10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา! แต่ได้เงิน
ด้วยเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้อัตราการเสียชีวิตนั้นลดลงชัดเจนในอีกมุมหนึ่งฐานของประชากรในวัยที่เรียกว่า เกษียณ ก็เริ่มมีมากขึ้น
ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นสังคมสูงวัยที่ขยายตัวต่อเนื่องและคาดว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะมีประชากรวัย 60 สูงถึง 14 ล้านคนจากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 10 ล้านคนโดยคิดเป็น 15%ของจำนวนประชากรทั้งหมด
สิ่งที่ต้องมาคิดกันคือทำอย่างไรเพื่อให้คนสูงวัยเหล่านี้สามารถใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณได้อย่างมีความสุข ในต่างประเทศเช่นสิงคโปร์หรือสหรัฐอเมริกามีมาตรการที่พร้อมจ้างงานคนสูงอายุให้ทำงานต่อแต่อย่างไรก็ดีในประเทศไทยเองกฏหมายเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน
ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงได้รวบได้รวบรวมเอา 10 อาชีพหลังเกษียณ น่าสนใจที่สามารถทำแก้เหงาหลังวัยเกษียณ งานเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้แรงกายมากนักและถ้าทำดีๆ ก็พอจะมีรายได้ไว้ทำบุญทำทานหรือว่าซื้อของใช้ที่จำเป็นแบบไม่ต้องเดือดร้อนเงินเก็บในบัญชีกันเลยทีเดียว
1.เพาะต้นไม้จำหน่าย
ภาพจาก goo.gl/0OqxdZ
ต้นไม้กับผู้สูงอายุดูจะเป็นของคู่กันมากที่สุด ข้อดีของอาชีพนี้คือการที่ผู้สูงอายุเองก็จะได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงได้อีกทางหนึ่ง
แม้จะไม่ใช่อาชีพที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำมากนักแต่ก็ถือว่าเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าสุดๆ ซึ่งต้นไม้ที่เลือกปลูกจำหน่ายก็ควรเป็นไม้ขนาดเล็ก เช่นไม้ดอก หรือไม้ยืนต้นประเภทผลไม้ต่างๆ เนื่องจากมีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง และใช้เวลาไม่นานในการเพาะต้นกล้า
2.ทำอาหารขาย
ภาพจาก goo.gl/CwhLyH
เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เราเห็นมากที่สุดในลำดับต้นๆของคนวัยเกษียณเช่นกันโดยเฉพาะพวกคุณป้าทั้งหลายที่มักใช้เวลาหลังจากนี้เอาพรสวรรค์ด้านการทำอาหารคาวหวานต่างๆมาประยุกต์ใช้ได้อย่างดี ที่นิยมทำกันมากก็เช่นขนมไทย เบเกอรี่ต่างๆ
ส่วนมากก็จะฝากขายไปตามร้านหรือว่าให้ลูกหลานเอาไปขายต่อที่ทำงาน ก็เรียกว่าเป็นการสร้างรายได้เล็กๆน้อยที่ได้ความสุขพร้อมกำไรบ้างเล็กๆน้อยๆ
3.ที่ปรึกษาบริษัทต่าง ๆ
ภาพจาก https://goo.gl/gnft7Z
สำหรับการเป็นที่ปรึกษาบริษัทนับว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจในวัยเกษียณ แต่ผู้ประกอบอาชีพนี้ได้ต้องมีความสามารถสูงหรือเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของหน่วยงานก่อนเกษียณอยู่แล้ว ซึ่งอาชีพนี้นับว่ามีรายได้ดีและเป็นการสร้างคุณค่าให้กับตนเองได้อีกทางหนึ่ง แต่ข้อพึงระวังก็คือไม่ควรหักโหมกับงานมากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดความเครียดสะสมได้
4.เป็นคอลัมนิสต์ให้กับนิตยสารหรือว่าเว็บไซต์
ภาพจาก goo.gl/WZ8lDS
ผู้เกษียณที่มีฝีมือในด้านการเขียนหรือชอบอ่านหนังสือเป็นทุนเดิม อาจเลือกเขียนคอลัมน์หรือบทความเพื่อลงไปตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ เนื่องจากว่าวัยเกษียณเป็นวัยที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตทุกรูปแบบ ย่อมมีข้อคิดที่สามารถสอนใจคนรุ่นใหม่ได้อย่างแน่นอน
และในปัจจุบันงานเขียนเหล่านี้ก็ไม่ได้จำเพาะเจาะจงแค่นิตยสารมีเว็บไซต์จำนวนมากที่เปิดโอกาสให้เขียนบทความน่าสนใจเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ ถ้าเรามีประสบการณ์งานเขียนอยู่บ้างคิดว่านี่คืออาชีพที่มีความสุขไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว
5.รับสอนพิเศษที่บ้าน
ภาพจาก goo.gl/G1HQCl
สำหรับผู้เกษียณที่เคยประกอบอาชีพครูมาก่อน การรับสอนพิเศษที่บ้านนับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะนอกจากจะใช้เวลาว่างที่สร้างมูลค่าได้แล้ว ยังถือเป็นการแบ่งปันความรู้อีกทางหนึ่งด้วย
สำหรับการสอนพิเศษนั้นไม่ควรจำกัดเฉพาะการสอนเด็ก แต่อาจเลือกสอนผู้ใหญ่ เนื่องจากเป็นวัยที่พร้อมเรียนรู้อยู่เสมอ และก็มีหลายแห่งที่เปิดสอนแบบไม่คิดค่าบริการ ซึ่งคนวัยนี้เรื่องเงินอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่ากับคุณค่าที่ยังต้องพิสูจน์ว่าสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่คิด
6.เลือกการลงทุนในหุ้นปันผล
ภาพจาก goo.gl/OZ7Y0P
แม้จะไม่ถือเป็นอาชีพแต่นี่คือหนึ่งในหลักการออมเงินที่เราได้ยินอยู่เสมอๆ แต่ว่าคนที่จะเอาเงินมาลงทุนในหุ้นได้ต้องมีพื้นฐานมีความรู้ด้านนี้มาก่อนส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักธุรกิจที่เกษียณตัวเองไปแล้ว
ซึ่งกลุ่มนี้จะมีหุ้นที่ดีอยู่ในมือ แต่อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการเล่นหุ้มแบบตามกระแสเพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการขาดทุนอาจเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียดมากกว่าความสุขได้
7.สร้างธุรกิจหยอดเหรียญ
ภาพจาก goo.gl/ENgfRo
ในปัจจุบันจะเห็นว่าธุรกิจหยอดเหรียญ เริ่มเข้ามามีบทบาทในทุกสังคมของประเทศไทย เนื่องจากมีความสะดวกสบาย ซึ่งธุรกิจหยอดเหรียญนับว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุ
เนื่องจากไม่เป็นภาระให้ต้องดูแลมากเกินไป โดยธุรกิจหยอดเหรียญที่น่าสนใจ ได้แก่ ตู้น้ำหยอดเหรียญ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตู้เติมน้ำมันหยอดเหรียญ ตู้เติมเงินหยอดเหรียญ เป็นต้น
8.ทำงานฝีมือวางจำหน่าย
ภาพจาก goo.gl/JMbmDc
วัยเกษียณเป็นวัยที่มีสมาธิมากขึ้น ดังนั้นการสร้างงานศิลปะจึงไม่ใช่เรื่องยากและทำให้เกิดความเพลิดเพลินได้อีกด้วย สำหรับการสร้างงานฝีมือนั้นมีหลายงานด้วยกัน ได้แก่ การถักโครเชต์ การถักนิตติ้ง การทำดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น
ส่วนงานศิลปะก็ ได้แก่ การวาดภาพ การทำผ้าบาติก การทำสบู่เป็นรูปต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งการเลือกงานฝีมือแต่ละอย่างต้องคำนึงถึงความชอบของผู้เกษียณเป็นหลัก เพราะหากได้ทำงานตามความชอบแล้ว นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้แล้วยังเป็นการสร้างความสุขใจอีกด้วย
9.เป็นเกษตรกร
ภาพจาก goo.gl/iyxlTj
หนึ่งในการวางแผนชีวิตคนวัยเกษียณคือการหาพื้นที่สงบๆในต่างจังหวัดทำสวน ปลูกผัก เพื่อใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและพอเพียง คำว่าเกษตรกรของคนวัยเกษียณจึงไม่ใช่การลงทุนลงแรงแบบคนหนุ่มสาวแต่เกษตรกรรมที่เหมาะสมเช่นการเลือกปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ การเลี้ยงไก่-เลี้ยงปลา ในบ่อหรือฟาร์มเล็กๆ เป็นต้น
10.เลือกใช้การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ภาพจาก goo.gl/ir4M31
ต้องยอมรับว่าคนที่เกษียณตัวเองส่วนหนึ่งจะมีเงินทุนจากการทำงานบางคนได้เงินหลังการเกษียณเป็นหลักล้าน ซึ่งก็สามารถเอามาเล่นแร่แปรธาตุให้ตัวเองมีรายได้ต่อเนื่องในช่วงเวลาที่เหลืออยู่
หนึ่งในวิธีการบริหารเงินนั้นคือการเลือกซื้อห้องแถวหรือว่าคอนโดแล้วปล่อยให้คนอื่นมาเช่าเพื่อจะได้มีรายได้เข้ามาทุกเดือน แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงระยะทางของคอนโดหรือห้องแถวที่ไม่ควรให้อยู่ห่างจากที่พักอาศัยมากเกินไปนักจะได้ไม่ต้องเหนื่อยกับการเดินทางเพื่อตรวจตราความเรียบร้อยในแต่ละเดือน
เหนือสิ่งอื่นใดไม่ว่าจะเลือกทำอะไรก็ตามคำว่าสุขภาพเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงเสมอ 10 อาชีพหลังเกษียณ เหล่านี้เน้นให้ทำเพื่อแก้เหงามากกว่าที่จะเอาจริงเรื่องผลกำไร สิ่งที่ดีที่สุดคือใช้ชีวิตให้มีความสุข หรือถ้าไม่เลือกอาชีพใดแต่จะเอาเงินไปฝากธนาคารและใช้ดอกเบี้ยมาเป็นรายได้ก็ถือว่าน่าสนใจไม่ใช่น้อยเช่นกัน
ท่านใดสนใจบริการรับปรึกษาแฟรนไชส์แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2EuFm60
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)