ไม่ง้องาน!!! เรียนจบปุ๊บ ขายของแบบไหน? รายได้ดี
ข้อมูลน่าสนใจระบุว่าตัวเลขอัตรา “ว่างงาน” อยู่ที่ระดับ 1.89% คิดเป็นผู้ว่างงานทั้งสิ้นราว 7.3 แสนคน นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็น 3.18% และ 3.44% ตามลำดับ หากคิดเป็นตัวเลขจะพบว่ามีเด็กจบระดับอุดมศึกษาที่ว่างงานและไม่เคยมีงานทำมาก่อนอยู่ประมาณเกือบ 80,000 คน และค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นจนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 120,000 คน
ปัญหาการว่างงานเหล่านี้ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด แต่ถ้ามองอีกด้านอาจเป็นปัญหาของนักศึกษาจบใหม่เองที่อาจมีทักษะไม่ตรงตามความต้องการของตลาด หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทำให้หลายคนต้องการเป็นนายตัวเองมากกว่าการเป็นลูกจ้าง ดังนั้นลองไปดูกันว่า ถ้าเรามีลูกหลานเรียนจบแล้วไม่อยากทำงาน ไม่ง้องาน จะแนะนำให้ไปค้าขายอะไรที่รายได้ดีไม่แพ้กัน
1.ขายของออนไลน์
ในยุคนี้คงต้องพูดถึงขายของออนไลน์เป็นอย่างแรก เพราะมีแนวโน้มเติบโตสูงมาก มูลค่าการตลาดในปีที่ผ่านมาสูงกว่า 7 แสนล้านบาท เติบโตขึ้นมากว่า 75% ซึ่งถือว่าสูงมาก ซึ่งแน่นอนว่ามีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ กระโดดเข้าสู่วงการนี้จำนวนไม่น้อย รวมถึงบรรดานักศึกษาจบใหม่ หรือคนที่ไม่มีงานทำ แต่ใช่ว่าทุกคนที่ขายของออนไลน์แล้วจะประสบความสำเร็จ
สำคัญคือเรื่องเทคนิคการบริหารจัดการ สินค้า บริการ ข้อดีของขายของออนไลน์เหมือนจะไม่มีต้นทุนแต่ที่จริงมีต้นทุนอื่นที่เราต้องระวังเช่นค่าสต็อกสินค้า , ค่าจัดส่งสินค้า , ค่าจัดการระบบหลังบ้าน , ค่าโฆษณาสินค้า เป็นต้น คนที่ขายดีและมีกำไรคือคนที่บริหาจัดการสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อนาคตของการขายสินค้าออนไลน์ยังตอบโจทย์และสดใสแต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวของผู้ลงทุนเองด้วย
2.ตัวแทนขายประกัน
การเป็นนักศึกษาจบใหม่หลายคนอาจต้องการงานที่ตรงกับความรู้ที่เรียนมา ถ้าบอกว่าให้มาขายประกันคนส่วนใหญ่อาจไม่อยากทำอาชีพนี้มากนัก แต่ในความเป็นจริงโดยเฉพาะยุคนี้ที่คนส่วนใหญ่มองหาหลักประกันให้ตัวเองในอนาคต แม้จะมีข่าวเกี่ยวกับการเคลมประกันที่อาจทำให้ขายได้ยากขึ้น แต่งานขายที่แท้จริง ก่อนลงพื้นที่ขาย ตัวแทนจะได้รับการฝึกอบรม มีการสอบขอใบอนุญาต มีการเทรนด์งานสอนงานจากหัวหน้างาน และทุกวันนี้ทุกบริษัทมีระบบการขายที่อำนวยความสะดวกให้ตัวแทนมากขึ้น
ผลตอบแทนของการลงทุนในอาชีพนี้อาจไม่ได้มากมายทันที ต้องอาศัยเวลาในการหาลูกค้า แต่ถ้าเริ่มมีลูกค้าสัก 3-4 คน และเราให้บริการที่ดี จนลูกค้าประทับใจ นำไปบอกต่อเพื่อนหรือญาติ จะทำให้เราเริ่มมีฐานลูกค้าในมือมากขึ้น ขยายลูกค้าออกไปได้เรื่อยๆ รายได้ก็จะเริ่มมากขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับความขยัน อดทน และตั้งใจทำจริงเป็นสำคัญด้วย
3.เปิดท้ายขายของ
การเป็นนายตัวเองคือสิ่งที่เด็กจบใหม่กำลังมองหา การได้เงินเดือนขั้นต่ำประมาณ 15,000 บาท บางคนมองว่าไม่พอใช้ในยุคนี้ ดังนั้นอาชีพอิสระอย่างการเปิดท้ายขายของจึงน่าสนใจ ปัจจุบันมีทำเลค้าขายให้เลือกมากมาย ลองไปติดต่อกับเจ้าของพื้นที่เหล่านั้น และลองเริ่มขายจากสินค้าจำนวนไม่มาก
ซึ่งแหล่งสินค้าสามารถหาได้ทั่วไป หรือจะเริ่มจากสินค้าที่ตัวเองมี เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า หรือบางคนมีความรู้ในเรื่องงานศิลปะ อาจทำงานแฮนด์เมดออกขาย บางคนอาจเรียนด้านกราฟฟิค ก็อาจนำความรู้ส่วนนี้มาใช้พัฒนาการขายตัวเอง หรือบางคนจบด้านโปรแกรมเมอร์มีความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ก็อาจนำความรู้ที่มีมาพัฒนาการขายให้ดียิ่งขึ้นได้
4.ปลูกผักสวนครัวขาย
คนในยุคนี้สนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น หากไม่อยากทำงาน ลองหันมาปลูกผักสวนครัวขาย ยิ่งเป็นผักออร์แกนิคด้วยยิ่งดี เพราะคนรักสุขภาพเยอะมาก แต่ที่สำคัญก่อนหน้าปลูกผักเราต้องหาตลาดรอบรับด้วย เช่น ติดต่อแหล่งรับซื้อผักขนาดใหญ่ หรือโรงงานรับซื้อผักที่นำไปผลิตและต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เป็นต้น
รวมถึงต้องศึกษาว่าผักอะไรที่ตลาดนิยมมากที่สุด และมีความต้องการมากที่สุด นอกจากส่งผักตามตลาดหลักแล้ว ต้องนำไปขายในตลาดหรือแหล่งชุมชนร่วมด้วย เพื่อให้มีรายได้หลาย ๆ ทาง ส่วนต้นทุนไม่เกิน 5,000 สำหรับ ค่าปุ๋ย ค่ายา และเมล็ดพันธุ์ และพอได้ต้นทุนเข้ามาเรื่อย ๆ ค่อยขยายพื้นที่ให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งราคาขายหากเป็นผักออร์แกนิกก็ถือว่าแพงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน
5.รับจ้างสอนพิเศษ
สำหรับคนที่เบื่อและไม่อยากทำงานประจำ แต่ตัวเองพอมีความรู้ขอแนะนำว่าให้เปิดตัวเป็น “ติวเตอร์” รับสอนพิเศษตามบ้าน อัตราค่าจ้างสอนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 300-500 บาท ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่สอน ยิ่งถ้าเราเป็นนักศึกษาจบใหม่ มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ศิลปะ คอมพิวเตอร์ หรือเก่งด้านคณิตศาสตร์ สังคม ภาษาไทย
สิ่งเหล่านี้พัฒนามาเป็นรายได้ให้เราได้ทั้งสิ้น ยิ่งเด็กๆในช่วงการแพร่ระบาดโควิด19 ส่วนใหญ่ไม่ได้ไปโรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องการหาติวเตอร์มาสอนเพิ่มความรู้ให้บุตรหลาน ยิ่งเราสอนมาก บริการดี จะยิ่งมีลูกค้าประทับใจและอาจบอกต่อๆ กันไปทำให้เรามีรายได้ในช่องทางนี้มากขึ้น หรือถ้าจะหัวการค้าสักหน่อย จะทำคอร์สเรียนขายก็เป็นการสร้างรายได้ที่ดีมาก
6.ขายอาหารปิ้งย่าง
คนที่มีหัวการค้าเมื่อจบออกมาอาจไม่ต้องหางานที่ไหนแต่มาสร้างธุรกิจตัวเอง เช่นการเปิดร้านปิ้งย่างง่ายๆ ที่เลือกได้เลยว่าอยากจะขายอะไร ทั้งหมูย่าง เนื้อย่าง ไก่ย่าง ปลาหมึกย่าง ลูกชิ้นปิ้ง กล้วยปิ้ง เฟรนฟรายส์ เป็นต้น
ข้อดีของสินค้าเหล่านี้คือขายง่าย ราคาไม่แพง เป็นสินค้าที่คนส่วนใหญ่ต้องการ งบในการลงทุนก็ไม่สูง เบ็ดเสร็จประมาณ 5,000 บาท อาศัยว่าต้องมีทำเลที่ดี หรือบางคนไม่ต้องหาทำเลที่ไหน ใช้พื้นที่หน้าบ้านตัวเองก็ได้ แต่เพิ่มช่องทางการขายแบบออนไลน์เข้าร่วมด้วย ยิ่งถ้ามีความรู้เรื่องโซเชี่ยล เรื่องการตลาดยุคใหม่ สามารถนำมาปรับใช้กับการขายของตัวเองได้มาก อาจจะเริ่มจากการสร้างแบรนด์ สร้างโลโก้ พัฒนาสินค้าให้มีจุดเด่นน่าสนใจ สะสมประสบการณ์ขายไปเรื่อยๆ ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะพัฒนาสู่การขายในระบบแฟรนไชส์ได้
7.ขายสินค้าด้านเวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์
การแพร่ระบาดโควิด 19 ทำให้หน้ากากอนามัย , เจลแอลกอฮอล์ , สเปรย์แอลกอฮอล์ , เครื่องตรวจวัดไข้ ฯลฯ กลายเป็นสินค้าขายดีมาก มีมูลค่าการตลาดกว่า 230,000 ล้านบาท อัตราเฉลี่ยเติบโตประมาณ 4% ต่อปี
แน่นอนว่าทิศทางต่อจากนี้ก็ยังสดใสและความต้องการในสินค้าเหล่านี้จะไม่มีวันลดลง สำคัญคือเราต้องพัฒนาสินค้าให้ดูน่าสนใจ เช่นหน้ากากอนามัยที่อาจคิดลวดลายใหม่ๆ ให้เป็นแฟชั่นมากขึ้น , ชนิดของผ้าที่ดีกว่าเดิม เป็นต้น รวมถึงการทำตลาดที่ต้องดึงลูกค้าให้มาสนใจสินค้าเราได้ เมื่อสินค้าฮิตติดตลาด เราอาจจะกลายเป็นเจ้าของแบรนด์เจ้าของกิจการชนิดที่ไม่ต้องง้อการทำงานประจำเลย
คนที่จบใหม่และยังไม่มีงานทำ อาจต้องเลือกว่าที่เรายังไม่ทำงานเพราะเราไม่ชอบงานประจำหรือว่าเราเลือกงานมากเกินไป คนที่อยากเป็นนายตัวเอง อาจเลือกวิธีการค้าขาย หรือสร้างรายได้ที่ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ แต่การทำงานที่แท้จริงกับทฤษฏีในตำรานั่นไม่เหมือนกัน บางคนเก่งทฤษฏีแต่เริ่มทำจริง กลับไปไม่รอดสิ่งสำคัญคือการพลิกแพลงและเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
ดังนั้นใครที่เรียนจบแต่ไม่อยากทำงาน จึงควรหาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้เอาไว้ปรึกษาในยามฉุกเฉินจะช่วยให้การทำธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3JO9etK , https://bit.ly/359keTI
อ้างอิงจาก https://bit.ly/36N7NOb
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)