10 เหตุผลสำคัญ ทำไมร้านอาหารเจ๊งไว ภายในปีแรก!
ธุรกิจร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่คนรุ่นใหม่ใฝ่ฝันอยากจะมี แต่ก็เป็นประเภทธุรกิจที่มีอัตราการเจ๊งสูงมากเช่นกัน โดยเฉพาะในปีแรกของการเปิดร้าน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอ 10 เหตุผลสำคัญ ว่าทำไมร้านอาหารถึงไปไม่รอด ภายในปีแรก
ภาพจาก freepik
1. เจ้าของขาดประสบการณ์
ส่วนใหญ่เจ้าของร้านอาหารที่เปิดใหม่ไม่มีประสบการณ์ในการทำร้านอาหารมาก่อน เจ้าของถือเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ร้านสำเร็จหรือล้มเหลว หลายๆ ร้านที่ต้องปิดตัว เพราะเจ้าของขาดความรู้ ความชำนาญในธุรกิจอาหารและแทนที่จะว่าจ้างที่ปรึกษามืออาชีพเข้ามาช่วย กลับเลือกที่จะทำทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด บางครั้งก็สายเกินไปเสียแล้ว
2. ปัญหาเรื่องคน
ในธุรกิจร้านอาหารพนักงานเสิร์ฟและพ่อครัวสามารถส่งผลกระทบได้โดยตรงกับธุรกิจ การลืมใส่วัตถุดิบที่สำคัญหรือไม่ได้ทำตามขั้นตอนแค่ครั้งเดียว อาจส่งผลให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจและไม่กลับมาที่ร้านอีกเลย นี่ยังไม่รวมถึงปัญหาการขาดลามาสาย หรือลาออกของพนักงานที่ไม่สามารถคาดเดาได้อีก ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้าน
ภาพจาก freepik
3. เลือกทำเลและตลาดผิด
เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มเปิดร้านแล้วพบว่าทำเลที่เลือกไว้ไม่ดีหรือไม่เหมาะกับธุรกิจของคุณ คุณจะไม่สามารถย้ายร้านคุณไปตั้งที่อื่นๆ ได้เลย สิ่งที่ทำได้คือเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้เหมาะกับทำเลนั้นๆ ไปเลย นอกจากนี้ร้านที่ไม่มีที่จอดรถ มองเห็นไม่ชัดจากถนน อยู่ในห้างที่ไม่มีคน หรือมีค่าเช่าที่แพงเกินไป ก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ร้านอาหารไปไม่รอดเช่นกัน
4. ขาดจุดขายที่แตกต่าง
ร้านคุณไม่ได้เป็นตัวเลือกเดียวในตลาด ลูกค้าไม่มีความจำเป็นต้องขับรถมาไกลๆ เพื่อมากินอาหารที่เขาสามารถหากินที่ใดก็ได้ การที่ร้านของคุณขาดความแตกต่างกับร้านอื่นในตลาด นอกจากทำให้ลูกค้าสนใจแต่เรื่องราคาแล้วนั้น ยังทำให้ยากต่อการทำการตลาด เพราะคุณก็จะไม่รู้ว่าจะเอาจุดใดมาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้าน
ภาพจาก freepik
5. รสชาติไม่อร่อยและไม่คงที่
ไม่ว่าคุณจะแต่งร้านดีแค่ไหน บริการดีอย่างไร แต่หากอาหารของคุณไม่อร่อยในสายตาของลูกค้าแล้วนั้น สิ่งที่คุณพยายามมาทั้งหมดก็ไร้ความหมาย หลายๆ ร้านมักตกม้าตายในเรื่องนี้ เพราะคิดว่ารสชาติที่ทำอร่อยอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว แต่กลับลืมไปว่าอร่อยในมุมของเจ้าของกับอร่อยในมุมลูกค้านั้น อาจไม่เหมือนกัน นอกจากเรื่องของความอร่อยแล้ว การที่ลูกค้ามากินอาหารแต่ละครั้ง แล้วรสชาติไม่เหมือนเดิมก็ย่อมทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงการขาดมาตรฐานในการทำงานได้เช่นกัน
6. คุมค่าใช้จ่ายไม่ได้
ร้านอาหาร โดยเฉพาะร้านอาหารบุฟเฟต์ มักจะหลงลืมการควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ ส่งผลให้ตัวเลขในสิ้นเดือนขึ้นตัวแดง หรืออาจจะมีกำไรน้อยกว่าที่ควรจะเป็น สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการควบคุมต้นทุนวัตถุดิบหรือ food costs ไม่ได้ ค่าเช่าที่แพงมากเกินไป นอกจากนี้อาจเกิดจากค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่มากเกินความจำเป็น เช่น ค่าเดินทาง ค่าซ่อมแซม ฯลฯ
ภาพจาก freepik
7. ขาดระบบบริหารจัดการ
เจ้าของร้านไม่ใช่ซุปเปอร์แมนที่จะสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวคนเดียว การที่ภาระทุกอย่างตกอยู่กับเจ้าของร้าน ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ทำร้านอาหารมาก่อน ย่อมมีโอกาสทำให้ร้านอาหารเกิดการสะดุดและเจ๊งได้ในที่สุด
8. ขาดการทำการตลาดที่ดี
ถ้าคุณรับช่วงต่อร้านอาหารจากรุ่นพ่อรุ่นแม่พร้อมกับชื่อเสียงของร้าน ที่สั่งสมมานานก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าคุณเริ่มต้นทำร้านอาหารเอง อย่าคิดแค่ว่าอาหารอร่อยยังไงก็ขายได้ เพราะถ้าลูกค้าไม่รู้ว่ามีร้านของคุณอยู่ อาหารของคุณจะดีแค่ไหนก็คงไม่มีประโยชน์ หลายๆ ร้านต้องปิดตัวลง เพียงเพราะลูกค้าไม่รู้ว่ามีร้านนี้อยู่ การทำการตลาดในปัจจุบันนั้นมีหลายวิธีการ การตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยทำให้ร้านคุณเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้
ภาพจาก freepik
9. บริการลูกค้าไม่ดี
ลูกค้าไม่ได้เข้ามาร้านเพราะต้องการแค่อาหารเท่านั้น สิ่งที่จะทำให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ดีนั้น มีตั้งแต่การบริการที่ดี รวมไปถึงการตกแต่ง บรรยากาศ และความสะอาดด้วย จงจำไว้เสมอ ไม่ใช่ลูกค้าทุกคนที่ให้โอกาสร้านอาหารเป็นครั้งที่สอง หลายร้านที่ทำอาหารได้อร่อยแต่มาตกม้าตาย เพราะพนักงานบริการไม่ดี หรือเสิร์ฟอาหารได้ช้าก็มีมาแล้ว
10. ค่าเช่าสูงเกินไป
ถ้าวางแผนหรือสำรวจราคาค่าเช่ามาไม่ดี หรือ ไปเช่าร้านที่ใหญ่เกินตัว เช่น. ไปเช่าอาคารพาณิชย์ทั้งตึกแต่ตัวเองใช้พื้นที่แค่ชั้นล่าง แบบนี้ไม่ make sense ต้องไม่ลืมว่าค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ นอกเหนือจากค่าแรงพนักงาน ถ้า 3-4 เดือนแรก feedback ไม่ดี ม้วนเสื่อได้เลย นอกจากว่า คุณจะมีพื้นที่ของคุณเอง
นั่นคือ 10 เหตุผลสำคัญ ทำไมร้านอาหารเจ๊งไว ภายในปีแรก!
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3hnrL57
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)