10 ข้อผิดพลาดที่แฟรนไชส์ซี เจ็บสุด!

แบรนด์แฟรนไชส์ ที่ประสบความสำเร็จในโลก ส่วนใหญ่มาจากการคัดเลือกผู้รับสิทธิ์ หรือ แฟรนไชส์ซี เพราะแฟรนไชส์ซีมีบทบาทสำคัญในการสร้างการเติบโตของกิจการ

เห็นได้จากแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังขยายสาขาไปได้ทั่วโลก ก็เพราะมีแฟรนไชส์ซีที่แข็งแกร่ง ผ่านการคัดเลือกแบบมีคุณภาพมาตรฐาน จึงส่งผลให้แฟรนไชส์ซีส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้วย

ถ้าถามว่าแบรนด์แฟรนไชส์ดี แต่แฟรนไชส์ซีไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ ถือว่าผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 10 ข้อผิดพลาด ของแฟรนไชส์ซี ที่เจ็บปวดสุดๆ ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ครับ

10 ข้อผิดพลาด

ภาพจาก pixabay.com

1.ไม่ทำตามกฎ

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ล้มเหลวส่วนมาก คือ ผู้ที่แหกกฎ ไม่เดินตามกติกามาตรฐานที่ตั้งเอาไว้ เช่น สมมุติเปิดร้านแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด แต่เห็นว่าส้มตำไก่ย่างขายดี ก็เอาเข้ามาขายในร้านด้วย ทำให้ผิดคอนเซ็ปท์และไม่ประสบความสำเร็จในที่สุด

ดังนั้น ขั้นแรกของการทำแฟรนไชส์ให้สำเร็จ ก็คือ การทำตามระบบที่พิสูจน์ว่าประสบความสำเร็จมาแล้วอย่างตั้งใจ ซึ่งจะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่า การคิดทำอะไรใหม่ๆ ด้วยตัวเอง หรือ หากคิดเองก็ควรปรึกษาเจ้าของแฟรนไชส์ก่อน

2.ไม่รู้หน้าที่ของตน

หลายคนคิดว่าการซื้อแฟรนไชส์มาแล้วหน้าที่ต่างๆ เช่น การโฆษณา การทำบัญชี การอบรมพนักงาน รวมถึงเรื่องอื่นใด เป็นหน้าที่ของบริษัทแม่แต่เพียงอย่างเดียว คุณต้องศึกษาให้ดี มิใช่ลงพื้นที่แล้วมาโยนหน้าที่กันไปเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้ง ซึ่งนำความล้มเหลวมาให้ การเสียเวลาสักนิดได้การรู้ให้รอบจะทำให้ทำหน้าที่ของตนได้อย่างดีที่สุด

17

ภาพจาก pixabay.com

3.ไม่ลงมือทำเอง

ผู้ซื้อแฟนรไชส์จำนวนมากลงทุนซื้อแฟรนไชส์ เพราะมีเงิน เมื่อซื้อไปแล้วกลับไม่ทำเอง แต่จ้างคนมาบริหารจัดการดูแลร้านให้ หรือให้ญาติพี่น้องของตัวเองทำแทน ส่วนตัวเองเข้าร้านบ้าง ไม่เข้าบ้าง สุดท้ายธุรกิจก็ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เจ๊ง เห็นได้จากที่ผ่านมาพบว่าสถิติของผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว (แฟรนไชส์ซี) ประสบความสำเร็จ เพราะลงมือบริการจัดการธุรกิจเอง

4.คาดหวังสูงเกินไป

หลายคนซื้อแฟรนไชส์มาก็คาดหวังว่าซื้อมาแล้วก็รอรับผลกำไรอย่างเดียว นับว่าเป็นความคาดหวังที่เกินความจริง เพราะเมื่อซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว การบริหารจัดการก็ต้องมีเหมือนกิจการอื่นทั่วไป เจ้าของแฟรนไชน์ต้องเอาใจใส่ร้านของตนให้ดี มีการบริหารในทุกๆ จุดไม่ให้รั่วไหล เช่น การบริหารวัตถุดิบ การบริหารค่าใช้จ่าย เป็นต้น

16

ภาพจาก pixabay.com

5.ไม่ได้ทำบัญชีรับจ่าย

ดูเหมือนว่าการไม่ทำบัญชีรับจ่าย ไม่น่าจะเป็นเหตุผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซีเจ๊งได้ แต่ต้องบอกไว้ว่าบัญชีรับจ่ายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้คุณบริหารกิจการได้ ยิ่งทำรัดกุม รอบคอบ ตรงไปตรงมาเท่าไร คุณก็สามารถนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุและบริหารต้นทุนได้ ทำให้การรั่วไหลไม่มี ผลกำไรก็เพิ่มพูน แต่ถ้าคุณไม่สนใจทำบัญชีรับจ่าย มีจุดรั่วไหลตรงไหนไม่รู้เดินหน้าขายลูกเดียว ซื้ออะไรไปก็ไม่บันทึกไว้ ขอบอกว่าเสี่ยงมาก

6.ไม่เอาจริงเอาจัง

หลายคนทำธุรกิจแฟรนไชน์ตามใจฉัน ทำเล่นๆ สนุกๆ คิดว่าแค่ตั้งร้านแฟรนไชส์เดี๋ยวก็ได้กำไร นึกอยากจะหยุดก็หยุด ตอนแรกๆ อาจจะจริงจัง แต่พอทำไปสักพักข้ออ้างก็เริ่มมา ผ่อนปรนให้กับธุรกิจตัวเอง คิดว่าไม่เป็นไรหรอกเปิดๆ ปิดๆ หยุดบ้างก็ได้ แนวคิดแบบนี้เจ๊งกันมาเยอะแล้ว

15

ภาพจาก pixabay.com

7.ทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้

ผู้ที่มีนิสัยมองโลกในแง่ร้าย อาจไม่เหมาะกับการเป็นแฟรนไชส์ซี เพราะจะทำให้การทำร่วมทีมกับคนอื่น โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซอร์เป็นปัญหาในการทำธุรกิจ จึงทำให้มีจุดที่เปราะบางที่อาจแตกหักได้ง่าย ลักษณะของการมีทัศนคติในเชิงบวกจะช่วยให้ปัญหาผ่านพ้นไปได้ เพราะหลายครั้งที่การแยกทางกันเกิดขึ้นจากนิสัยส่วนตัวเล็กๆ น้อยๆ ทั้งที่กิจการกำลังทำเงิน

8.ไม่พัฒนาบุคลากร

แม้ว่าบริษัทแฟรนไชส์จะสร้างระบบแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐานแล้ว แต่ถ้าแฟรนไชส์ซีไม่มีการพัฒนาบุคลากร หรือ ทีมงานของตัวเองให้มีคุณภาพ ธุรกิจอาจไม่สำเร็จได้ เพราะอย่าลืมแฟรนไชส์ไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ หากพนักงานในร้านไม่ยิ้มแย้มแจ่มใส บริการลูกค้าไม่ดี ก็เจ๊งได้ ดังนั้น แฟรนไชส์ซีต้องสร้างทีมของตัวเองให้มีคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ

14

ภาพจาก pixabay.com

9.ไม่มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้

ความผิดพลาดอย่างหนึ่งของแฟรนไชส์ซี คือ ไม่มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ เพิ่มทักษะใหม่ๆ จึงทำให้แฟรนไชส์ซีหลายรายไม่ประสบความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์ ดังนั้น เมื่อแฟรนไชส์ซีเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในธุรกิจที่แฟรนไชส์ซีอาจไม่รู้และเข้าใจมาก่อน แฟรนไชส์ซีที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ สามารถปฏิบัติตามระบบที่วางเอาไว้ จะทำให้เกิดความเข้าใจในระบบธุรกิจแฟรนไชส์ได้เร็วขึ้น

10.ไม่มีความเป็นเจ้าของธุรกิจ

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ซีอยู่บ่อยครั้ง ก็คือ คิดว่าซื้อแฟรนไชส์มาแล้วมีโอกาสประสบความสูง หรือประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน จะบริการจัดการธุรกิจอย่างไรก็ได้ เพราะบริษัทแม่แฟรนไชส์ได้สร้างระบบมาแล้ว ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วเปิดร้านขายสินค้าได้อย่างแน่นอน แต่อย่าลืมว่าหากแฟรนไชส์ซีไม่มีความเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่มีความอดทน ไม่มีทักษะการขาย ไม่ใส่ใจลูกค้า ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจ ดังนั้น ถ้ามีความเป็นเจ้าของธุรกิจ จะรู้ว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอด ไม่ขาดทุน หรือได้กำไร ต้องปรับธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์อย่างไร

ทั้งหมดเป็น 10 ข้อผิดพลาดที่แฟรนไชส์ซี เจ็บปวดมากที่สุด ใครที่ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว กำลังบริหารจัดการธุรกิจอยู่นั้น ลองสำรวจตัวเองก่อนว่า มี 10 ข้อผิดพลาดข้างต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้รีบปรับปรุงตัวเองโดยเร็วที่สุด ก่อนจะสายเกินแก้ครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ไม่ทำตามกฎ 
  2. ไม่รู้หน้าที่ของตน
  3. ไม่ลงมือทำเอง 
  4. คาดหวังสูงเกินไป
  5. ไม่ได้ทำบัญชีรับจ่าย
  6. ไม่เอาจริงเอาจัง
  7. ทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ได้ 
  8. ไม่พัฒนาบุคลากร 
  9. ไม่มุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ 
  10. ไม่มีความเป็นเจ้าของธุรกิจ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2W59puq

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช