10 ข้อควรปฏิบัติ เริ่มต้นธุรกิจในฐานะ “แฟรนไชส์ซอร์”

เชื่อว่าผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการหน้าใหม่หลายคน อาจเกิดอาการตื่นเต้น หากวันหนึ่งร้านของคุณขายดิบขายดี จนมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ ทั้งที่ในใจอยากจะขายให้ในตอนนั้นเลย ประกอบกับตนเองก็ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงดี เพราะไม่รู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ ว่าขั้นตอนต่างๆ เขาทำกันอย่างไร ต่อไปนี้ผู้ประกอบการธุรกิจอย่าตกใจ หายใจเข้าปอดลึกๆ ยิ้มปั้นหน้าเอาไว้ 

เพราะวันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาบอก 10 ข้อควรปฏิบัติ ในการเริ่มต้นธุรกิจในฐานะผู้ขายแฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซอร์ หากเกิดว่าวันหนึ่งข้างหน้าร้านของคุณขายดี จนมีคนมาขอซื้อแฟรนไชส์ไปดำเนินธุรกิจ ลองมาดูพร้อมกันเลยว่า เราจะเริ่มต้นยังไง ก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ในฐานะแฟรนไชส์ซอร์ และถ้าขายแฟรนไชส์แล้วจะต้องทำอะไร ยังไงบ้างครับ

1. ศึกษาหาความรู้เรื่องแฟรนไชส์

10 ข้อควรปฏิบัติ

แน่นอนว่า ถ้าคุณทำแฟรนไชส์โดยไม่มีความรู้จริง ก็ย่อมไม่สำเร็จ เพราะระบบแฟรนไชส์มีความซับซ้อน มีองค์ประกอบหลายอย่าง อาทิ แฟรนไชส์ซี การเงินบัญชี ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิ ค่าการตลาด คู่มือแฟรนไชส์ สัญญาแฟรนไชส์ การสนับสนุนแฟรนไชส์ ฯลฯ ดังนั้นหากคุณต้องการเริ้มต้นด้วยการขายแฟรนไชส์

ขั้นตอนแรกต้องมีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์เสียก่อน ซึ่งปัจจุบันได้มีหลายหน่วยงานให้คำปรึกษา รวมถึงจัดอบรมเรื่องการสร้างระบบแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง ทุกๆ ปี หรือบางหน่วยงานอาจจัดอบรมให้ความรู้เรื่องแฟรนไชส์เป็นประจำทุกเดือน

สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ สตาร์ทอัพ https://bit.ly/2Y6aTED

6

2. ประเมินธุรกิจและตลาด

ใช่ว่าทุกกิจการคิดจะขายแฟรนไชส์ก็ขายได้ทันที กิจการที่จะขายแฟรนไชส์ได้นั้น ต้องมีความพร้อมในระดับหนึ่ง คือต้องเป็นกิจการที่มีกำไรมาแล้ว มีร้านสาขาอยู่บ้าง และมีอายุธุรกิจนานพอที่จะเอาประสบการณ์มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ ที่สำคัญเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ดี มีการซื้อซ้ำ และไม่มีคู่แข่งในตลาดจำนวนมาก มีแนวโน้มเติบโต

ดังนั้น ก่อนที่เจ้าของกิจการจะคิดขายแฟรนไชส์ ต้องมีการวิเคราะห์ตลาดและผู้บริโภค รวมถึงประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจตัวเองว่า พร้อมหรือยังและอยู่ในระดับใด ไม่เป็นสินค้ากระแส ซึ่งการขายแฟรนไชส์โดยที่ยังไม่พร้อม จะไม่สำเร็จ และจะเกิดปัญหามากมายตามมา จนต้องกลับไปสู่จุดเริ่มต้นใหม่ หรือเลิกไปเลย อย่างที่เคยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

3. สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์

5

ภาพจาก facebook.com/YojiHardWare

ทุกกิจการย่อมต้องพัฒนาตลอดเวลา ดังนั้น ก่อนการขายแฟรนไชส์ จะต้องมีการจัดระเบียบการดำเนินงานร้านเสียก่อน ส่วนที่ดีอยู่แล้ว ก็กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานการทำงาน สิ่งที่ยังไม่ดีก็จัดระเบียบใหม่ เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐาน เพื่อให้ร้านต่อไปได้ปฏิบัติตามให้เป็นรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้ได้คุณภาพสินค้า การบริการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เหมือนกันทุกร้าน

ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า ทำเป็นร้านต้นแบบ หรือสร้างเป็นร้านตัวอย่างในแบบที่ต้องการขายแฟรนไชส์ เพื่อศึกษารายละเอียดและผลตอบรับในทุกแง่มุม ถ้าจะให้ดีให้ร้านต้นแบบอาจบริหารจัดการโดยผู้อื่น ที่ไม่ใช่คุณเป็นเจ้าของร้าน เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าถ้ามีการขายแฟรนไชส์ และดำเนินกิจการตามรูปแบบที่วางไว้ จะมีโอกาสสร้างกำไรให้กับกิจการได้อย่างต่อเนื่องในร้านต่อๆไป

4. วางโครงสร้างทางการเงิน

ร้านต้นแบบนี้ จะนำมาใช้วางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือน อยู่ที่ตัวเลขประมาณการเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี และคุ้มไหม ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้

ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้ จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย

5. สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก

4

ภาพจาก facebook.com/MaruChaoffice

หน้าที่สำคัญของผู้ขายแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์ ก็คือการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งก็เท่ากับเป็นการสร้างรายได้เข้าให้กับบริษัทแม่เอง หลายคนเดินผิดทาง มีจุดหมายขายแฟรนไชส์ เพื่อหวังค่าธรรมเนียมแรกเข้าอย่างเป็นกอบเป็นกำ โดยไม่ได้เอาใจใส่ในการทุ่มทุน ทุมแรงในการสร้างแบรนด์ และทำการตลาดให้สินค้า-บริการของตัวเองให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในวงกว้าง

ซึ่งจะนำมาสู่ยอดขายที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอให้กับร้านแฟรนไชซี่ และเป็น Key Success ที่จะย้อนกลับมาที่บริษัทแม่อย่างมั่นคงกว่าในรูปของค่าธรรมเนียมรายเดือน ซึ่งรายได้ที่แท้จริงจากการทำระบบแฟรนไชส์ บริษัทผู้ขายแฟรนไชส์ส่วนมาก ที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน เพราะขาดทักษะในการสร้างแบรนด์ หรือการทำการตลาดเพื่อสร้างเม็ดเงินเข้าร้านอย่างต่อเนื่อง

6. วางแผนการขยายธุรกิจ

เจ้าของกิจการที่จะขายแฟรนไชส์ จะต้องมีแผนการอยู่ในใจว่าต้องการขยายธุรกิจอย่างไร เช่น เปิดเพิ่มในปีหน้า 100 สาขา หรือ 2 สาขา จะเห็นว่า การตั้งเป้าหมายทั้ง 2 แบบนี้ต่างกันสุดขั้ว การวางเป้าหมายมีความสำคัญ

สำหรับกำหนดทิศทาง ว่ากิจการจะเดินไปอย่างไร จะทำอะไรบ้าง แค่ไหน อย่างไร เช่น การใช้งบการตลาด การเตรียมสรรหาพื้นที่ การจัดเตรียมบุคลากร การหาเงินทุน การทำการตลาดเพื่อขายแฟรนไชส์ เป็นต้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางเอาไว้

7. จัดทำคู่มือแฟรนไชส์

3

ภาพจาก facebook.com/worldwidecoffeegroup

คู่มือการดำเนินธุรกิจ คือ หัวใจของระบบแฟรนไชส์ และเป็นกระบวนการที่ต้องมี หากเจ้ากิจการคิดอยากจะขายแฟรนไชส์ เพราะเป็นแนวทางปฏิบัติในการถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจที่มีมานานนับ 10 ปีให้แก่ผู้อื่นได้อย่างไร

และจะควบคุมการทำงานให้ราบรื่น มีมาตรฐานเดียวกันทุกแห่งได้อย่างไร คุณต้องจัดทำคู่มือดำเนินงาน สร้างระบบการอบรม ทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติ ตามคู่มือที่กำหนดไว้ รวมไปถึงการสร้างระบบตรวจสอบ เพื่อควบคุมมาตรฐานของร้านตามที่กำหนดไว้

8. จัดทำสัญญาแฟรนไชส์

สิ่งที่ต้องทำอีกเมื่อจะขายแฟรนไชส์ ก็คือ การทำสัญญาแฟรนไชส์ การทำเอกสารและสื่ออื่นๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์ การทำการตลาดสรรหาแฟรนไชส์ซี การคัดเลือกแฟรนไชส์ การสรรหาทำเลเปิดร้าน การสร้างร้าน และการอบรม ซึ่งขั้นตอนนี้เจ้าของธุรกิจอาจจะต้องหาทีมงานที่ปรึกษาที่มีความรู้เรื่องกฎหมายแฟรนไชส์ กฎหมายทางธุรกิจเข้ามาช่วยเหลือ

เมื่อมีการขายแฟรนไชส์ไปแล้ว สิ่งที่ต้องทำก็คือ การเปิดร้าน การเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงานช่วงเริ่มต้น และสร้างระบบการสนับสนุนที่ต่อเนื่อง รวมไปถึงพัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะสินค้าและการบริการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อเป็นสนับสนุนให้แฟรนไชส์ซีหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์จากคุณ มีลูกค้าและรายได้อย่างมั่นคง

9. การทำตลาดและขายแฟรนไชส์

2

ถือเป็นขั้นตอนสำคัญของแฟรนไชส์ซอร์ พราะเป็นวิธีการนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ให้แก่นักลงทุนที่สนใจเปิดแฟรนไชส์ เจ้าของกิจการอาจใช้ท่องทางการโปรโมทผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง สื่อสารผ่านไลน์ เฟซบุ๊ก รวมถึงออกบูธแสดงสินค้าแฟรนไชส์ รวมถึงโฆษณาประชาสัมพันธ์ธุรกิจแฟรนไชส์ผ่านสื่อออนไลน์ ทีวี รวมถึงโอเพ่นเฮ้าท์ เป็นต้น

10. การสนับสนุนแฟรนไชส์ซี

1

ภาพจาก facebook.com/crepesaday

นับว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของแฟรนไชส์ซอร์ หลังจากขายแฟรนไชส์ให้แก่นักลงทุนได้แล้ว การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีจะเป็นในรูปแบบ การทำตลาดส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการใหม่ๆ การจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบ การให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจ แนะนำช่องทางการขายใหม่ๆ การจัดโปรโมชั่น การออกผลิตภัณฑ์และเมนูใหม่ๆ เพื่อสร้างยอดขาย

ได้เห็นกันแล้วใช่ไหมครับ ถ้าเกิดมีใครอยากซื้อแฟรนไชส์จากคุณไปลงทุน ไม่ต้องตื่นเต้น ยิ้มเข้าไว้ คิดเสียว่าของๆ เราดี จนมีคนอยากซื้อแฟรนไชส์ หลังจากนั้นอย่างแรกค่อยเริ่มต้นหาความรู้เรื่องแฟรนไชส์อย่างลึกซึ้ง จากองค์กร หน่วยงานต่างๆ ที่จะจัดอบรมเรื่องการสร้างธุรกิจแฟรนไชส์ หรือโทรสอบถามรายเอียดการอบรมสัมมนาแฟรนไชส์จาก ฝ่ายอบรมสัมมนาของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้ที่ โทร. 02-1019187 แล้วเจ้าของธุรกิจทุกๆ ท่านจะรู้ลึกซึ้งเรื่องแฟรนไชส์ครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ศึกษาหาความรู้เรื่องแฟรนไชส์
  2. ประเมินธุรกิจและตลาด
  3. สร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  4. วางโครงสร้างทางการเงิน
  5. สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก
  6. วางแผนการขยายธุรกิจ
  7. จัดทำคู่มือแฟรนไชส์
  8. จัดทำสัญญาแฟรนไชส์
  9. การทำตลาดและขายแฟรนไชส์
  10. การสนับสนุนแฟรนไชส์ซี

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2UpXiHc

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช