10 กลยุทธ์ธุรกิจ ฝ่าวิกฤตต้นทุนค่าแรงสูง

หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้มีมติเห็นชอบประกาศปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในอัตรา 5-22 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไป

โจทย์หลักใหญ่ๆ ที่ถือเป็นหนึ่งในอุปสรรคและเป็นปัญหาต่อการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะธุรกิจ SME นั่นคือเรื่องของ “ต้นทุน” ยิ่งธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศไทยอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนค่อนข้างสูง ทั้งเรื่องต้นทุนการผลิตและต้นทุนโลจิสติกส์ แต่ภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ 10 กลยุทธ์บริหารธุรกิจ SME ให้อยู่รอดและเติบโต หลังจากที่รัฐบาลมีมติเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในอัตรา 5-22 บาท ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มาดูกันว่าธุรกิจจะฝ่าวิกฤติต้นทุนสูงไปได้อย่างไรครับ

1.ปรับขนาดขององค์กรให้เหมาะสม

br

แนวคิดในปัจจุบัน เมื่อธุรกิจประสบกับปัญหาก็จะลดขนาดขององค์กร เพื่อลดต้นทุน ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด เพราะเป็นหนทางกู้สถานการณ์ทางการเงินให้กลับมาดีขึ้นได้รวดเร็ว แต่การลดขนาดมีข้อควรระวัง ทั้งในเรื่องขวัญกำลังใจ ความสามัคคีในองค์กร และการสูญเสียคนเก่ง การเปลี่ยนแปลงที่ดี ควรเอาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเป็นตัวตั้ง แล้วปรับตัวให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจรวมถึงการลดขนาดขององค์กรด้วย

2.บริหารต้นทุนด้านแรงงาน

ต้นทุนทางด้านแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น เกิดจากนโยบายของรัฐบาลในการขึ้นค่าแรงงาน โดยต้องกลับมาทบทวนในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน หรือคนงาน บางครั้งจำเป็นต้องมีการปลดพนักงานออก

หากพนักงานกลุ่มนั้นเป็นแรงงานที่ไม่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันต้องเพิ่มประสิทธิภาพคนงาน เพื่อลดค่าแรงต่อการผลิตสินค้าหนึ่งชิ้นให้น้อยลงด้วย หากไม่มีงบประมาณเพียงพอ ควรใช้บริการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ จัดฝึกอบรมเป็นการภายใน (In-house Training)

3.ลงทุนน้อย ให้ได้กำไรมาก

br1

การลงทุนน้อยๆ ให้ได้กำไรมากๆ นั้นเป็นศิลปะของการทำธุรกิจยุคต้นสูง วิธีการเหล่านี้มีมานานตั้งแต่อดีต สมัยโบราณมาแล้ว เวลาที่สองเมืองรบพุ่งกันวิธีการที่จะชนะ โดยเสียเสบียงไพร่พลให้น้อยที่สุด จะถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด มาถึงยุคปัจจุบันการทำตลาดด้วยการลงทุนน้อยๆ แต่ให้ได้ผลมากๆ

เช่น การทำตลาดออนไลน์ เพราะปัจจุบันลูกค้าหันมาใช้โทรศัพท์มือถือ Smart phone เริ่มมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การทำตลาดต้นทุนสูงในระบบเดิม อาจจะหมดไปในอนาคต ถ้าหากผู้ประกอบการทำได้ถูกจุด-ถูกทาง ก็จะเกิดแรงกระเพื่อมมหาศาล และทำให้สามารถเพิ่มยอดสินค้า-บริการของเราได้ แม้ในยามที่เศรษฐกิจฝืดเคือง

4.ปรับปรุงคุณภาพสินค้าอย่างสม่ำเสมอ

ในยามที่เศรษฐกิจดี เจริญรุ่งเรือง ผู้ประกอบการอาจต้องใช้เวลาแทบจะทั้งหมด ไปกับการผลิตสินค้าให้ทันความต้องการของลูกค้า แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ต้นทุนสูง เวลาที่ใช้ในการผลิตลดลง ก็จะเปิดอีกโอกาสหนึ่งให้ผู้ประกอบการได้หันมาพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพสินค้า ปรับปรุงระบบการผลิตให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

แทนที่ผู้ประกอบการจะเครียดกับยอดขายตก ต้นทุนเพิ่ม ควรใช้เวลาหันมาปรับปรุงสินค้า-บริการของตัวเองให้ดีอย่างสม่ำเสมอจะดีกว่า เมื่อภาวะเศรษฐกิจกลับมาดีดังเดิม ผู้ประกอบการที่พร้อมกว่าจึงจะได้รับชัยชนะ

5.ขายให้ถูกช่วงเวลา

br2

ในยามเศรษฐกิจไม่ดี ยอดขายตก ต้นทุนเพิ่มบางครั้งการขายสินค้าที่ไม่เหมาะกับกาลเวลา ไม่เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา ก็เป็นสาเหตุทำให้ธุรกิจของคุณสะดุดเอาง่ายๆ หากเกิดภาวะที่ฝืดเคือง

ผู้ประกอบการอาจจะหันมาทำสินค้าประเภทประหยัดเงินในกระเป๋าของลูกค้ามากขึ้น และลดสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยลง เพื่อให้เข้ากับภาวะโดยภาพรวม และหากเศรษฐกิจกลับมาดี ยอดขายเพิ่มอีกครั้ง ผู้ประกอบการก็สามารถปรับเปลี่ยนในทิศทางที่เหมาะกับช่วงเวลาได้

6.นิ่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว

กลยุทธ์นี้มีมานานแล้ว เมื่อเกิดสภาวะที่ไม่ดีตลาดฝืดเคือง การขยับขยายอะไรเกินตัว ก็อาจทำให้กิจการถึงขั้นหายนะได้ บางทีการอยู่นิ่งๆ เพื่อให้พายุผ่านไปก็เป็นอีกกลยุทธ์ที่ดี ในสมัยโบราณแม่ทัพที่ถอดใจไปก่อนจะสำเร็จการใหญ่ ก็มีให้เห็นมากมาย ความอดทน หรือ การนั่งสงบ สยบความเคลื่อนไหว ถือเป็นอีกกลยุทธ์ที่ดี และไม่ควรมองข้ามยามจำเป็นนะครับ

7.สะสมกำลังเสบียงให้พร้อม

br5

ผู้ประกอบการอาจไม่รู้ว่า เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวได้เมื่อไหร่ อีกทั้งต้นด้านแรงงงานยังเพิ่มขึ้น แต่การเตรียมพร้อม เก็บเสบียงคลังไว้ใช้ยามฉุกเฉินนั้น จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เสบียงคลังดังกล่าว ได้แก่ กำไรสะสม เครดิตการค้า แม้แต่ทรัพยากรมนุษย์ กำลังพลก็ถือเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมให้พร้อมเช่นกันครับ

8.การวิจัย และพัฒนา

ธุรกิจใดที่หยุดนิ่ง เท่ากับธุรกิจนั้นเริ่มนับถอยหลัง การวิจัยและพัฒนา จะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงเวลาปกติ และช่วงเวลาที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ ผู้บริโภคไม่ค่อยซื้อสินค้าและบริการ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ดีไม่ควรหยุดนิ่ง ควรหมั่นทำการวิจัย และพัฒนาสินค้า และบริการให้ดีอย่างสม่ำเสมอครับ

9.กระชับความสัมพันธ์กับลูกค้า

br4

ยิ่งเกิดภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แต่ต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผู้ประกอบการยิ่งต้องใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้น แม้ในยามที่ลูกค้าอาจไม่มีกำลังจับจ่ายสินค้าของคุณ แต่หากคุณดูแล หมั่นกระชับความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เมื่อใดที่เศรษฐกิจกลับมาดี ลูกค้าก็จะกลับมาหาคุณ นึกถึงคุณก่อนคู่แข่งอย่างแน่นอน

10.เตรียมตัวให้พร้อมทุกสถานการณ์

กลยุทธ์สุดท้าย คือ การรวมเอาทุกกลยุทธ์ข้างต้นเข้าด้วยกัน ทั้งการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้า การเตรียมเสบียงให้พร้อม การวิจัย และพัฒนา การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะกับสภาพที่เป็นไปของเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีความพร้อม สามารถเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ ไม่พลาดพลั้งยามเกิดวิกฤต และสามารถคว้าโอกาสได้ยามที่ทุกอย่างกลับมาดีดังเดิมอีกครั้ง

ทั้งหมดเป็น 10 กลยุทธ์ธุรกิจ ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ท่ามกลางที่ต้นทุนการทำธุรกิจกำลังจะสูงขึ้น ตามการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-22 บาท ทั่วประเทศของรัฐบาล เชื่อว่า 10 กลยุทธ์ธุรกิจ ข้างต้น น่าช่วยผู้ประกอบการได้ไม่มากก็น้อยแน่นอนครับ

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
สนใจซื้อแฟรนไชส์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช