10 ข้อต้องรู้ ก่อนขยายแฟรนไชส์ให้ธุรกิจคุณ

เจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจการหลายราย พอรู้ว่าธุรกิจหรือสินค้าของตัวเองได้รับความนิยมในตลาด จึงอยากขายแฟรนไชส์ เพราะคิดว่ามีคนมาซื้อสูตร

หรือซื้อแบรนด์ไปแล้ว ตัวเองก็ได้เงินกลับมา อีกทั้งขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว แต่ผู้ประกอบการธุรกิจที่คิดแบบนี้ ยังไม่รู้ว่าระบบแฟรนไชส์มียุ่งยากซับซ้อนมากกว่าที่คิด

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาบอกความรู้ให้เจ้าของธุรกิจ ที่มีสินค้าและบริการขายดิบขายดี จนมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดร้าน ว่าจะต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง ก่อนที่จะขยายธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์

1.เข้าใจภาพรวมของระบบแฟรนไชส์ อย่างแท้จริง

เจ้าของธุรกิจ

ผู้ประกอบการควรศึกษาหาความรู้ เรื่องแฟรนไชส์ให้เข้าใจอย่างแท้จริงเสียก่อน ว่ามีระบบระเบียบบริหารจัดการอย่างไร ปัจจุบันการศึกษาหาข้อมูลการทำธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ใช่เรื่องยาก

สามารถโทรปรึกษากับหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมที่จะให้องค์ความรู้ในการสร้างระบบแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐาน

2.สร้างแบรนด์ วางระบบการจัดการให้มีมาตรฐาน

o2

ก่อนจะเริ่มเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ธุรกิจต้องได้รับความนิยมมาในระดับหนึ่งแล้ว ดังนั้น การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำ วางแผนเตรียมความพร้อมในระบบการจัดการให้เป็นรูปแบบที่ชัดเจน สามารถทำได้โดยการขยายสาขาขึ้นเอง ทำร้านต้นแบบให้เป็นมาตรฐาน เพื่อศึกษารายละเอียดและผลตอบรับในทุกแง่มุม

หรือร้านต้นแบบนั้น อาจบริหารจัดการโดยผู้อื่น ที่ไม่ใช่เจ้าของแฟรนไชส์เอง เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าถ้ามีการขายแฟรนไชส์ และดำเนินกิจการตามรูปแบบที่วางไว้ จะมีโอกาสสร้างกำไรให้กับกิจการได้อย่างต่อเนื่องในร้านต่อๆ ไป

แล้วทำการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงความพร้อมในระบบ ให้ผู้ที่สนใจอยากลงทุนมีความเชื่อมั่น และตัดสินใจที่อยากจะลงทุนได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นการขยายสาขาแฟรนไชส์จากผู้ที่สนใจอยากจะมาลงทุน ก็ไม่ใช่เรื่องยาก

3.ค่าใช้จ่ายในกระบวนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์

o5

ผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องการสร้างธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ต้องรู้ก่อนว่า คุณไม่สามารถที่จะทำธุรกิจของคุณให้เป็นแฟรนไชส์ง่ายๆ ได้ด้วยตัวคุณเอง คุณจำเป็นต้องมีทีมงานที่ปรึกษา

หรือทนายที่มีความรู้เรื่องกฎหมาย และความรู้เรื่องธุรกิจแฟรนไชส์เข้ามาช่วยเหลือ อย่างน้อยถ้าคุณไม่รู้เรื่องกฎหมายหรือสัญญาแฟรนไชส์ที่จะร่างขึ้นมา ก็สามารถใช้บริการทีมกฎหมายหรือทนายเขียนร่างสัญญาแฟรนไชส์ให้กับคุณได้

นอกจากนี้ กระบวนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในด้านการสร้างแบรนด์ การทำตลาด การสร้างทีมงาน การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การสร้างสาขาต้นแบบ เป็นต้น นอกจากนี้คุณยังต้องเข้าอบรมธุรกิจแฟรนไชส์โดยเฉพาะ

เพื่อสร้างมาตรฐานให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ มีการนำธุรกิจให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณสมบัติ ตรวจสอบคุณมาตรฐานว่าเหมาะที่จะทำเป็นแฟรนไชส์ได้ไหม ดังนั้น ทุกกระบวนการและขั้นตอนอาจต้องมีค่าใช้จ่ายไม่มากก็น้อยครับ

4.ประมาณการโครงสร้างทางการเงิน

o4

เมื่อมีร้านต้นแบบแล้ว สิ่งต่อมา คือ การประเมินการโครงสร้างทางการเงินเช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่

โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี และคุ้มหรือไม่ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้ ร้านต้นแบบจะทำให้เจ้าของแฟรนไชส์เห็นภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้ จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และ ค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) เป็นต้น

5.สร้างมาตรฐาน ทำคู่มือ อบรม ตรวจสอบ

o3

ควรทำคู่มือการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ที่มาลงทุน เพราะการถ่ายทอดธุรกิจทั้งระบบ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันคงเป็นไปได้ยาก ฉะนั้นการมีคู่มือแนะนำ วิธีการแก้ปัญหา หรือการจัดอบรมก่อนเริ่มต้นธุรกิจ

ถือเป็นการเตรียมความพร้อม และลดความเสี่ยงให้เจ้าของแฟรนไชส์ และผู้ที่มาลงทุนเช่นกัน หลังจากเริ่มต้นธุรกิจแล้ว ควรมีการตรวจสอบมาตรฐานของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ให้ได้ตามมาตรฐานที่วางไว้ พร้อมเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาแนะนำอยู่เสมอ

6. ค่าธรรมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ

rr

เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์หลายราย มักประสบความล้มเหลว เพราะมัวแต่ไปคาดหวังผลกำไร จากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าสิทธิ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าการตลาด ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์จากแฟรนไชส์ซี

โดยที่ไม่ได้ดูว่าตัวเองได้สร้างแบรนด์ ได้ทำการตลาดให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเอง เป็นรู้จักของตลาดและผู้บริโภคในวงกว้างหรือเปล่า ยิ่งคุณไปเก็บค่าแฟรนไชส์แรกเข้ากับผู้ซื้อแฟรนไชส์เยอะ หากเขาขายไม่ได้ก็จะเสียระบบ

หากเจ้าของแฟรนไชส์ต้องการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) รวมถึงค่าสิทธิ (Royalty Fee) ที่เก็บจากยอดการขายเป็นรายเดือนหรือรายปีจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ในจำนวนที่สูง คุณก็จะต้องมีแบรนด์ มีการทำตลาดให้ธุรกิจเป็นที่รับรู้ ว่านักลงทุนซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว ขายได้แน่นอน

อย่างเช่นกรณี แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-11, รวมถึงร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแบรนด์อเมริกา ที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิ์ รวมถึงค่าการตลาดสูง เพราะเป็นแฟรนไชส์ลงทุนแล้วมีตลาดรองรับแน่นอน

7.การจดทะเบียน และรักษาสิทธิ์เครื่องหมายการค้า / บริการ

o7

เครื่องหมายการค้า เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ควบคู่ไปกับการให้สิทธิ์ ดังนั้น เมื่อธุรกิจของแฟรนไชส์ ได้ผ่านการดำเนินการมา ระยะเวลาหนึ่ง ตราสินค้าหรือเครื่องหมายทางการค้าของแฟรนไชส์ ย่อมเป็นที่คุ้นเคยและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งจากผู้บริโภค

ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี ก็ย่อมได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้า ที่ได้รับการยอมรับในตลาดไปด้วย ทำให้ธุรกิจของแฟรนไชส์ซีเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องสร้างเครื่องหมายการค้าใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว

แต่ทั้งนี้ แม้ว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ จะให้สิทธิ์แฟรนไชส์ซีใช้เครื่องหมายการค้าได้ แต่ก็สามาระเรียกคืนเครื่องหมายการค้านั้นๆ กลับคืนจากแฟรนไชส์ซีได้ หากกรณีแฟรนไชส์ซีไม่ทำตามกฎระเบียบ ไม่ทำตามข้อปฏิบัติในสัญญาแฟรนไชส์

8.คัดเลือกผู้ลงทุนหรือแฟรนไชส์ซี

o8

การทำธุรกิจแฟรนไชส์ไม่เหมือนกับการลงทุนในหุ้นทั่วๆ ไปที่เอาเงินมาซื้อก็จบกันไป แฟรนไชส์ซีนอกจากจะลงทุนด้วยเงินแล้ว ยังต้องลงทุนด้วยแรงกาย แรงใจ

และความทุ่มเทในการบริหารจัดการร้านให้ประสบความสำเร็จ มีความรู้ความเข้าใจระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างดี อีกทั้งยังต้องไว้วางใจแฟรไชส์ซอร์ด้วย ดังนั้น แฟรนไชส์ซีที่เลือกเข้ามาต้องมีมาตรฐานด้วย อย่าเลือกเอาคนที่มีเงินลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ

9.การให้การสนับสนุนและบริหารสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

11

เมื่อคุณทำธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์แล้ว ก็ยังต้องเรียนรู้เข้าใจเรื่องการบริหารสาขาแฟรนไชส์ซี ระบบการให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ เพื่อให้เติบเติบโตไปด้วยกัน

มีการสร้างเอกสารต่างๆ เพื่อการบริหารงานแฟรนไชส์ แล้วยังต้องรู้วิธีการที่จะช่วยเหลือแต่ละสาขา จากสภาวะการแข่งขัน ทำอย่างไรจึงจะสู้กับคู่แข่งได้

การบริหารงานทีมงานหรือเรื่องของวิธีการขยายธุรกิจ พร้อมกับเทคนิคการขายธุรกิจแฟรนไชส์ก็ยิ่งต้องเรียนรู้ ไม่อย่างนั้นสร้างแฟรนไชส์ มีทั้งระบบ มีทั้งวิธีการที่ดี ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูงทั้งนั้น

ถ้าหากพอถึงเวลาขายแฟรนไชส์ คุณต้องขายเป็น คัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็น ไม่พอเท่านั้น การที่คุณเริ่มสร้างแฟรนไชส์ได้มากสาขา ปัญหาที่ตามมาคือ จะรักษามาตรฐานของธุรกิจไว้ได้อย่างไร ยิ่งมากคน ก็ยิ่งมีวิธีการทำงานที่แตกต่าง ซึ่งเทคนิคการตรวจสอบ การบริหารคุณภาพ ก็จำเป็นที่ต้องเรียนรู้เข้าใจไปด้วย

10.มีความเข้าใจในเรื่องบัญชีและภาษีแฟรนไชส์

o9

การขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์ อาจเกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ เช่น การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการ ประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร การจ้างลูกจ้าง การจัดหาสถานที่ตั้ง การจ่ายค่าแฟรนไชส์ พูดง่ายๆ คือ หากเกิดการซื้อขายและมีรายได้เข้ามาบริษัท

โดยหลักๆ แล้ว ทุกๆ ฝ่ายจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่ลงทุนสูง ค่าแฟรนไชส์แพง ทั้งแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ต่างมีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมา

ทั้งหมดเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจควรจะรู้ไว้ ก่อนที่จะสร้างธุรกิจของตัวเองสู่ระบบแฟรนไชส์ เพราะเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องบริการจัดการธุรกิจของตัวเองแล้ว ยังต้องให้การสนับสนุนสาขาร้านแฟรนไชส์ให้เติบโตควบคู่กันไปด้วย


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

v1

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/rA1K51
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน goo.gl/RfxhUr

Franchise Tips

  1. เข้าใจภาพรวมของระบบแฟรนไชส์ อย่างแท้จริง
  2. สร้างแบรนด์ วางระบบการจัดการให้มีมาตรฐาน
  3. ค่าใช้จ่ายในกระบวนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์
  4. ประมาณการโครงสร้างทางการเงิน
  5. สร้างมาตรฐาน ทำคู่มือ อบรม ตรวจสอบ
  6. ค่าธรรมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ
  7. การจดทะเบียน และรักษาสิทธิ์เครื่องหมายการค้า / บริการ
  8. คัดเลือกผู้ลงทุนหรือแฟรนไชส์ซี
  9. การให้การสนับสนุนและบริหารสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
  10. มีความเข้าใจในเรื่องบัญชีและภาษีแฟรนไชส์

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช