10 คำถามที่เจ้าของแฟรนไชส์ควรรู้ ก่อนรับสมัคร Sale ขายแฟรนไชส์
เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ที่ประสบปัญหาในเรื่องของการขายแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการหาลูกค้าใหม่ การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์แก่ผู้สนใจให้ดึงดูดและตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ตลอดจนการปิดการขายแฟรนไชส์ โดยอยากจะเปิดรับสมัคร Sale มาช่วยขายแฟรนไชส์ แต่ไม่รู้วิธีคัดเลือก Sale ที่ดี เก่ง และมีประสิทธิภาพในการขาย
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีวิธีการคัดเลือก Sale ที่ตอบโจทย์เจ้าของแฟรนไขส์ และคำถามที่เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องรู้ก่อนรับสมัคร sale มาช่วยขายแฟรนไชส์มาให้พิจารณาครับ
1. ความรู้เกี่ยวกับบริษัทแฟรนไชส์
คำถามแรกที่เจ้าของแฟรนไชส์ควรจะต้องรู้ก่อนรับสมัคร หรือสัมภาษณ์ Sale เข้าทำงานในบริษัท คือ เรื่องราวของบริษัทแฟรนไชส์ที่ผู้สมัครเป็น Sale รู้มามากน้อยแค่ไหน บริษัททำธุรกิจอะไร ขายสินค้าและบริการอะไร มีความดดดเด่นอย่างไร ตลอดจนคู่แข่งขันของบริษัทเป็นใครบ้าง กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใคร ซึ่งต้อตั้งคำถามเพื่อดูว่าผู้สมัครเป็น Sale ทำการบ้านมาดีแค่ไหน
2. ความรู้เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์
คำถามถัดมาที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้ ก็คือ ผู้สมัครเป็น Sale มีความรู้ในเรื่องของธุรกิจแฟรนไชส์ ระบบแฟรนไชส์หรือไม่ ถ้ารู้ รู้มากน้อยแค่ไหน เพราะการนำเสนอขายแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จได้นั้น คนเป็น Sale จะต้องรู้เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ เพื่อที่จะนำเสนอขายแฟรนไชส์กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
3. วิธีการนำเสนอการขายแฟรนไชส์
เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องรู้ว่าผู้สมัครเป็น Sale ขายแฟรนไชส์ มีกระบวนการและวิธีการนำเสนอขายธุรกิจแฟรนไชส์แก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างไรบ้าง ใช้ช่องทางไหนในการติดต่อและพูดคุยกับลูกค้า เช่น โทรศัพท์ หรือออกไปเจอกับลูกค้าโดยตรง รวมถึงการติดตามผลงานการนำเสนอขายแฟรนไชส์กับลูกค้าเป้าหมาย
4. ประสบการณ์การเป็น Sale มาก่อน
เป็นคำถามที่เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องรู้ เพื่อจะได้ประเมินความรู้และความสามารถในการขายของคนสมัครเป็น Sale และจะต้องเล่ารายละเอียดการทำงานล่าสุด ทำงานขายอะไร ขายแฟรนไชส์อะไร กระบสนการทำงาน หารลูกค้า การติดต่อลูกค้า การเจราจาต่อรองกับลูกค้า การปิดการขาย การดูแลลูกค้าที่ซื้อแฟรนไชส์หลังการขาย เป็นต้น
5. การวางเป้าหมายการทำงานเป็น sale
เป็นคำถามที่เจ้าของแฟรนไชส์ควรจะรู้ว่า ผู้สมัครเป็น Sale มีความคิด มีสัยทัศน์ มีการวางแผนการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง เป็นคำถามค่อนข้างวัดฝีมือการทำงานของ Sale ถ้าคนสมัครเป็น Sale ไม่ได้เล่าถึงแผนการทำงาน การวางเป้าหมายยอดขายแต่ละเดือน พร้อมกับโอกาสที่จะก้าวไปสู่ตำแหน่งอื่นๆ ที่สูงกว่าหากทำงานประสบความสำเร็จ ก็อาจไม่ใช่คำตอบที่เจ้าของแฟรนไชส์อยากได้
6. วิธีการหาลูกค้าและปิดการขายแฟรนไชส์
เป็นคำถามสำคัญที่เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องรู้ เพราะจะได้รู้ฝีมือการทำงานของคนสมัครเป็น Sale เพราะการหาลูกค้าที่สนใจซื้อแฟรนไชส์จริงๆ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนเป็น Sale เจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้ว่าคนจะเป็น Sale ในบริษัท ใช้วิธีอะไรบ้างในการหาลูกค้าใหม่ๆ รวมถึงเทคนิคในการเจรจาต่อรองและปิดการขายแฟรนไชส์
7. ปัจจัยสำคัญในการใช้ปิดการขายแฟรนไชส์
เจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้ด้วยว่า คนสมัครเป็น Sale มีความรู้เรื่องการขายแฟรนไชส์มากน้อยแค่ไหน อะไรคือหัวใจสำคัญของการปิดการขายแฟรนไชส์ที่ผู้สมัครเป็น Sale จะต้องนำไปปฏิบัติ เช่น การตอบคำถาม การนำเสนอสินค้า การพูดคุย การให้ทดลองสินค้าเป็นต้น ซึ่งเจ้าของแฟรนไชส์อาจต้องถามคนสมัครเป็น Sale ช่วงการสัมภาษณ์
8. วิธีการจัดการหากขายแฟรนไชส์ไม่ถึงเป้าหมาย
เป็นเรื่องปกติของคนเป็น Sale ที่จะขายสินค้าไม่ได้ตามเป้าหมายในแต่ละเดือนที่ตั้งเป้าเอาไว้ ดังนั้น ก่อจจะรับ Sale มาช่วยขายแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องรู้ว่า คนสมัครเป็น sale มีวิธีการบริหารจัดการความล้มเหลวอย่างไรบ้าง หากทำยอดขายแฟรนไชสืไม่ถึงเป้า ซึ่งคนเป็น Sale ที่ดีจะต้องเป็นคนคิดบวกพร้อมวิธีแก้ปัญหา เช่น การหาลูกค้าใหม่ให้มากขึ้น การเข้าพบลูกค้าเก่าเพื่อหาโอกาสในการขาย หรือการเพิ่มกิจกรรมการทำงานให้มากขึ้น เป็นต้น
9. ทำไมสนใจสมัครเป็น Sale ขายแฟรนไชส์ของบริษัท
เป็นคำตอบง่ายๆ ที่เจ้าของแฟรนไชส์ทุกคนอยากจะได้ยิน เพื่อให้แน่ใจว่าคนที่จะรับเข้ามาทำงานเป็น sale ในบริษัทจะรักบริษัท และทำงานอยู่กับบริษัทไปอีกยาวนานแค่ไหน เรียกได้ว่าเป็นความจงรักภักดี เช่นเดียวกับคนซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งได้ จะต้องชอบและหลงใหลจริงๆ รวมถึงอาจจะเคยทดลองใช้มาก่อนแล้ว ถึงจะซื้อแฟรนไชส์แบรนด์นั้นได้ หากคนเป็น Sale ขายแฟรนไชส์ที่ดี ก็จะต้องรู้จักและเคยใช้สินค้าและบริการของบริษัทมาก่อนเช่นกัน
10. ตัวอย่างโปรเจ็คต์การขายที่ยากและประสบความสำเร็จ
อีกคำถามที่เจ้าของแฟรนไชส์ควรจะต้องรู้ก่อนรับคนสมัครเป็น Sale เข้าทำงาน คือ โปรเจ็คต์หรืองานขายที่ยากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าการขาย คู่แข่ง กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการนำเสนอขายแฟรนไชส์จนประสบความสำเร็จ ซึ่งคำถามนี้ถือเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับคนที่จะรับเข้ามาเป็น Sale ในบริษัทฯ
นั่นคือ 10 คำถามที่เจ้าของแฟรนไชส์ควรรู้ ก่อนรับสมัคร Sale ขายแฟรนไชส์
Franchise Tips
- ความรู้เกี่ยวกับบริษัทแฟรนไชส์
- ความรู้เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์
- วิธีการนำเสนอการขายแฟรนไชส์
- ประสบการณ์การเป็น Sale มาก่อน
- การวางเป้าหมายการทำงานเป็น sale
- วิธีการหาลูกค้าและปิดการขายแฟรนไชส์
- ปัจจัยสำคัญในการใช้ปิดการขายแฟรนไชส์
- วิธีการจัดการหากขายแฟรนไชส์ไม่ถึงเป้าหมาย
- ทำไมสนใจสมัครเป็น Sale ขายแฟรนไชส์ของบริษัท
- ตัวอย่างโปรเจ็คต์การขายที่ยากและประสบความสำเร็จ
ข้อมูลจาก https://bit.ly/3eabUac
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3AMrKje
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)