10 ความเชื่อที่ผิด 10 ความคิดที่ถูก ธุรกิจซื้อมาขายไป

ธุรกิจซื้อมาขายไป นั้นเป็นหนึ่งประเภทของการทำธุรกิจ โดยที่เจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ ในส่วนของการผลิตสินค้าด้วยตัวเอง เพราะว่าเจ้าของธุรกิจสามารถซื้อสินค้าโดยตรงจาก “ผู้ผลิตสินค้า” หรือ “พ่อค้าคนกลาง” เพื่อรับสินค้าแล้วนำมาขายต่อ

โดยการเพิ่มราคาเพื่อกินกำไรนั่นเอง เช่น ไปรับซื้อเสื้อผ้าจากประตูน้ำมาขายตามตลาดนัด เป็นต้น วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 10 ความเชื่อที่ผิด 10 ความคิดที่ถูก เกี่ยวกับธุรกิจซื้อมาขายไปให้ทราบ

10 ความเชื่อที่ผิด ธุรกิจซื้อมาขายไป

11

1. ซื้อมาขายไปอยากขายอะไรก็ได้ตามใจผู้ขาย

ธุรกิจซื้อมาขายไปเป็นธุรกิจตามกระแส ต้องคอยหมั่นศึกษาเทรนด์ และกระแสนิยมของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่อยากจะขายสินค้าอะไรก็ขายไป ธุรกิจซื้อมาขายไปต้องขายสินค้าที่เป็นที่นิยมของตลาดในแต่ละช่วงเวลา

2. ซื้อมาขายไปเริ่มต้นง่าย รายได้ดี มีความมั่นคง

หลายคนอาจมองว่าธุรกิจซื้อมาขายไปเริ่มต้นได้ง่าย เพียงแค่มีทุน ก็จริงอยู่ แต่เรื่องของรายได้ดี มีความมั่นคง อาจจะไม่ใช่ธุรกิจซื้อมาขายไป เพราะอย่าลืมว่าสินค้าที่สั่งซื้อมาจะขายได้หมด จะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทุกคน ดังนั้น หากซื้อสินค้าที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ก็อาจขาดทุนเป็นได้ เพราะอย่าลืมว่ารายได้และกำไรของธุรกิจนี้มาจากการตั้งราคาเพิ่มจากที่ซื้อ

9

3. ซื้อมาขายไปใครๆ ก็สามารถทำธุรกิจนี้ได้

หากคุณคิดที่จะลงมือทำธุรกิจซื้อมาขายไป ต้องถามตัวเองก่อนว่า รักหรือว่าชอบที่จะทำหรือเปล่า เพราะถ้าคุณจะทำอาชีพค้าขายคุณจะต้องมีใจรัก อดทน ขยัน รักงานบริการ ชอบพบปะผู้คน ที่สำคัญต้องมีความสุขกับการขายของ ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่รู้สึกเบื่อ และมีความพยายามตั้งใจทำอาชีพค้าขายให้ประสบความสำเร็จ

4. ซื้อมาขายไปไม่จำเป็นต้องทำบัญชี สต็อกสินค้า

ในระหว่างที่คุณขายของไป ก็อย่าลืมที่จะทำบัญชี เช็คยอดขาย และสต็อกสินค้าด้วย สิ่งเหล่านี้จะมาเป็นงานประจำวันให้กับคุณอีกอย่างไปโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยทำงานบัญชีแบบจริงจัง ก็ไม่ยากนะ ให้คุณลองนึกถึงข้อมูลสินค้าและตัวเลข ที่คุณต้องรู้ในร้านให้ได้เป็นพอ ว่ามีอะไรบ้าง เช่น ชื่อสินค้า ราคาทุน ราคาขาย จำนวนชิ้นที่ขาย ยอดขาย กำไร สต็อกคงเหลือ ณ วันที่เท่านั้นเท่านี้ และพอถึงสิ้นเดือนคุณก็มาสรุปยอดอีกที เพื่อความถูกต้องในการดำเนินธุรกิจ ก็พอแล้ว

10

5. ซื้อมาขายไปเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงน้อย

แม้ว่าการซื้อมาขายไปจะเริ่มต้นด้วยเงินทุนที่ไม่มากนัก มีเงินก็ไปซื้อมาขาย ขายหมดได้กำไร ซึ่งหลายๆ คนมองว่ามีความเสี่ยงน้อย แต่ถ้าไม่ศึกษาตลาด ไม่ตามเทรนด์ผู้บริโภคให้ทัน ก็มีความเสี่ยงที่จะขายสินค้าไม่ได้ สินค้าค้างสต็อก ทำให้สินค้าหมดอายุ พอเอาออกมาขายก็ขายไม่ได้ ตกเทรนด์ไปแล้ว อีกทั้งถ้าใครขายตามตลาดนัด หากฝนตก พายุเข้า ก็ขายของไม่ได้ ถือเป็นความเสี่ยงของธุรกิจซื้อมาขายไป หลายๆ คนไปไม่ไหว โบกมือลาธุรกิจนี้ไปจำนวนมาก

6. ซื้อมาขายไปไม่จำเป็นต้องศึกษาคู่แข่งในตลาด

สำหรับคนที่จะเริ่มทำธุรกิจประเภทนี้นั้นผมแนะนำให้ดูคู่แข่งซักนิด เพราะปัจจุบันที่ผมเจออยู่คือมีเจ้าใหม่ๆ เข้ามาทำเกี่ยวกับสินค้าที่ทำอยู่เยอะมาก ซึ่งดูจากลักษณะแล้วก็เป็น Trading เหมือนกัน โดยแหล่งสินค้านั้นก็ไม่ได้เพิ่มตามไปด้วย มีแหล่งซื้อเป็นเจ้าใหญ่ๆ อยู่เพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้น ซึ่งทำให้การแข่งขันสูงมากทำให้ส่วนแบ่งตลาดก็ลดหลั่นไปตามๆ กัน

8

7. สั่งซื้อสินค้ามาขายมาก ก็ได้กำไรมาก

แม้ว่าการสั่งเยอะๆ ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลงก็จริง แต่เราต้องแบกต้นทุนในการเก็บรักษาที่มากขึ้น ไหนจะเงินทุนหมุนเวียนของเราที่มีอยู่อย่างจำกัด ก็ต้องไปจมอยู่ในสต็อกอีก และถ้าออเดอร์ไม่เยอะจริง ระบายสินค้าได้ช้า ก็จะทำให้เงินเราจมอยู่กับสต็อกสินค้าที่หมุนเวียนช้า หรืออาจขายไม่ได้ เพราะกระแสไม่นิยม แทนที่จะนำเงินตรงนั้นไปลงในสต็อกสินค้าที่หมุนเวียนเร็วกว่า

8. สั่งของเยอะๆ ยิ่งดี มีสินค้าให้เลือกเยอะ

หากคุณอยากตุนสต็อกเยอะเพื่อให้มีสินค้าให้เลือกเยอะๆ และจะได้มีต้นทุนที่ต่ำในการซื้อปริมาณมากๆ ถ้าเป็นสินค้าทั่วๆ ไปที่ซื้อง่ายขายคล่อง หรือขายได้เรื่อยๆ ก็ยังเสียหายไม่เยอะ แต่ถ้าเป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะที่มีวันหมดอายุ เวลาพูดถึงสินค้าที่มีวันหมดอายุ ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงนึกถึงสินค้าที่เป็นเน่าเสียได้ หรือสินค้าบรรจุกระป๋องที่มีวันหมดอายุ แต่สมัยนี้สินค้าแฟชั่นต่างๆ หรือสินค้าไอที บางทีหมดอายุเร็วกว่าอีก อาจจะล้าสมัยเร็วหรือแนวโน้มราคาลดลงอย่างรวดเร็ว หลายๆ ท่านคงเคยเห็นกันเยอะ ยิ่งดังเร็วก็ยิ่งไปเร็ว จะสต็อกสินค้ากันก็ดูกันดีๆ

7

9. ซื้อสินค้าแฟชั่นมาขาย เป็นที่นิยมตลอดกาล

ความเสี่ยงหลักๆ ของธุรกิจซื้อมาขายไปของสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ของเล่น เป็นต้น คือ เรื่องสินค้าตาย ใครที่คิดจะทำธุรกิจซื้อมาขายไป โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ฮิตขายของออนไลน์กันเยอะ ต้องเข้าใจการบริหารจัดการสต็อกให้ดีๆ สินค้านั้นมีหลายแบบมาก แถมแต่ละแบบยังมีหลายสี และแต่ละสียังมีหลายขนาด ถ้าเราต้องมีให้ครบทุกสีทุกรุ่นทุกขนาด ซึ่งแน่นอนเมื่อสินค้าเริ่มล้าสมัย ก็ต้องมีบางส่วนที่ขายไม่ออก และกลายเป็นสินค้าตาย แล้วก็ต้องมาหักออกจากกำไรที่เราได้ จนเราอาจขาดทุนได้

10. ซื้อสินค้ามาขาย เก็บสินค้าไว้นานๆ ยิ่งได้เปรียบ

ธุรกิจซื้อมาขายไป หลักคือ ต้องแบกความเสี่ยงเฉพาะตัวของสินค้าให้น้อยที่สุด ยิ่งสินค้าอยู่กับเรานานเท่าไร ความเสี่ยงของการล้าสมัยของสินค้าก็อยู่กับเรานานเท่านั้น เคล็ดลับของการทำธุรกิจประเภทนี้ คือ ทำให้สินค้าอยู่กับเราให้น้อยที่สุด ให้สั้นที่สุด อย่างที่มีการกล่าวกันว่า ถ้าขายของได้โดยที่ไม่ต้องขนของขึ้นบ้านเลย ถือว่าสุดยอด


10 ความคิดที่ถูก ธุรกิจซื้อมาขายไป

5

1. เจ้าของธุรกิจเป็นตัวกลางซื้อขายระหว่างผู้ผลิต-ผู้บริโภค

ธุรกิจซื้อมาขายไป จึงเป็นธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการซื้อ-ขายสินค้า ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจซื้อมาขายไปทำหน้าที่ เป็นคนกลางในการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค หรือจากผู้ขายส่งอีกต่อหนึ่ง

2. ผู้ผลิตสินค้าไม่ต้องนำสินค้าส่งถึงมือผู้บริโภค

ผู้ผลิตบางร้านนั้นอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในส่วนของการผลิตสินค้า แต่อาจจะไม่ได้เชี่ยวชาญหรือมีความสามารถมากเพียงพอที่จะนำพาสินค้าไปสู่ท้องตลาดหรือนำสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคได้โดยตรง ดังนั้นเจ้าของธุรกิจรายย่อยหรือพ่อค้าคนกลางจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้สินค้าของผู้ผลิตเหล่านั้นไปถึงมือผู้บริโภคได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

6

3. ธุรกิจซื้อมาขายไปไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน

หน้าร้านคือเป็นปัจจัยแรกที่เราควรจะคำนึงสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป ก็เพราะว่าเราควรที่จะรู้ว่า สินค้าที่เราขายนั้นควรจะขายให้ใคร แล้วกลุ่มเป้าหมายของเรานั้นอาศัยอยู่แถวไหน ซึ่งสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า การหา “Location” ที่เหมาะสม ซึ่ง ณ ปัจจุบันอาจจะไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป เพราะว่าสามารถจะขายสินค้าผ่านออนไลน์ได้แล้ว

4. ธุรกิจซื้อมาขายไปต้องบริหารสต็อกให้เป็น

ธุรกิจซื้อมาขายไป อาจจะไม่ได้เป็นธุรกิจที่เพียงนำสินค้าประเภทใดประเภทหนึ่งมาขาย แต่อาจจะมีการนำเข้าสินค้า หรือรับสินค้ามาขายต่อแบบหลากหลาย ดังนั้น การจัดการสต็อกสินค้าจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรจะคำนึง เพราะถ้าหากรับสินค้ามามากเกินจนขายไม่หมด อาจจะทำให้เกิด Dead Stock ขึ้นได้ จะทำให้เงินทุนเราไปจมกับสินค้าที่จะขายไม่ออก ดังนั้นเจ้าของกิจการจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องของการจัดการกับสินค้า และสต็อกสินค้า เพื่อที่จะเลือกสินค้ามาสต็อกให้คุ้มและเกิดกำไรกับร้านของตนเองมากที่สุด

4

5. เจ้าของธุรกิจต้องรู้แหล่งซื้อและช่องทางขาย

ในปัจจุบันเกือบทุกคนสามารถสื่อสารผ่านออนไลน์ได้ไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลก แม้แต่การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศก็ทำได้สะดวกและง่ายขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงต่างประเทศด้วยตนเอง ธุรกิจซื้อมาขายไปจึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อย่างไม่รู้จบ เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องแหล่งผลิตนั้นมีน้อยลง ดังนั้น การทำธุรกิจซื้อมาขายไป ขอเพียงรู้จริง ทั้งแหล่งซื้อและช่องทางขาย ก็สามารถที่จะลดต้นทุนและเพิ่มกำไรได้

6. เจ้าของธุรกิจต้องมีความรู้ในตัวสินค้าที่ซื้อมาขาย

เคล็ดลับหาของมาขาย คือ ขายของที่เรามีความรู้อยู่แล้ว ขายของที่เรารู้จัก ขายของที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ อย่างน้อยเราคือผู้ขาย เราก็ต้องเชื่อก่อนว่าสินค้าดี มีคุณภาพจริง และ ต้องมีความรู้ในตัวสินค้านั้นๆ แม้จะไม่ใช่ผู้ผลิตก็ตาม เช่น จะขายเครื่องสำอาง ก็ต้องเป็นเครื่องสำอางที่มีเลขจดแจ้ง มีใบรับรองสินค้าจากหน่วยงายราชการ เป็นต้น

3

7. ธุรกิจซื้อมาขายไปสามารถเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้

คนที่ทำธุรกิจซื้อมาขายไป สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่ซื้อมาได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่ง เพิ่มเติม สินค้าที่ซื้อมานิดหน่อย หรืออาจจะมี Story เรื่องราวที่มาของสินค้า ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้า หากมีงบมากหน่อยก็สร้างแบรนด์ของตัวเองเลย

8. ธุรกิจซื้อมาขายไปทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักก็ได้

ธุรกิจซื้อมาขายไปสามารถทำเป็นอาชีพเสริมช่วงเช้า-เย็น หรือ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็ได้ หรือทำเป็นอาชีพหลักก็ได้ เช่นการเปิดร้านขายสินค้าแฟชั่นทั้งหลาย สินค้าไอที ร้านขายตุ๊กตา ร้านทุกอย่าง 20 บาท ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคภายในบ้าน ฯลฯ

2

9. ซื้อมาขายไปเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นได้ง่าย เริ่มต้นได้เร็ว

ธุรกิจซื้อมาขายไปเป็นธุรกิจที่ใครๆ ก็สามารถเริ่มต้นได้ง่าย เริ่มต้นได้เร็ว ไม่ต้องสร้างร้านหรือหน้าร้านก็ได้ ขอแค่มีโกดังหรือห้องเก็บสินค้า คนที่ทำธุรกิจซื้อมาขายไปไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้านั้นๆ เพียงแต่ต้องรู้แหล่งที่มาที่ไปของสินค้า รู้วิธีการใช้สินค้า เพื่อนำเสนอสินค้าให้ลูกค้าอยากซื้อ

10. ซื้อมาขายไปสามารถเริ่มต้นธุรกิจตามงบประมาณที่มี

ธุรกิจซื้อมาขายไปสามารถเริ่มต้น หรือลงทุนได้ตามงบในกระเป๋าที่มี เริ่มแรกอาจจะมีงบ 1,000 บาท ก็อาจไปซื้อเสื้อมามือสอง หรือรองเท้ามือสองมาเปิดร้านขาย หรือขายทางออนไลน์ไปก่อน หรือวางขายตามตลาดนัดใกล้บ้าน พอขายได้ก็อาจเพิ่มงบประมาณซื้อสินค้ามาเพิ่มก็ได้ในภายหลัง แต่ต้องเลือกซื้อสินค้าที่อยู่ในความต้องการของผู้บริโภคมาขาย

แม้ว่าการทำธุรกิจซื้อมาขายไป หลายคนอาจมองว่าได้กำไรน้อย แต่จริงๆ แล้วธุรกิจซื้อมาขายไปสร้างเถ้าแก่มาแล้วหลายคน ถ้าคุณเลือกสินค้ามาขายได้ถูกเวลา ถูกใจลูกค้า รอโอกาส ก็สามารถทำเป็นอาชีพหลักได้เลยนะครับ ถ้าสินค้าดี มีความแตกต่างจากท้องตลาด ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ เชื่อว่าสามารถทำกำไรได้ไม่มากก็น้อย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

SMEs Tips

10 ความเชื่อที่ผิด ธุรกิจซื้อมาขายไป

  1. ซื้อมาขายไปอยากขายอะไรก็ได้ตามใจผู้ขาย
  2. ซื้อมาขายไปเริ่มต้นง่าย รายได้ดี มีความมั่นคง
  3. ซื้อมาขายไปใครๆ ก็สามารถทำธุรกิจนี้ได้
  4. ธุรกิจซื้อมาขายไปต้องบริหารสต็อกให้เป็น
  5. ซื้อมาขายไปเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงน้อย
  6. ซื้อมาขายไปไม่จำเป็นต้องศึกษาคู่แข่งในตลาด
  7. สั่งซื้อสินค้ามาขายมาก ก็ได้กำไรมาก
  8. สั่งของเยอะๆ ยิ่งดี มีสินค้าให้เลือกเยอะ
  9. ซื้อสินค้าแฟชั่นมาขาย เป็นที่นิยมตลอดกาล
  10. ซื้อสินค้ามาขาย เก็บสินค้าไว้นานๆ ยิ่งได้เปรียบ

10 ความคิดที่ถูก ธุรกิจซื้อมาขายไป

  1. เจ้าของธุรกิจเป็นตัวกลางซื้อขายระหว่างผู้ผลิต-ผู้บริโภค
  2. ผู้ผลิตสินค้าไม่ต้องนำสินค้าส่งถึงมือผู้บริโภค
  3. ธุรกิจซื้อมาขายไปไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน
  4. ธุรกิจซื้อมาขายไปต้องบริหารสต็อกให้เป็น
  5. เจ้าของธุรกิจต้องรู้แหล่งซื้อและช่องทางขาย
  6. เจ้าของธุรกิจต้องมีความรู้ในตัวสินค้าที่ซื้อมาขาย
  7. ธุรกิจซื้อมาขายไปสามารถเพิ่มมูลค่าให้สินค้าได้
  8. ธุรกิจซื้อมาขายไปทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักก็ได้
  9. ซื้อมาขายไปเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นได้ง่าย เริ่มต้นได้เร็ว
  10. ซื้อมาขายไปสามารถเริ่มต้นธุรกิจตามงบประมาณที่มี

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/3hE702z

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช