10 ความเชื่อที่ผิด 10 ความคิดที่ถูก ธุรกิจแฟรนไชส์

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบแฟรนไชส์เป็นทางลัดในการทำธุรกิจ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ด้วยตัวเอง ไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายจะบาดปลายมากน้อยแค่ไหน ขณะที่ผู้ขายแฟรนไชส์ก็สมามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนของตัวเอง เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ แต่รู้หรือไม่ว่า ผู้ขายแฟรนไชส์ และ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ จำนวนมาก ยังไม่ความเชื่อแบบผิดๆ และ คิดถูกในธุรกิจแฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบครับ

10 ความเชื่อที่ผิด ธุรกิจแฟรนไชส์

8

ภาพจาก bit.ly/2GTurnN

1. แฟรนไชส์คือสูตรสำเร็จของธุรกิจ

ธุรกิจไม่ได้มีสูตรความสำเร็จไว้ตายตัว เช่นเดียวกับแฟรนไชส์ แม้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์ได้วางสูตรความสำเร็จไว้เรียบร้อย โดยผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว แต่ก็ไม่มีเจ้าของแฟรนไชส์รายใดการันตี 100% ได้ว่า คนที่ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วจะประสบความสำเร็จเหมือนกันกับเจ้าของแฟรนไชส์ทุกคน เพราะถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ปฏิบัติตามระบบของแฟรนไชส์ก็เจ๊งได้ หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์เลือกทำเลที่ตั้งไม่ดี มีคู่แข่งมาเปิดตอนหลัง ไม่ค่อยมีลูกค้าใช้บริการ ก็เจ๊งได้

2. คืนทุนเร็ว ได้รับผลตอบแทนในเวลากำหนด

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่วนใหญ่มักจะสอบถามเจ้าของแฟรนไชส์อยู่เสมอว่า สามารถคืนทุนได้ภายในกี่เดือน กี่ปี ได้รับผลตอบแทนเร็วไหม ซึ่งตรงนี้ส่วนใหญ่เจ้าของแฟรนไชส์จะไม่การันตี 100% ว่าจะคืนทุนได้ภายในกี่เดือนหรือกี่ปี มีแต่คำนวณคร่าวๆ ว่า ถ้ายอดขายได้ตามเป้าหมาย และอยู่ในทำเลที่ดี ก็จะสามารถคืนทุนได้ภายใน 2-3 เดือน หรือ 1-2 ปี แต่อย่าลืมว่าระหว่างการทำธุรกิจมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย เช่น ฝนตก ไฟดับ น้ำท่วม เศรษฐกิจไม่ดี หรือคนเริ่มเบื่อสินค้าหรือบริการนี้แล้ว เป็นต้น

7

ภาพจาก facebook.com/torcharmfranchise

3. มีรายได้ต่อเดือนจำนวนแน่นอน

เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่วนใหญ่มักจะมองไปที่รายได้ต่อเดือน ซึ่งหลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ก็ได้ระบุให้เห็นชัดว่า ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วจะมีรายได้ต่อเดือนที่แน่นอน จึงทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ คนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ แต่พอไปทำจริงๆ แล้ว กลับไม่ได้เป็นไปตามที่เจ้าของแฟรนไชส์ระบุ เพราะในแต่ละเดือนจำนวนลูกค้าเข้าใช้บริการไม่เท่ากันอย่างแน่นอน และหลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ก็จะได้รับความนิยมในช่วงเปิดสาขาตอนแรกเท่านั้น คือ ลูกค้าเริ่มเบื่อ

4. ซื้อแฟรนไชส์ที่มีสาขามาก สำเร็จแน่นอน

แม่ว่าแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีจำนวนสาขามากมาย จะเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เพราะคิดว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยม จึงทำให้มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก แต่ใครที่กำลังคิดจะซื้อแฟรนไชส์ ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า แบรนด์แฟรนไชส์ใดที่ขยายสาขาได้มากๆ เป็น 100 สาขา  แต่อย่าลืมดูว่าปัจจุบันปิดตัวไปแล้วกี่สาขา ถ้าเปิด 100 สาขา แต่ปิด 20 สาขา แสดงว่าเจ๊งร้อยละ 20 ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรเอาข้อมูลนี้ไปประกอบการตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ด้วย แฟรนไชส์ที่มีอัตราเจ๊งต่ำควรมีตัวเลขไม่เกิน 5%

6

ภาพจาก facebook.com/FujiCafeNakhonSawan

5. เลือกแฟรนไชส์จากราคาถูก ไม่ใช่เพราะชอบ

ตอนพิจารณาเลือกซื้อแฟรนไชส์ คุณต้องเลือกจากความสนใจที่มีตัวต่อผลิตภัณฑ์จริงๆ ไม่ใช่ซื้อเพราะแฟรนไชส์นี้มีราคาถูกกว่า หรือให้ส่วนลดแลกแจกแถมมากมาย เพราะความสนใจ จะทำให้คุณมุ่งมั่นทุ่มเทมากกว่าการทำธุรกิจในสิ่งที่ไม่ได้สนใจ ซึ่งจะทำให้ยอมแพ้ หรือล้มเลิกความตั้งใจไปง่ายๆ

6. เลือกแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาก่อนก็เพียงพอ

ถึงแม้คุณจะเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยม และประสบความสำเร็จอย่างมากกับคนอื่น นั่นไม่ได้แปลว่าคุณก็จะทำได้เหมือนพวกเขาเหล่านั้น เพราะการทำแฟรนไชส์ ต้องอาศัยความเข้าใจ การศึกษาโครงสร้างและรายละเอียด เพื่อวางแผนที่เหมาะสมรวมไปถึงทิศทางการเติบโตในอนาคตอีกด้วย

7. ซื้อแฟรนไชส์มาให้ใครบริหารงานก็ประสบความสำเร็จ

ผู้ลงทุนแฟรนไชส์ต้องดำเนินธุรกิจเอง เปรียบเสมือนเจ้าของกิจการที่สร้างธุรกิจขึ้นมาในช่วงเริ่มแรก เพราะจะได้เรียนรู้ปัญหาที่จะเกิด และสามารถรู้วิธีการแก้ไขได้ทันท่วงที ตามคู่มือปฏิบัติงานของแฟรนไชส์ หรือโทรปรึกษากับแฟรนไชส์ซอร์โดยตรง แต่เมื่อธุรกิจบขับเคลื่อนไปได้ระยะหนึ่ง มีรายได้ กำไรแน่นอนแล้ว สามารถจ้างผู้จัดการร้านมาดูแลแทนได้ในบางช่วงเวลา

5

ภาพจาก facebook.com/ufofishball

8. ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่จำเป็นต้องเขียนแผนธุรกิจเป็น

ผู้ลงทุนแฟรนไชส์เปรียบเสมือนเจ้าของธุรกิจ ที่เริ่มสร้างธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น แม้ว่าจะเป็นการซื้อแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องมีการวางแผนธุรกิจ วางเป้าหมายการเติบโตในปี 2-3 ปีข้างหน้า เพื่อนำเสนอแฟรนไชส์ซอร์เพื่อให้เขารู้ว่า คุณจะไม่ทำให้แบรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณซื้อมาเสียหาย ดูว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์จะตั้งใจบริหารธุรกิจอย่างเต็มที่

9. ลงทุนแฟรนไชส์มีความเป็นอิสระ ไม่ต้องผูกมัดใคร

ต้องดำเนินธุรกิจภายใต้คู่มือปฏิบัติการของแฟรนไชส์ซอร์อย่างเคร่งครัด ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องทำงานร่วมกันกับแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถที่จะนำเสนอไอเดียในการดำเนินธุรกิจได้ หากเป็นในลักษณะช่วยให้ธุรกิจมีการเติบโต ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในบางพื้นที่ เพิ่มเพิ่มยอดขาย เป็นต้น

10. ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่เก็บค่าสิทธิต่อเนื่องก็เติบโตได้

ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จริงๆ แล้ว แฟรนไชส์ซอร์จะต้องเรียกเก็ยค่าสิทธิต่อเนื่องในแต่ละเดือนจากยอดขายของแฟรนไชส์ซอร์ด้วย ไม่ใช่เก็บเฉพาะค่าแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว แล้วมุ่งขายแต่วัตถุดิบหรือสินค้า เพราะจะเป็นแฟรนไชส์สร้างอาชีพ ไม่ใช่แฟรนไชส์ขายระบบความสำเร็จของธุรกิจ ที่สำคัญการเก็บค่าสิทธิต่อเนื่อง เป็นการนำเงินไปสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้เติบโตไปด้วยกัน


10 ความคิดที่ถูก ธุรกิจแฟรนไชส์

4

ภาพจาก goo.gl/QB9eNM

1. แฟรนไชส์จะสำเร็จได้ขึ้นกับธุรกิจและคนทำแฟรนไชส์

แม้แฟรนไชส์จะเป็นระบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่แฟรนไชส์ซี และ แฟรนไชส์ซอร์ จะต้องทำงานร่วมกัน ดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบแฟรนไชส์เดียวกันที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และแฟรนไชส์ซีต้องปฏิบัติตามแฟรนไชส์ซอร์ ขณะที่แฟรนไชส์ซอร์ต้องช่วยเหลือให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง ให้เติบโตไปพร้อมๆ กัน นั่นจึงเป็นความสำเร็จของแฟรนไชส์

2. แฟรนไชส์คืนทุนได้เร็ว ขึ้นอยู่กับทำเลและจำนวนลูกค้า

ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่า จะคืนทุนได้ภายในระยะเวลากี่วัน หรือ กี่เดือน แต่ขึ้นอยู่กับยอดขาย ทำเลที่ตั้งว่าอยู่ในย่านคนพลุกพล่าน สัญจรผ่านไปมาหรือไม่ รวมถึงจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการด้วย

3. รายได้ของแฟรนไชส์แต่ละสาขาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้บริการ

แฟรนไชส์ไม่สูตรความสำเร็จที่ทุกสาขาแฟรนไชส์จะมียอดขายและรายได้เท่ากัน หลายคนอาจจะซื้อแฟรนไชส์เพราะเหตุผลนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วแต่ละสาขาแฟรนไชส์ขึ้นอยู่กับการบริหารงานของแฟรนไชส์ซีแต่ละสาขา แต่ละทำเล รวมถึงจำนวนลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการด้วย จึงทำให้แต่ละสาขามีรายได้แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนซื้อแฟรนไชส์ ต้องเลือกทำเลที่มีศักยภาพเพียงพอ

3

ภาพจาก facebook.com/bubbdrinks

4. ลงทุนแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับระบบและผู้ซื้อแฟรนไชส์

การลงทุนแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ นอกจากธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ จะได้รับความนิยมในตลาดแล้ว ยังขึ้นอยู่กับระบบของธุรกิจที่ถูกสร้างขึ้นจากแฟรนไชส์ซอร์ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา รวมถึงตัวของแฟรนไชส์ที่มีความตั้งใจบริการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน

5. เลือกแฟรนไชส์จากความชอบ และมีระบบที่เป็นมาตรฐาน

ผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจ จะต้องเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบและถนัดมากที่สุด เช่น ชอบทำอาหาร ชอบชิมอาหาร ก็ต้องเลือกซื้อแฟรนไชส์อาหารไปเปิด เพราะจะทำให้ผู้ซ้อแฟรนไชส์มีความสุขกับงานที่ตัวเองถนัด และทำออกมาได้ดี และธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาก็จะประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

6. เลือกแฟรนไชส์ที่มีโอกาสสำเร็จ และ ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า

การเลือกซื้อแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ จะต้องเลือกแฟรนไชส์ที่มีโอกาส เป็นแฟรนไชส์ที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต ได้อยู่ในตลาดได้ยาวนาน ที่สำคัญเป็นแฟรนไชส์ที่ตอบโจทย์ความต้องของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี เช่น ผู้คนซื้อซ้ำบ่อยๆ ทุกวัน

2

ภาพจาก goo.gl/9CAAG3

7. ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วต้องตั้งใจ เปรียบเสมือนสร้างธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง

แม้ว่าการซื้อแฟรนไชส์จะเป็นการซื้อความสำเร็จของธุรกิจแบรนด์นั้นๆ แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องมีความตั้งใจ อดทนในการบริหารธุรกิจ เพราะอย่าลืมว่ากว่าธุรกิจแฟรนไชส์จะตั้งตัวได้ อาจใช้เวลา 2-5 เดือน ถ้าไม่มีความตั้งใจอาจล้มเหลวได้

8. ก่อนจะซื้อแฟรนไชส์ต้องเขียนแผนธุรกิจนำเสนอต่อเจ้าของแฟรนไชส์

ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องเขียนแผนธุรกิจเป็น แม้ว่าจะไม่ใช่การเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเอง แต่อย่าลืมว่า เจ้าของแฟรนไชส์จะคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นแฟรนไชส์ซีได้ง่าย พวกเขาจะดูว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์เขียนแผนธุรกิจเป็นหรือไม่ เพราะหากเขียนไม่เป็น นั่นแสดงว่า ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่รู้จักการวางแผนธุรกิจ ไม่มีเป้าหมายการทำธุรกิจ หากเขาให้สิทธิไปอาจทำแบรนด์เขาเสียหายก็ได้

9. ลงทุนแฟรนไชส์ต้องปฏิบัติตามคู่มือแฟรนไชส์อย่างเคร่งครัด

ต้องดำเนินธุรกิจภายใต้คู่มือปฏิบัติการของแฟรนไชส์ซอร์อย่างเคร่งครัด ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องทำงานร่วมกันกับแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถที่จะนำเสนอไอเดียในการดำเนินธุรกิจได้ หากเป็นในลักษณะช่วยให้ธุรกิจมีการเติบโต ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในบางพื้นที่ เพิ่มเพิ่มยอดขาย เป็นต้น

1

ภาพจาก facebook.com/phatarinfoods

10. เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเก็บค่าสิทธิต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้เติบโต

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่เก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าอย่างเดียว ไม่เก็บค่าสิทธิ ค่าการตลาดจากแฟรนไชส์เป็นรายเดือน คิดเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย เขาเรียกว่า แฟรนไชส์สร้างอาชีพ มุ่งเน้นวัตถุดิบและสินค้าอย่างเดียว แฟรนไชส์ที่เป็นระบบนี้จะไม่มีเงินสนับสนุนแฟรนไชส์ซี เช่น การทำตลาด โฆษณา รวมถึงให้คำแนะนำในกรณีต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์รายเล็ก มีสิทธิเจ๊งได้ง่าย เพราะไม่ได้เก็บค่าสิทธิ ค่าการตลาด ไว้เป็นเงินสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้เติบโต

ทั้งหมดเป็น 10 ความเชื่อที่ผิด และ 10 ข้อคิดที่ถูก ในธุรกิจแฟรนไชส์ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของกิจการที่อยากจะสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ รวมถึงผู้สนใจที่อยากเริ่มต้นธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

10 ความเชื่อที่ผิด ธุรกิจแฟรนไชส์

  1. แฟรนไชส์คือสูตรสำเร็จของธุรกิจ
  2. คืนทุนเร็ว ได้รับผลตอบแทนในเวลากำหนด
  3. มีรายได้ต่อเดือนจำนวนแน่นอน
  4. ซื้อแฟรนไชส์ที่มีสาขามาก สำเร็จแน่นอน
  5. เลือกแฟรนไชส์จากราคาถูก ไม่ใช่เพราะชอบ
  6. เลือกแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาก่อนก็เพียงพอ
  7. ซื้อแฟรนไชส์มาให้ใครบริหารงานก็ประสบความสำเร็จ
  8. ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่จำเป็นต้องเขียนแผนธุรกิจเป็น
  9. ลงทุนแฟรนไชส์มีความเป็นอิสระ ไม่ต้องผูกมัดใคร
  10. ธุรกิจแฟรนไชส์ไม่เก็บค่าสิทธิต่อเนื่องก็เติบโตได้

10 ความเชื่อที่ถูก ธุรกิจแฟรนไชส์

  1. แฟรนไชส์คือสูตรสำเร็จของธุรกิจ
  2. แฟรนไชส์คืนทุนได้เร็ว ขึ้นอยู่กับทำเลและจำนวนลูกค้า
  3. รายได้ของแฟรนไชส์แต่ละสาขาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้บริการ
  4. ลงทุนแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับระบบและผู้ซื้อแฟรนไชส์
  5. เลือกแฟรนไชส์จากความชอบ และมีระบบที่เป็นมาตรฐาน
  6. เลือกแฟรนไชส์ที่มีโอกาสสำเร็จ และ ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า
  7. ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วต้องตั้งใจ เปรียบเสมือนสร้างธุรกิจใหม่ด้วยตัวเอง
  8. ก่อนจะซื้อแฟรนไชส์ต้องเขียนแผนธุรกิจนำเสนอต่อเจ้าของแฟรนไชส์
  9. ลงทุนแฟรนไชส์ต้องปฏิบัติตามคู่มือแฟรนไชส์อย่างเคร่งครัด
  10. เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเก็บค่าสิทธิต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้เติบโต

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/3e8K3CH

plann01

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่

โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช