10 ข้อในการสำรวจร้านค้าคู่แข่งเพื่อสร้างยอดขาย
ก่อนเปิดร้านค้า ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องลงพื้นที่สำรวจและวิเคราะห์ร้านค้าคู่แข่งในทำเลนั้นๆ ก่อน เพื่อให้รู้จุดแข็งจุดอ่อน จำนวนร้านค้าคู่แข่งในพื้นที่
ข้อได้เปรียบของร้านค้าคู่แข่ง เพราะหากต้องการเอาชนะร้านค้าคู่แข่งในพื้นที่ รวมถึงสร้างยอดขายให้ได้มากกว่าคู่แข่ง เราต้องรู้จักร้านค้าคู่แข่งให้มากที่สุด
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 10 ข้อในการสำรวจ ร้านค้าคู่แข่งเพื่อสร้างยอดขาย ที่ผู้ประกอบการต้องทำการสำรวจร้านค้าคู่แข่งในพื้นที่เป้าหมายขอการเปิดร้านค้า
1.สภาพแวดล้อมทำเลของร้านคู่แข่ง
ถ้าเป็นร้านอาหารประเภทเดียวกัน แบบขายข้าวมันไก่เหมือนกัน ขายก๋วยเตี๋ยวเหมือนกัน เราต้องหาวิธีการทำอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าเลือกเราแทนที่จะเลือกคู่แข่ง เพราะร้านอยู่ใกล้ๆ กัน หากร้านคู่แข่งอยู่ไกลจากเรา ก็จำเป็นต้องวิเคราะห์เกี่ยวกับการเดินทางไปร้านคู่แข่งกับร้านของเรา มีความสะดวกสบายต่างกันอย่างไร เราสามารถนำมาเป็นจุดเด่นในการโฆษณาร้านเราได้มากแค่ไหน แน่นอนว่าถ้าทำเลเราดีกว่า ย่อมมีโอกาสมากกว่าที่จะเข้าถึงลูกค้า แต่ถ้าทำเลเราด้อยกว่า นั่นหมายความว่า เราต้องหาจุดขายอย่างอื่นมาดึงดูดลูกค้าแทน ถึงจะมีโอกาสได้รับชัยชนะ
2.พื้นที่ขายสินค้า จำนวนคนงาน
พื้นที่เปิดร้านขายของมีความสำคัญในการดึงดูดลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ในร่ม หรือกลางแจ้ง พื้นที่มากหรือไม่ มีโต๊ะเก้าอี้รองรับลูกค้าได้ก็จะได้เปรียบ กันฝนได้ ดังนั้น ต้องสำรวจดูว่าร้านค้าคู่แข่งที่เปิดอยู่ใกล้กันมีพื้นที่ขายมากน้อยขนาดไหน อีกทั้งจำนวนพนักงานในร้านมีมากหรือน้อย ถ้ามีมากก็จะได้เปรียบที่จะสามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเราขายสินค้าไม่เหมือนกับร้านค้าในพื้นที่ก็จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่สินค้าก็ต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้
3.ยอดขายโดยประมาณ
อาจต้องสอบถามเจ้าของร้านค้าที่เปิดในพื้นที่เป้าหมาย ว่ายอดขายในแต่ละวันได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้นำมาประเมินธุรกิจของเราที่จะไปเปิดขายในพื้นที่นั้นๆ หากร้านค้าคู่แข่งทำยอดขายได้มาก เราก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ยิ่งหากไม่ใช่สินค้าเดียวกัน แต่อยู่ในกลุ่มเดียวก็จะช่วยเกื้อหนุนกันได้เป็นอย่างดี
4.จุดแข็งจุดอ่อนในการบริการ
ต้องสังเกตหรือลองเข้าไปใช้บริการร้านค้าคู่แข่ง หรือร้านค้าที่เปิดในพ้นที่เป้าหมาย เพื่อดูว่าร้านค้าเหล่านั้นมีการให้บริการเป็นอย่างไร เอาใจใส่ลูกค้าดีหรือไม่ บริการเร็ว หรือบริการช้า เพื่อจะได้นำมาปรับรูปแบบการให้บริการร้านค้าของเรา
5.ลักษณะพิเศษของย่านการค้า ลูกค้า เป็นผู้บริโภคกลุ่มใด
คงไม่มีผลกระทบมากนักหากร้านค้าของเรากับคู่แข่งที่อยู่ใกล้กัน แต่ขายสินค้าคนละกลุ่มเป้าหมาย เช่น ร้านเราเป็นข้าวแกงมนุษย์เงินเดือนเดินดิน แต่ร้านคู่แข่งเป็นอาหารฝรั่งเศสสำหรับชาวต่างชาติ ด้วยความต่างกันมากของกลุ่มเป้าหมายนี้ จึงทำให้เราไม่จำเป็นต้องไปแข่งอะไรกับใครมากมาย แต่หากกลุ่มเป้าหมายของเราและคู่แข่งคือพนักงานออฟฟิศเหมือนกัน นั่นหมายความว่า เราจะต้องศึกษาคู่แข่งให้ลึกซึ้ง สร้างจุดแข็งให้กับร้านเรา
6.ประเภทและปริมาณสินค้าที่จำหน่าย
หากเราไปเปิดร้านค้าใกล้กับร้านค้าอื่นๆ จะต้องเป็นสินค้าไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเหมือนกันเราก็จะต้องดึงเอาจุดแข็งของเรามาใช้ เช่น ถ้าเป็นร้านอาหาร ต้องรสชาตอร่อย สะอาด ราคาเท่ากัน หรือถูกกว่าร้านค้าใกล้เคียงกัน
7.ราคาจำหน่ายสินค้า
แน่นอนว่าราคาขายสินค้ามีส่วนสำคัญในการดึงดูดลูกค้าได้มาก หากเป็นร้านค้าขายของเหมือนกัน เช่น ขายอาหารตามสั่ง หากเราขายแพงกว่าร้านใกล้เคียงกันก็อาจเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่ถ้าร้านเราทำอร่อย ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ อาจตั้งราคาสูงกว่าได้ แต่อาจต้องหาวิธีทำการตลาด และประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าได้ทราบ หรือขายแบบเดลิเวอรี่
8.วิธีการจำหน่าย
เช่น นั่งทานในร้าน ซื้อกลับบ้าน และเดลิเวอรี่ ออนไลน์ รับคนละครึ่งหรือไม่ ซึ่งวิธีการจำหน่ายเหล่านี้สามารถสร้างความได้เปรียบให้กับร้านค้าของเราได้ หากร้านค้าคู่แข่งไม่มีวิธีการจำหน่ายแบบนี้
9.การตลาดและส่งเสริมการขาย
เราต้องวิเคราะห์ด้วยว่าร้านอาหารคู่แข่งทำการตลาดด้วยวิธีไหน จัดโปรโมชั่น มีการกระตุ้นการขายอย่างไรบ้าง เพราะถ้าหากเราปล่อยให้คู่แข่งทำอยู่ฝ่ายเดียว ลูกค้าก็จะเทไปยังร้านคู่แข่งหมด และถ้าหากร้านคู่แข่งสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ รสชาติอาหารก็ดี แน่นอนว่า การจะดึงตัวกลับมาเป็นลูกค้าประจำเรานั้นก็ยากตามไปด้วย
10.สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
ต้องสำรวจว่าร้านค้าคู่แข่งได้เปรียบตรงไหน มีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้าง หรืออยู่ใกล้จุดศูนย์กลางที่โดดเด่นอะไรบ้าง เช่น ที่จอดรถ ร้านสะดวกซื้อ ตู้เอทีเอ็ม เส้นทางคนเดินผ่าน ทางเข้า-ออก เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์และเปรียบเทียบร้านค้าของเรากับร้านค้าคู่แข่ง จะช่วยทำให้เราสามารถกำหนดได้ว่า ถ้าเป็นร้านอาหาร จะทำเมนูหรือบริการแบบไหน ที่จะทำให้ร้านของเราดึงดูดกลุ่มลูกค้าได้อย่างที่ตั้งใจเอาไว้ และนี่คือ 10 ข้อในการสำรวจ ร้านค้าคู่แข่งเพื่อสร้างยอดขาย
SMEs Tips
- สภาพแวดล้อมทำเลของร้านคู่แข่ง
- พื้นที่ขายสินค้า จำนวนคนงาน
- ยอดขายโดยประมาณ
- จุดแข็งจุดอ่อนในการบริการ
- ลักษณะพิเศษของย่านการค้า ลูกค้า เป็นผู้บริโภคกลุ่มใด
- ประเภทและปริมาณสินค้าที่จำหน่าย
- ราคาจำหน่ายสินค้า
- วิธีการจำหน่าย
- การตลาดและส่งเสริมการขาย
- สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2Z07pYV
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)