ไอเดียการตลาด หมีเนย ButterBear Mascot Marketing

ตอนนี้ใครไม่รู้จัก “หมีเนย” ต้องบอกว่าเชยระเบิด เพราะตอนนี้น้องหมีตัวนี้ดังมาก ถึงขนาดมีคนตั้งคำถามตกลงว่าน้องเป็นคนหรือว่าเป็นหมีจริงกันแน่?

อันที่จริงการตลาดที่ใช้ มาสคอต (mascot) ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยมาสคอตทางธุรกิจตัวแรก เกิดขึ้นในปี 1898 คือ “Bibendum” ของยางมิชลินที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดี และถ้าจะถามถึงมาสคอตอื่นที่อยู่ในความทรงจำของคนไทยก็เช่น

  • โรนัล แมคโดนัลด์ (Ronald Mcdonald)
  • ผู้พันแซนเดอร์ส
  • มิชลินแมน
  • มิกกี้เมาส์ (Mickey Mouse)
  • มาริโอ (Mario)
  • บาบีก้อน

การใช้มาสคอตมาทำการตลาดแบบนี้มีชื่อเรียกในภาษาการตลาดว่า ‘Character Marketing’ หรือเรียกอีกอย่างคือ ‘Cute Marketing’

หมีเนย

ภาพจาก FB : Butterbear.th

ก็ต้องยอมรับว่า ButterBear หรือ น้องหมีเนย มาสคอตสุดน่ารักจากร้านขนม “Butterbear” ในเครือ Coffee Beans by Dao ที่มาแรงแซงทางโค้งในตอนนี้ ถือเป็นการสร้าง Customer Experience ของได้อย่างน่าทึ่ง

ซึ่งคำว่า Customer experience (ประสบการณ์ลูกค้า) คือ สิ่งที่ลูกค้ารู้สึกกับสินค้าหรือบริการ ทั้งก่อนการใช้งาน ระหว่างใช้งาน จนถึงหลังจากใช้งานเสร็จสิ้นแล้ว หากวิเคราะห์เจาะลึกลงไปจะพบว่า ButterBear สร้างImcpact ได้อย่างน่าสนใจเช่น

  • ช่วยสร้างความประทับใจให้ลูกค้าเกิดกับแบรนด์
  • ช่วยเล่าเรื่องของแบรนด์ได้อย่างดี เพราะ Butterbear มีทั้งเพลง มีคลิปวิดีโอ มีมีม ที่ทั้งน่ารัก ตลก แชร์ต่อได้ง่าย จึงกลายเป็นกระแสโด่งดังบนโซเชียลมีเดีย
  • ช่วยสร้างการมีส่วนร่วม เนื่องจากButterbear มีกิจกรรมให้ลูกค้าร่วมสนุก ถ่ายรูป เช็คอิน สร้าง Engagement ดึงดูดให้ลูกค้าติดตาม กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสะสม อยากเป็นเจ้าของ
  • สร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่น
  • สร้างภาพลักษณ์เชิงบวก แถมช่วยสร้าง Brand Awareness ทำให้ลูกค้าจดจำไม่ว่าจะเป็นชื่อร้าน โลโก้ สินค้า จนไปถึงการเกิด Brand Loyalty ทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพัน รัก อยากกลับมาซื้อซ้ำได้อีกด้วย

ถ้ายังเห็นภาพไม่ชัด ลองดูตัวเลขซึ่งเป็นข้อมูลจาก AI Summary ที่ได้วิเคราะห์แบรนด์ Butterbear ช่วงวันที่ 1 – 12 มิถุนายน 2567 พบว่า ความนิยมของแบรนด์ Butterbear มียอดการมีส่วนร่วมการดู ไลค์ แชร์ คอมเมนต์ (Engagement) รวมทั้งหมด 13,599,968 เอ็นเกจเมนต์

หมีเนย

ภาพจาก FB : Butterbear.th

ช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ

  • TikTok ถึง 9,971,877 เอ็นเกจเมนต์ หรือคิดเป็น 73.3%
  • X (Twitter) มียอดการมีส่วนร่วม 3,554,490 (26.1%)
  • Instagram ได้รับ 41,184 เอ็นเกจเมนต์ (0.3%)
  • Facebook ได้รับ 25,587 เอ็นเกจเมนต์ (0.2%)
  • YouTube ได้รับ 6,820 เอ็นเกจเมนต์ (0.1%)

ซึ่งจะเห็นได้ว่าแบรนด์ Butterbear ได้รับความสนใจจากช่องทาง TikTok และ X (Twitter) รวมกันกว่า 99% ในส่วนของความรู้สึกต่อแบรนด์ จากข้อมูลการวิเคราะห์ พบว่า การกล่าวถึงในเชิงบวก (Positive) อยู่ที่ 9.78% ส่วนความรู้สึกเป็นกลาง (Neutral) 90.01% และความรู้สึกในเชิงลบ (Negative) 0.21% เท่านั้น โดยปัจจัยเชิงบวก ได้แก่ ให้ความเป็นธรรมชาติ, รสชาติอร่อย ในขณะที่ปัจจัยเชิงลบ คือ บรรจุภัณฑ์ไม่โดดเด่นและราคาสูงเกินไป

หมีเนย

ภาพจาก FB : Butterbear.th

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า Butterbea ถือเป็นการสร้าง Brand Awareness ที่เกินคุ้มมาก ทำให้คนรู้จักกับแบรนด์ และทำให้ธุรกิจสามารถแตกไลน์สินค้าออกมาได้มากมาย ความสำเร็จหลังจากนี้ ไม่ใช่แค่ร้านขนม แต่น้องหมีเนย กลายเป็น Personal Branding ที่ทำให้แบรนด์แตกไลน์สินค้าออกมากได้มากมาย ทั้งแก้ว จาน สมุด สติกเกอร์ ฯลฯ

แถมกระแสนี้ยังแรงถึงขนาดที่นายกรัฐมนตรีของไทย ยังออกมากล่าวว่า Butterbear เป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้มาสคอตในการส่งต่อวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในเวทีนานาชาติ เช่นเดียวกับ Miffy จากเนเธอร์แลนด์ หรือ Labubu จากฮ่องกง มาสคอตที่น่ารักและมีเอกลักษณ์นี้ ไม่เพียงแต่สร้างความสุขให้ผู้พบเห็น แต่ยังช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด