรียนที่หลากหลาย

ไม่พอแฟรนไชส์การศึกษาสมัยนี้ยังนำเทคโนโลยีและการเรียนออนไลน์มาปรับใช้ ทำให้การศึกษาสามารถเข้าถึงง่ายและรวดเร็วผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้เรียนได้จากทุกที่และทุกเวลา อีกทั้งโมเดลแฟรนไชส์มีระบบสนับสนุนที่ดี ทั้งฝึกอบรม การตลาด และบริหารจัดการ ทำให้ผู้ลงทุนเริ่มต้นธุรกิจได้ง่าย มีโอกาสเติบโตเร็ว ปัจจุบันในไทยมีแฟรนไชส์การศึกษาอยู่ประมาณ 105 กิจการ สัดส่วน 15.89% ของกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งหมด

8. ธุรกิจบริการ สะดวกซัก ตู้หยอดเหรียญ คาร์แคร์

ภาพจาก www.facebook.com/drtigerlaundryfranchise

แฟรนไชส์บริการสะดวกซัก ตู้หยอดเหรียญ และคาร์แคร์ เติบโตเนื่องในปี 2025 จากหลายปัจจัย เช่น ผู้คนหันมาใช้บริการที่สะดวกและรวดเร็ว เพราะชีวิตที่เร่งรีบ มีเวลาจำกัด เป็นธุรกิจตอบโจทย์ผู้คนยุคไม่ค่อยมีเวลามาก ธุรกิจพวกนี้ไม่ต้องใช้เวลานั่งเฝ้า ใช้พนักงานน้อยช่วยลดต้นทุนการจ้างงาน ทำเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เป็นธุรกิจเสียนอนกิน ที่สำคัญ ธุรกิจตู้หยอดเหรียญ สะดวกซัก คาร์แคร์มักมีความสะดวกในการใช้งาน ไม่ต้องรอคิว ใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกต่างหาก จึงได้รับความนิยมเรื่อยๆ

9. ธุรกิจบริการชาร์จรถ EV

ภาพจาก freepik.com

อาจเป็นแฟรนไชส์ดาวรุ่งอันดับต้นๆ เลยก็ว่า ที่มีโอกาสเติบโตมากที่สุดในปี 2025 มาจากจำนวนผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในหลายประเทศได้รับการสนับสนุนเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เช่น การลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า การขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้มีจำนวนสถานีชาร์จ EV เพิ่มขึ้น ช่วยให้การใช้รถ EV ง่ายและสะดวกสบายขึ้นมาก ผู้ใช้รถ EV สามารถชาร์จรถได้สะดวก ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ปั๊ม ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ที่สถานีชาร์จสาธารณะ ดึงดูดให้คนหันมาใช้รถ EV มากขึ้น

สถิติยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน พบว่ามียานยนต์ไฟฟ้า EV สะสมทั้งสิ้น 167,344 คัน มียอดจดทะเบียนใหม่ในปี 2023 สูงถึง 75,690 คัน ส่วนทุนจดทะเบียนธุรกิจสถานีชาร์จ EV (EV Charging Station) ในไทยมีมูลค่ารวม 31,758.46 ล้านบาท เติบโตตามตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

10. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

ภาพจาก www.facebook.com/franchisehappyhouse

อีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่คาดว่าจะกลับมาเติบโตในปี 2025 มาจากหลายปัจจัย เช่น การขยายตัวประชากรและการเติบโตของเมือง ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น รวมถึงการลงทุนในอสังหาฯ ที่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน

โดยเฉพาะในการเช่าและขายที่อยู่อาศัย ยังมีปัจจัยการใช้เทคโนโลยีทำธุรกิจอสังหาฯ เช่น การตลาดออนไลน์, แอปพลิเคชัน, และระบบการจัดการฐานข้อมูล ช่วยให้ลูกค้าและตัวแทนขายเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว จึงทำให้แฟรนไชส์อสังหาฯ มีโอกาสขยายตัว


#แฟรนไชส์ดาวร่วง

1. ธุรกิจร้านอาหารขนาดใหญ่

ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง

ในช่วงก่อนเกิดระบาดโควิด-19 แฟรนไชส์ร้านอาหารขนาดใหญ่ในไทยมีการขยายตัวได้ดี แต่พอเกิดโควิด ทำให้แบรนด์ใหญ่ปรับโมเดลร้านให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้ต้นทุนการลงทุนแฟรนไชส์ต่ำลง ร้านอาหารขนาดใหญ่ต้องการพื้นที่เช่ามาก ค่าตกแต่งและอุปกรณ์ในร้านราคาสูง

ทำให้การเปิดสาขาใหม่ใช้เงินลงทุนมากขึ้น ส่วนข้อดีของร้านขนาดเล็กลงจะช่วยลดต้นทุนในการเปิดร้าน ทั้งค่าเช่า, การตกแต่งร้าน, และการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ทำให้เข้าถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้นด้วยการลงทุนที่ต่ำ

2. ธุรกิจร้านหมาล่าชาบู

ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง

การปิดกิจการของธุรกิจร้านหมาล่าชาบูในไทยที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะหลังๆ มาจากหลายปัจจัย เช่น การแข่งขันที่รุนแรง มีร้านหลายแห่งเปิดตัวในระยะเวลาใกล้งกัน ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น และการทำตลาดเน้นคุณภาพ รสชาติ ราคา บริการ อาจทำให้บางร้านไม่สามารถอยู่ได้

ร้านหมาล่าชาบูเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องปรุงรส ผักต่างๆ ถ้าร้านควบคุมต้นทุนได้ดี ก็อาจจะทำให้ขาดทุนได้ง่าย ที่สำคัญผู้บริโภคในไทยชื่นชอบและนิยมหมาล่าชาบูในช่วงเปิดใหม่ๆ พอเกระแสซาลงก็หันไปทานอาหารประเภทอื่น ที่มีราคาถูกกว่า และสะดวกกว่าทานชาบู

3. ธุรกิจร้านหมูกระทะ

ธุรกิจแฟรนไชส์ดาวรุ่ง

เป็นธุรกิจร้านอาหารที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี 2540 พอมาระยะหลังๆ คนทำกันเยอะ ทำให้มีการแข่งขันกันสูง แม้แต่ศิลปิน ดารา คนดังๆ เปิดร้านหมูกระทะยังไปไม่รอด ที่อยู่ได้จะเป็นแบรนด์ใหญ่ๆ ตามห้าง ปัจจัยทำให้ร้านหมูกระทะไปต่อยากมาจากการแข่งขันสูง ต้นทุนสูงเฉพาะค่าใช้จ่ายเปิดร้านหมูกระทะ เช่น ค่าวัตถุดิบ (เนื้อหมู ผัก น้ำจิ้ม) ค่าเช่าที่ร้าน ค่าจ้างพนักงาน สูงขึ้น ทำให้กำไรไม่พอต่อการทำธุรกิจ

แฟรนไชส์บางแห่งอาจบริหารไม่ดี เช่น การควบคุมคุณภาพอาหาร การจัดการพนักงาน ทำตลาดไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ร้านรักษาฐานกลุ่มลูกค้าได้ หรือลูกค้าอาจหันไปทานอาหารประเภทอื่นที่นิยมมากขึ้น เน้นอาหารสุขภาพมากขึ้น ทำให้ร้านหมูกระทะเสียลูกค้า

4. ธุรกิจขนส่งพัสดุ Drop Off งานพิมพ์

แฟรนไชส์ขนส่งพัสดุ Drop Off งานพิมพ์ เช่น การส่งเอกสารหรือพัสดุ ชำระเงินต่างๆ ได้รับความนิยมน้อยจากหลายสาเหตุ เช่น ลูกค้ามองว่าการไปส่งพัสดุด้วยตัวเองที่จุด Drop Off ไม่สะดวกเท่ากับให้บริษัทขนส่งมารับถึงบ้านหรือที่ทำงาน การบริการรับพัสดุถึงที่แบบ Pick Up

ทำให้ลูกค้าประหยัดเวลาและสะดวกมากกว่าหรือบางคนเป็นห่วงเกี่ยวกับความปลอดภัยของพัสดุที่ฝากไว้ที่จุด Drop Off ที่ไม่ค่อยมีการควบคุม ที่สำคัญก็คือ แฟรนไชส์ซีแต่ละจุด มักโดนทางแบรนด์เอาเปรียบ เช่น ออกโปรโมชั่นตัดราคา ทำให้แฟรนไชส์ซีรายเล็กอยู่ไม่ได้ เพราะรายได้ไม่เหลือ

5. ธุรกิจร้านค้าโชห่วย

แฟรนไชส์ร้านค้าโชห่วยสมัยใหม่ จำพวกร้านถูกดี มีมาตรฐาน, ร้านโดนใจ, ร้านบัดดี้มาร์ท และอีกหลายแบรนด์ ที่บรรดาเจ้าสัวลงมาสร้างแบรนด์ ท้าชิงร้านสะดวกซื้อ โดยให้ร้านโชห่วยตามชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นผู้ลงทุนเปิดร้านค้าที่ทันสมัยเทียบเท่า 7-Eleven ช่วงแรกๆ ร้านโชห่วยแบบนี้เติบโตได้ดี มีผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์จำนวนมาก

พอมาระยะหลังๆ ร้านค้าเหล่านี้เริ่มเป็นข่าว ผู้ลงทุนอ้างว่าเจ้าของแบรนด์เอาเปรียบ เปิดร้านแล้วไม่เหลือกำไร อยากยกเลิกสัญญา ปัญหาเหล่านี้ทำให้แฟรนไชส์ร้านโชห่วยสมัยใหม่เริ่มได้รับความนิยมน้อยลง อีกทั้งแบรนด์ใหญ่ 7-Eleven, CJ รุกคืบจ่อตรงหน้าบ้าน ทำให้คนไม่อยากเปิดร้านแฟรนไชส์โชห่วย เพราะเปิดแล้วไม่คุ้มกับเงินลงทุน

6. ธุรกิจจำหน่ายและให้เช่า CD หรือ VDO

ภาพจาก https://elements.envato.com

สมัยก่อนธุรกิจจำหน่ายและให้เช่า CD หรือ VDO ได้รับความนิยมอย่างมาก หลายๆ ร้านเปิดขายแฟรนไชส์ด้วย พอมาปัจจุบันแทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว ส่วนใหญ่ที่ปิดกิจการมาจากหลายปัจจัย เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น สตรีมมิ่ง (streaming) ดูภาพยนตร์หรือซีรีส์ออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องใช้แผ่น CD หรือ VDO อีกต่อไป ผู้บริโภคก็หันไปใช้บริการแบบดิจิทัลแทน เช่น Netflix, YouTube ที่ราคาไม่สูง

7. ธุรกิจถ่ายเอกสารและงานพิมพ์

ภาพจาก https://elements.envato.com

อีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่โดน Disruption จากเทคโนโลยีดิจิทัลและการพิมพ์ออนไลน์ ที่เข้ามาแทนร้านถ่ายเอกสารแบบเดิมๆ เช่น ใช้เครื่องพิมพ์จากบ้านหรือที่ทำงาน ทำให้ความต้องการใช้บริการถ่ายเอกสารและพิมพ์ในร้านลดลง อีกทั้งพอในยุคที่หลายๆ คนใช้สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ในการสร้างและแชร์เอกสารแบบดิจิทัล ทำให้ความต้องการในการพิมพ์หรือถ่ายเอกสารจริงๆ ลดลง

8. ธุรกิจตัวแทนจำหน่าย

แฟรนไชส์ตัวแทนจำหน่ายเริ่มได้รับความนิยมมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ถ้าพูดถึงตัวแทนจำหน่ายแบบรายใหญ่ๆ ก็เป็นพวกดีลเลอร์จำหน่ายรถยนต์ หลายๆ แห่งทอยปิดกิจการลง ล่าสุด 1 ธ.ค. 67 ดีลเลอร์รถรายใหญ่ ย่านรังสิต “มิตซู รีพับบลิค” ประกาศยุติบทบาท กันไปเป็นผู้ให้บริการ “เช่าโชว์รูม” มาจากปัญหาการแข่งขันที่สูงและการมาของรถยนต์ไฟฟ้า ปัญหาทางการเงิน การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง กระทบต่อธุรกิจตัวแทนจำหน่าย

9. ธุรกิจรถเช่า รถยนต์มือ 2

ธุรกิจรถเช่าและรถยนต์มือ 2 อาจได้รับความนิยมน้อยลงในบางช่วงเวลาหรือบางกลุ่มลูกค้า จากสาเหตุการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และความนิยมที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ตลาดรถยนต์มือ 2 ลดลง ผู้บริโภคมองหาความทันสมัยและประหยัดพลังงานมากขึ้น ทำให้ตลาดรถยนต์มือสองอาจมีข้อจำกัดในเรื่องการขอสินเชื่อจากไฟแนนซ์ ทำให้มีผู้ประกอบการรายย่อยลดลง

10. ธุรกิจบริการถ่ายรูป โฟโต้แลป

ภาพจาก https://elements.envato.com

ธุรกิจบริการถ่ายรูป หรือ “โฟโต้แลป” (Photo Lab) ได้รับความนิยมน้อยลง มาจากหลายปัจจัย เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีกล้องถ่ายรูปในโทรศัพท์มือถือ ทำให้คนสามารถถ่ายภาพและพิมพ์ออกมาเองได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องพึ่งพาบริการจากโฟโต้แลปอีกต่อไป

การเจริญเติบโตของสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ทำให้ผู้คนเก็บและแชร์ภาพถ่ายในรูปแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, หรือ Google Photos ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ภาพออกมาเหมือนในอดีต

สุดท้าย ในปี 2568 ธุรกิจต่างๆ ยังคงเผชิญความท้าทายต่อเนื่อง ทั้งจากภายในและต่างประเทศ อยากแนะนำให้ผู้ประกอบการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้อง และยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตหรือบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ นำเสนอสินค้าและบริการที่ต่างจากคู่แข่ง มีการใช้ Data ช่วยดำเนินธุรกิจ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช