10 ข้อในการสำรวจร้านค้าคู่แข่งเพื่อสร้างยอดขาย

ก่อนเปิดร้านค้า ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องลงพื้นที่สำรวจและวิเคราะห์ร้านค้าคู่แข่งในทำเลนั้นๆ ก่อน เพื่อให้รู้จุดแข็งจุดอ่อน จำนวนร้านค้าคู่แข่งในพื้นที่

ข้อได้เปรียบของร้านค้าคู่แข่ง เพราะหากต้องการเอาชนะร้านค้าคู่แข่งในพื้นที่ รวมถึงสร้างยอดขายให้ได้มากกว่าคู่แข่ง เราต้องรู้จักร้านค้าคู่แข่งให้มากที่สุด

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 10 ข้อในการสำรวจ ร้านค้าคู่แข่งเพื่อสร้างยอดขาย ที่ผู้ประกอบการต้องทำการสำรวจร้านค้าคู่แข่งในพื้นที่เป้าหมายขอการเปิดร้านค้า

1.สภาพแวดล้อมทำเลของร้านคู่แข่ง

10 ข้อในการสำรวจ

ถ้าเป็นร้านอาหารประเภทเดียวกัน แบบขายข้าวมันไก่เหมือนกัน ขายก๋วยเตี๋ยวเหมือนกัน เราต้องหาวิธีการทำอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าเลือกเราแทนที่จะเลือกคู่แข่ง เพราะร้านอยู่ใกล้ๆ กัน หากร้านคู่แข่งอยู่ไกลจากเรา ก็จำเป็นต้องวิเคราะห์เกี่ยวกับการเดินทางไปร้านคู่แข่งกับร้านของเรา มีความสะดวกสบายต่างกันอย่างไร เราสามารถนำมาเป็นจุดเด่นในการโฆษณาร้านเราได้มากแค่ไหน แน่นอนว่าถ้าทำเลเราดีกว่า ย่อมมีโอกาสมากกว่าที่จะเข้าถึงลูกค้า แต่ถ้าทำเลเราด้อยกว่า นั่นหมายความว่า เราต้องหาจุดขายอย่างอื่นมาดึงดูดลูกค้าแทน ถึงจะมีโอกาสได้รับชัยชนะ

2.พื้นที่ขายสินค้า จำนวนคนงาน

33

พื้นที่เปิดร้านขายของมีความสำคัญในการดึงดูดลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ในร่ม หรือกลางแจ้ง พื้นที่มากหรือไม่ มีโต๊ะเก้าอี้รองรับลูกค้าได้ก็จะได้เปรียบ กันฝนได้ ดังนั้น ต้องสำรวจดูว่าร้านค้าคู่แข่งที่เปิดอยู่ใกล้กันมีพื้นที่ขายมากน้อยขนาดไหน อีกทั้งจำนวนพนักงานในร้านมีมากหรือน้อย ถ้ามีมากก็จะได้เปรียบที่จะสามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเราขายสินค้าไม่เหมือนกับร้านค้าในพื้นที่ก็จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่สินค้าก็ต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้

3.ยอดขายโดยประมาณ

31

อาจต้องสอบถามเจ้าของร้านค้าที่เปิดในพื้นที่เป้าหมาย ว่ายอดขายในแต่ละวันได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้นำมาประเมินธุรกิจของเราที่จะไปเปิดขายในพื้นที่นั้นๆ หากร้านค้าคู่แข่งทำยอดขายได้มาก เราก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ยิ่งหากไม่ใช่สินค้าเดียวกัน แต่อยู่ในกลุ่มเดียวก็จะช่วยเกื้อหนุนกันได้เป็นอย่างดี

4.จุดแข็งจุดอ่อนในการบริการ

34

ต้องสังเกตหรือลองเข้าไปใช้บริการร้านค้าคู่แข่ง หรือร้านค้าที่เปิดในพ้นที่เป้าหมาย เพื่อดูว่าร้านค้าเหล่านั้นมีการให้บริการเป็นอย่างไร เอาใจใส่ลูกค้าดีหรือไม่ บริการเร็ว หรือบริการช้า เพื่อจะได้นำมาปรับรูปแบบการให้บริการร้านค้าของเรา

5.ลักษณะพิเศษของย่านการค้า ลูกค้า เป็นผู้บริโภคกลุ่มใด

37

คงไม่มีผลกระทบมากนักหากร้านค้าของเรากับคู่แข่งที่อยู่ใกล้กัน แต่ขายสินค้าคนละกลุ่มเป้าหมาย เช่น ร้านเราเป็นข้าวแกงมนุษย์เงินเดือนเดินดิน แต่ร้านคู่แข่งเป็นอาหารฝรั่งเศสสำหรับชาวต่างชาติ ด้วยความต่างกันมากของกลุ่มเป้าหมายนี้ จึงทำให้เราไม่จำเป็นต้องไปแข่งอะไรกับใครมากมาย แต่หากกลุ่มเป้าหมายของเราและคู่แข่งคือพนักงานออฟฟิศเหมือนกัน นั่นหมายความว่า เราจะต้องศึกษาคู่แข่งให้ลึกซึ้ง สร้างจุดแข็งให้กับร้านเรา

6.ประเภทและปริมาณสินค้าที่จำหน่าย

30

หากเราไปเปิดร้านค้าใกล้กับร้านค้าอื่นๆ จะต้องเป็นสินค้าไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเหมือนกันเราก็จะต้องดึงเอาจุดแข็งของเรามาใช้ เช่น ถ้าเป็นร้านอาหาร ต้องรสชาตอร่อย สะอาด ราคาเท่ากัน หรือถูกกว่าร้านค้าใกล้เคียงกัน

7.ราคาจำหน่ายสินค้า

35

แน่นอนว่าราคาขายสินค้ามีส่วนสำคัญในการดึงดูดลูกค้าได้มาก หากเป็นร้านค้าขายของเหมือนกัน เช่น ขายอาหารตามสั่ง หากเราขายแพงกว่าร้านใกล้เคียงกันก็อาจเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่ถ้าร้านเราทำอร่อย ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ อาจตั้งราคาสูงกว่าได้ แต่อาจต้องหาวิธีทำการตลาด และประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าได้ทราบ หรือขายแบบเดลิเวอรี่

8.วิธีการจำหน่าย

39

เช่น นั่งทานในร้าน ซื้อกลับบ้าน และเดลิเวอรี่ ออนไลน์ รับคนละครึ่งหรือไม่ ซึ่งวิธีการจำหน่ายเหล่านี้สามารถสร้างความได้เปรียบให้กับร้านค้าของเราได้ หากร้านค้าคู่แข่งไม่มีวิธีการจำหน่ายแบบนี้

9.การตลาดและส่งเสริมการขาย

32

เราต้องวิเคราะห์ด้วยว่าร้านอาหารคู่แข่งทำการตลาดด้วยวิธีไหน จัดโปรโมชั่น มีการกระตุ้นการขายอย่างไรบ้าง เพราะถ้าหากเราปล่อยให้คู่แข่งทำอยู่ฝ่ายเดียว ลูกค้าก็จะเทไปยังร้านคู่แข่งหมด และถ้าหากร้านคู่แข่งสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ รสชาติอาหารก็ดี แน่นอนว่า การจะดึงตัวกลับมาเป็นลูกค้าประจำเรานั้นก็ยากตามไปด้วย

10.สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

23

ต้องสำรวจว่าร้านค้าคู่แข่งได้เปรียบตรงไหน มีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้าง หรืออยู่ใกล้จุดศูนย์กลางที่โดดเด่นอะไรบ้าง เช่น ที่จอดรถ ร้านสะดวกซื้อ ตู้เอทีเอ็ม เส้นทางคนเดินผ่าน ทางเข้า-ออก เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์และเปรียบเทียบร้านค้าของเรากับร้านค้าคู่แข่ง จะช่วยทำให้เราสามารถกำหนดได้ว่า ถ้าเป็นร้านอาหาร จะทำเมนูหรือบริการแบบไหน ที่จะทำให้ร้านของเราดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้อย่างที่ตั้งใจเอาไว้ และนี่คือ 10 ข้อในการสำรวจ ร้านค้าคู่แข่งเพื่อสร้างยอดขาย

SMEs Tips

  1. สภาพแวดล้อมทำเลของร้านคู่แข่ง
  2. พื้นที่ขายสินค้า จำนวนคนงาน
  3. ยอดขายโดยประมาณ
  4. จุดแข็งจุดอ่อนในการบริการ
  5. ลักษณะพิเศษของย่านการค้า ลูกค้า เป็นผู้บริโภคกลุ่มใด
  6. ประเภทและปริมาณสินค้าที่จำหน่าย
  7. ราคาจำหน่ายสินค้า
  8. วิธีการจำหน่าย
  9. การตลาดและส่งเสริมการขาย
  10. สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2Z07pYV

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช