10 ข้อควรรู้ก่อนลุยเปิดตลาดการค้าในกัมพูชา

หลังจากกัมพูชาเลื่อนสถานะเป็นประเทศรายได้ปานกลางเมื่อเดือน ก.ค. 2016 ที่ผ่านมา ประเทศที่มี อารยธรรมโบราณ เเห่งหนึ่งของโลกตั้งเป้าโตเร็วทางเศรษฐกิจ พร้อมเปิดโอกาสให้ลงทุนเเบบ “ผ่อนปรน”สุดขีด

เพื่อดึงดูดนักธุรกิจต่างชาติรวมกับประโยชน์จากการเปิด AEC ก็ล้วนแต่ทำให้ทิศทางของกัมพูชานั้นมีความน่าสนใจมากขึ้นและเป็นเป้าหมายสำคัญของเหล่านักธุรกิจทั้งหลายด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงได้นำ10ข้อควรรู้ก่อนบุกตลาดกัมพูชามาฝากเป็นแนวทางให้ได้ทราบกันสักเล็กน้อย

อารยธรรมโบราณ

1.สินค้าวัยรุ่นน่าสนใจเปิดตลาด

พลเมืองชาวกัมพูชามีอายุต่ำกว่า 30 ปี ถึงร้อยละ 65 ดังนั้นการจะตีตลาดกัมพูชาได้อย่างเต็มรูปแบบจึงจะต้องเจาะไปที่สินค้าที่โดนใจวัยรุ่นและวัยทำงานเช่น สินค้าความสวยความงาม เสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องสำอาง โดยเฉพาะขนมขบเคี้ยวที่เป็นสินค้าที่ชาวกัมพูชานิยมมากที่สุดในเวลานี้

2.ข้อบังคับในการทำธุรกิจไม่ยุ่งยาก

เพิ่มความง่ายในธุรกิจขนมขบเคี้ยวเมื่อกัมพูชาไม่มีข้อบังคับเรื่องฉลากและแพ็กเกจ โดยเจ้าของผลิตภัณฑ์สามารถพิมพ์ฉลากเป็นภาษาไทยและนำเข้าไปขายในกัมพูชาได้เลย ไม่ต้องใช้ภาษาเขมร รูปแบบแพ็ตเกจจิ้งใดที่ขายแล้วรุ่งในไทย…ก็ใช้แบบเดียวกันนำไปขายได้

bn5

3.สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ

รูปแบบการเข้าไปประกอบธุรกิจในกัมพูชาเป็นได้ทั้งกิจการเจ้าของคนเดียว,ห้างหุ้นส่วนสามัญ/จำกัด,บริษัทเอกชน(คนเดียวเอกชนมหาชน),บริษัทต่างชาติ(สนง.ตัวเเทนสาขาบริษัทลูก)โดยชาวต่างชาติเป็นเจ้าของได้ 100% จ้างชาวต่างชาติได้ 10%ประกอบธุรกิจได้เเทบทุกประเภท ไม่มีการควบคุมราคาเเละไม่มีกำหนด local content

4.ธุรกิจประดับยนต์ก็น่าสนใจ

การขนส่งและคมนาคมในกัมพูชามีการเจริญเติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะในพนมเปญ และเสียมราฐกัมพูชา จึงมีการสร้างบ้านและลุยโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศโดยมองว่าธุรกิจ “ประดับยนต์” จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มาก อานิสงค์จากการที่คนหันมาใช้รถยนต์ในประเทศมากขึ้น

5.สินค้าที่ทำตลาดยากคืออาหารแช่แข็ง

สินค้าที่ทำตลาดค่อนข้างยากในกัมพูชาตอนนี้คือ “อาหารแช่แข็ง” เนื่องจากกัมพูชามีค่าไฟฟ้าที่แพงกว่าไทยถึง3 เท่า ทำให้ร้านโชห่วยส่วนใหญ่ในประเทศไม่มีตู้เย็น ใช้ตู้น้ำแข็งแทนนอกจากจะไปทำตลาดในซูเปอร์มาร์เก็ต SMEs รายย่อยในไทย

ควรเจาะตลาดกัมพูชาด้วยการไปพร้อมๆกับ “ปั้ม ปตท.” ที่ตั้งเป้าขยายสาขาในปี 2021 ให้ได้ถึง 90 สาขา, “คาเฟ่อเมซอน” ตั้งเป้าโตถึง 200 สาขาในปี 2021 และ “จิฟฟี่” โดยกัมพูชายังไม่มีเชนสโตร์เจ้าใหญ่มาเปิดเเละจิฟฟี่จะเป็นเชนสโตร์เจ้าแรกที่เข้าไปตีตลาดกัมพูชา

bn2

6.การตั้งราคาคือเสน่ห์ที่น่าลงทุน

การตั้งราคามีความน่าสนใจเพราะธุรกิจไทยที่เข้าไปทำตลาดกัมพูชาจะแพงกว่าไทยราว 20-50 % เช่นราคาบะหมี่ของชายสี่บะหมี่เกี๊ยวขายในไทย 40 บาทแต่ถ้าไปขายในกัมพูชาราคาจะสูงถึง 80 บาท

7.ค่าเช่าพื้นที่ในกัมพูชายังไม่แพง

ธุรกิจSMEs เติบโตได้ดีเพราะค่าเช่าที่ไม่แพงโดยท่ามกลางกระเเสห้างสรรพสินค้าในกัมพูชากำลังผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดSMEs ไทยสามารถไปเปิดบูทร้านค้าได้อย่างสะดวก ซึ่งมีค่าเช่าที่ราว 20-50เหรียญสหรัฐต่อตารางเมตร ส่วนการเข้าไปเซ้งหรือเช่าตึก จะมีค่าเช่าตก 1,000-3,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน

8.นักธุรกิจมีความร่วมมือต่อกันเป็นอย่างดี

มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันของนักธุรกิจไทยในกัมพูชาโดยทุกวันพฤหัสบดีของทุกเดือน โดยจะมีนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในกัมพูชา แลกเปลี่ยนข้อมูลพร้อมโปรโมตสินค้าว่ามีผลิตภัณฑ์ใหม่อะไรบ้างที่จะนำมาขายในกัมพูชาเกิดการไหลเวียนของข้อมูลและช่วยเหลือกัน

นอกจากนี้ยังมีสถานทูตไทยในกัมพูชาให้การสนับสนุนพร้อมให้ข้อมูลเป็นศูนย์ซัพพอร์ตเว็นเตอร์ที่นักธุรกิจไทยสามารถนัดลูกค้ามาพูดคุยได้โดยทางสถานทูตบริการเปิดห้องประชุมให้

bn4

9.มีความปลอดภัยสบายใจหายห่วง

กัมพูชาเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยโดยแม้ว่าจะมีการต่อสู้ทางการเมืองบ้างแต่รัฐบาลฮุนเซนก็กุมอำนาจไว้ได้ จึงทำให้สถานการณ์ไม่ได้รุนแรง

10.ใช้เงินดอลลาร์แพร่หลายง่ายต่อการทำธุรกิจ

กัมพูชามีการใช้เงินดอลล่าร์อย่างแพร่หลาย โดยนอกจากเงินทอนเล็กน้อยค่าสาธารณูปโภคและภาษีนิติบุคคลเท่านั้น ที่เราต้องจ่ายเป็นเงินเรียลเพราะฉะนั้นทำเท่าไหร่ก็เอากลับไทยได้หมด ไม่ต้องรายงานทางการกัมพูชาให้ยุ่งยากอีกด้วย

สิ่งสำคัญในการเปิดตลาดอาเซียนคือต้องเข้าใจในประเพณีและความต้องการสินค้าของคนในท้องถิ่นแม้ว่าแถบอาเซียนนี้ชีวิตความเป็นอยู่ ความต้องการของผู้คนจะคล้ายคลึงกันแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมือนกันทั้งหมด การหาจุดที่แต่ละประเทศมีความต้องการแ และการทราบข้อจำกัดเบื้องต้นในการทำธุรกิจจะช่วยให้การเปิดตลาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S

ขอบคุณรูปภาพจาก goo.gl/rV67Wg

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช