10 ข้อผิดพลาดที่คนซื้อแฟรนไชส์ เจ็บสุด!

ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับคนที่อยากมีธุรกิจหรือกิจการเป็นของตัวเอง เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ได้วางระบบธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในระดับหนึ่ง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์มาเปิด จะประสบความสำเร็จเหมือนกันหมดทุกคน เนื่องจากในการทำธุรกิจนั้น มีความเสี่ยงและตัวแปรที่แตกต่างกันออกไป

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 10 ข้อผิดพลาด ของคนซื้อแฟรนไชส์ มาฝากผู้ที่กำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์มาสร้างอาชีพ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด และนำไปเป็นข้อมูลก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ครับ

10 ข้อผิดพลาด

1. ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ได้รับความนิยม

จุดเด่นของธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะประสบความสำเร็จ คือ ธุรกิจเหล่านี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปแล้วระดับหนึ่ง ทำให้ผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาบริหาร หรือแฟรนไชส์ซี สามารถต่อยอดทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยมีประเภทธุรกิจให้เลือกหลายหลายรูปแบบ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ บริการ โรงเรียนกวดวิชา จำนวนเงินทุนตั้งต้นก็แตกต่างกันไป ตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนถึงหลักล้านบาท ซึ่งปัจจุบันหลายๆ ธนาคารมักมีโครงการสินเชื่อสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะผู้สนใจจึงสามารถเข้าไปขอคำปรึกษาเรื่องเงินลงทุนธุรกิจจากธนาคารได้ แต่ถ้าซื้อแฟรนไชส์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ใครจะใช้บริการ

2. ไม่ได้ศึกษาโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์

ข้อหนึ่งที่สำคัญที่สุดก่อนจะเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องศึกษาถึงที่มาที่ไปของธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะซื้อให้ชัดเจนก่อน เพราะความต้องการของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกัน บางคนอยากทำร้านกาแฟ, ร้านขนม, ร้านอาหาร นอกจากนั้น ยังต้องตรวจสอบให้ดีอีกว่า ธุรกิจนั้นโอกาสการเติบโตในวันข้างหน้ามีแนวโน้มมากน้อยขนาดไหน จะได้ไม่เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า

23

3. ไม่มีความพร้อมในการบริหารธุรกิจ

เมื่อมีเงินในการเริ่มลงทุนแล้ว สิ่งที่ตามมาคือความพร้อมในการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจประเภทไหนก็ตาม ต้องอาศัยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และหมั่นศึกษาหาข้อมูลการทำธุรกิจ ติดตามข่าวสารยู่เสมอ ก็จะช่วยให้สามารถประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจนั้นๆ ได้ แต่ถ้าใครที่ไม่มีความในการทำธุรกิจ ซื้อไปเปิดแล้วเชื่อว่าเจ๊งแน่นอน

4. ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองไม่ได้ชอบ

ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองไม่ชอบ ทำไปแล้วไม่มีความสุข ถือเป็นความผิดพลาดของผู้ซื้อแฟรนไชส์ ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์ ควรจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ และศึกษาให้รอบด้านก่อน เช่น เป็นธุรกิจประเภทที่ชอบ หรือมีความสนใจหรือไม่ ยกตัวอย่าง การเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์ร้านกาแฟ เพราะปัจจุบันคนนิยมดื่มกาแฟกันมาก แต่ตัวเจ้าของธุรกิจเองไม่ดื่มกาแฟ กรณีแบบนี้ก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้

25

5. ไม่ศึกษาข้อกำหนดต่างๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์

ปัญหาข้อผิดพลาดในการซื้อแฟรนไชส์ไปบริหาร ที่มักส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไขส์ไปไม่รอด คือ การไม่ศึกษารายละเอียดและข้อกำหนดต่างๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์ให้ดีพอ เพราะธุรกิจในระบบแฟรนไชส์มักจะมีข้อกำหนดต่างๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์ ที่จะให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะเป็นการจัดร้าน สูตรและวัตถุดิบในการทำอาหารหรือเครื่องดื่ม รวมถึงวัตถุดิบที่อาจถูกกำหนดให้ซื้อโดยตรงจากแฟรนไชส์ซอร์ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจสูงขึ้นได้ หากไม่ศึกษาอาจเจ๊งได้

6. ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่มีความมั่นคง

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่มีความมั่นคง มักจะทำได้ไม่นาน เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเร็วและไปเร็ว หรือเรีกว่าเป็นธุรกิจกระแส ธุรกิจแฟชั่น เหมือนอย่างเช่น โรตีบอยในสมัยก่อน ทำได้ไม่กี่ปีก็ไม่ได้รับความนิยมแล้ว ตรงนี้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มักจะผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง ก่อนซื้อต้องมองว่าแฟรนไชส์ที่คุณสนใจมีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน เพราะแม้จะสามารถบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาได้ดี แต่ถ้าบริษัทแม่ต้องปิดตัวไป ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจของผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย ซึ่งการพิจารณาถึงความมั่นคงของธุรกิจนั้น อาจดูได้จากระยะเวลาการดำเนินการว่าทำมานานแค่ไหน เช่น ระยะเวลาการทำธุรกิจ 3-5 ปี มีสาขา 5 สาขาขึ้นไป

24

7. ไม่ได้สำรวจตลาดตลาดก่อนซื้อแฟรนไชส์

ถือเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่งใหญ่ หากคิดจะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ แล้วไม่ได้สำรวจตลาดและสอบถามผู้ซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจเดียวกันรายอื่นๆ ว่าผลการตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง ขายได้ไหม หรือทำไมเจ๊ง ดังนั้น ก่อนซื้อแฟรนไชส์คุณลองสอบถามเจ้าของแฟรนไชส์ว่า เคยเจอปัญหาหรืออุปสรรคอะไรมาบ้าง มีวิธีแก้ปัญหานั้นอย่างไร รวมถึงหาข้อมูลจากผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ในธุรกิจนั้นมาบริหาร ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เห็นภาพได้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะเลือกลงทุนมีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน ที่ผ่านมาผู้ซื้อแฟรนไชส์มักจะไม่ได้สนใจข้อนี้มากนัก ทำให้พลาดในการซื้อแฟรนไชส์

8. ขาดวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจ

แม้ว่าจะเป็นการซื้อแฟรนไชส์ ที่เจ้าของแฟรนไชส์ได้วางระบบการทำงานให้เสร็จสรรพทุกอย่าง แต่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจ รู้จักการวางแผนธุรกิจเช่นเดียวกับการทำธุรกิจของตัวเอง เมื่อคุณมีวิสัยทัศน์ คุณก็จะมองภาพในอนาคตว่า ธุรกิจนั้นจะเป็นอย่างไรในวันข้างหน้า หากไม่สามารถมองภาพได้ ปัญหาที่จะตามมา ก็คือ ไม่รู้ว่าจะปรับธุรกิจ หรือแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น การมีวิสัยทัศน์ที่ดีจะทำให้ การทำธุรกิจเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง และ ชัดเจน

26

9. ไม่มีการตรวจสอบสถานะของบริษัท

เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงก่อนที่คุณจะเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อตรวจสอบว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่คุณสนใจนั้น มีใครเป็นเจ้าของ, ผลประกอบการของธุรกิจเป็นยังไง, ใครเป็นผู้ถือหุ้นหรือแม้กระทั่ง ฐานะทางการเงินเป็นยังไง ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เฉพาะช่วยในการตัดสินใจ แต่ยังช่วยให้คุณรู้ว่า บริษัทมีความมั่นคงมากแค่ไหนที่คุณจะยอมลงทุนเพื่อทำธุรกิจ แต่ถ้าหากผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ทำการตรวจสอบบริษัทว่ามีความมั่นคงแค่ไหน อาจน้ำตาเช็คเข่าในภายหลัง เพราะอาจโดนหลอก

10. ซื้อแฟรนไชส์โดยที่ไม่ได้เห็นร้านค้า

ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ได้ย่อมต้องมีธุรกิจหรือร้านค้าที่เปิดขึ้นแล้ว ภาษาแฟรนไชส์เรียกว่า ร้านต้นแบบ เพราะถึงแม้ว่าจะมีบริษัทอยู่จริงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จนกว่าผู้ซื้อจะได้เข้าไปดูร้านค้าหรือร้านตัวอย่างที่เปิดดำเนินการขึ้นมาแล้ว ว่ามีคนมาใช้บริการหรือไม่ ถ้ามีจะมีมากน้อยเพียงใดในแต่ละวัน บริษัทมีร้านสาขาของตัวเองอยู่ที่ไหนบ้าง และมีร้านสาขาแฟรนไชส์อยู่ที่ไหนบ้าง ยิ่งหากมีโอกาสไปเยี่ยมชมมากเท่าไร ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็จะยิ่งได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองมากเท่านั้น

ทั้งหมดเป็น 10 ข้อผิดพลาดที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ เจ็บปวดมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วข้อผิดพลาดต่างๆ จะมีสาเหตุมาจากตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เอง ที่ไม่มีความระมัดระวังและรอบคอบในการซื้อแฟรนไชส์ สิ่งสำคัญต้องอย่าให้โดนหลอกลงทุนเป็นเท่านั้น รับรองว่าถ้าโดนหลอกเมื่อไหร่ จะเจ็บปวดสุดๆ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่ได้รับความนิยม
  2. ไม่ได้ศึกษาโอกาสของธุรกิจแฟรนไชส์
  3. ไม่มีความพร้อมในการบริหารธุรกิจ 
  4. ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองไม่ได้ชอบ 
  5. ไม่ศึกษาข้อกำหนดต่างๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์ 
  6. ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่มีความมั่นคง 
  7. ไม่ได้สำรวจตลาดตลาดก่อนซื้อแฟรนไชส์
  8. ขาดวิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจ
  9. ไม่มีการตรวจสอบสถานะของบริษัท
  10. ซื้อแฟรนไชส์โดยที่ไม่ได้เห็นร้านค้า

อ้างอิงจาก  https://bit.ly/35i82LP

plann01

ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช