โหดจัด! ฟาสต์ฟู้ดจีน ไล่แซงแบรนด์ตะวันตก

ปัจจุบันตลาด ฟาสต์ฟู้ดจีน มีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านหยวน คาดการณ์ว่าจะมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 1.8 ล้านล้านหยวน ในปี 2568 มีปัจจัยจากการขยายตัวของเมือง รวมถึงคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 25-34 ปี หันมาบริโภคอาหารจานด่วนกันมากขึ้น

จากแต่ก่อนนิยมแบรนด์ตะวันตกเอามากๆ แต่มาวันนี้กระแสจีนมาแรง หันมาบริโภคแบรนด์ท้องถิ่น ทำให้แบรนด์ฟาสต์ฟู้ดจีนหลายๆ แบรนด์แซงหน้าแบรนด์จากตะวันตกไปแล้ว แบรนด์จีนใช้กลยุทธ์อะไร มาดูกัน

นับตั้งแต่เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดจากแดนตะวันตกอย่าง KFC บุกตลาดเมืองจีน ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนหันมานิยมอาหารตะวันตกมากขึ้น ส่งผลให้แบรนด์ไก่ทอด KFC ขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว

เมื่อ KFC ประสบความสำเร็จในจีน ก็มีแบรนด์อื่นๆ จากดินแดนตะวันตกอย่างสตาร์บัคส์ แมคโดนัลด์ ตามเข้าไปเปิดตลาดและได้รับนิยมไม่แพ้กัน นับว่าเป็นก้าวสำคัญของแบรนด์จากตะวันตกตีตลาดจีนได้สำเร็จ

ฟาสต์ฟู้ดจีน

ภาพจาก https://bit.ly/3VVJ40X

ปัจจุบัน KFC ในประเทศจีนมีกว่า 10,000 สาขา มากกว่าในอเมริกาถึง 2 เท่า เจ้าของเป็น “ยัม ไชน่า” ซึ่งได้แยกออกจากบริษัทแม่ในอเมริกาตั้งแต่ปี 2559 การพัฒนาธุรกิจเป็นของจีนหมด ส่วนร้านกาแฟสตาร์บัคส์มีกว่า 7,000 สาขา และร้านเบอร์เกอร์แมคโดนัลด์มีถึง 6,000 สาขา

มาดูยอดขายกาแฟสตาร์บัคส์ในจีนไตรมาส 1/2567 ลดลงถึง 8% เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นเพราะผู้บริโภคชาวจีนเปลี่ยนใจไปกินกาแฟท้องถิ่นแทน นั่นคือ “ลัคกิ้น คอฟฟี่” Luckin Coffee ปัจจุบันมีสาขากว่า 13,000 แห่งทั่วประเทศ แซงหน้าสตาร์บัคส์เรียบร้อยแล้ว

ฟาสต์ฟู้ดจีน

ภาพจาก www.facebook.com/luckincoffeeTH

ปัจจัยทำให้ Luckin Coffee ชนะสตาร์บัคส์ได้ คือ การตั้งราคาถูกกว่า 50-80% แต่ใช้วัตถุดิบพรีเมียม แถมมีรสชาติหลากหลายกว่า ทำให้คุณภาพของเครื่องดื่มของ Luckin Coffee และ Starbucks มีความใกล้เคียงกัน ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ไม่ยาก

ส่วนแบรนด์เบอร์เกอร์แมคโดนัลด์ก็เจอความท้าทายอยู่ไม่น้อย เมื่อ Tastien แบรนด์เบอร์เกอร์ท้องถิ่น ชูจุดเด่นเมนูท้องถิ่น กระโดดมาเป็นคู่แข่งอย่างเต็มตัว ขยายสาขาแซงหน้าแมคโดนัลด์ไปแล้ว มีถึง 7,000 สาขา โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เร่งเปิดสาขาใหม่รัวๆ ถึง 1,600 สาขา

เชนร้านเบอร์เกอร์ TASITING ก่อตั้งเมื่อปี 2555 ที่เมืองหนานชาง ในฐานะร้านเบอร์เกอร์และพิซซ่า ก่อนจะนำเทคนิคการอบขนมปังแบบจีนมาใช้และผันตัวเป็นร้านเบอร์เกอร์สไตล์จีนในปี 2562 สาขาส่วนใหญ่อยู่ในเมืองต่างจังหวัด

TASITING แซงหน้าแมคโดนัลด์ได้ มาจาก 3 ปัจจัย คือ

ฟาสต์ฟู้ดจีน

ภาพจาก https://bit.ly/3znXhdX

  1. เมนูอาหารและการทำตลาดแบบจีน ไม่ว่าจะเป็นการใช้แป้งคล้ายขนมเปี๊ยะมาทำขนมปังเบอร์เกอร์ อบสดๆ ส่วนไส้เบอร์เกอร์เป็นเมนูจีน อาทิ เบอร์เกอร์เป็ดปักกิ่ง, เบอร์เกอร์ไก่หมาล่า, เบอร์เกอร์เต้าหู้ผัดพริกเสฉวน, เบอร์เกอร์หมูผัดปลาหอม เป็นต้น
  2. การทำตลาดเน้นย้ำโพซิชั่นเบอร์เกอร์จีนอย่างเข้มข้น เช่น เบอร์เกอร์จีนที่ผลิตในประเทศ, แฮมเบอร์เกอร์รสชาติแบบจีน หรือการใช้สโลแกน เบอร์เกอร์ที่เหมาะกับท้องคนจีน เป็นต้น
  3. ราคาสบายกระเป๋า เบอร์เกอร์ของ TASITING ราคาถูกกว่า KFC เช่น เบอร์เกอร์ไก่เผ็ดที่ Tastien ตั้งราคาเพียง 16 หยวน ขณะที่ KFC ตั้งราคา 19.5 หยวน

ฟาสต์ฟู้ดจีน

ภาพจาก www.instagram.com/wallaceburgerandchicken

Tastien แม้จำนวนนสาขาจะแซงแมคโดนัลด์ในจีนไปแล้ว แต่ยังเป็นรอง Wallace แบรนด์เบอร์เกอร์ท้องถิ่นในจีนเช่นกัน มีสาขากว่า 20,000 แห่ง แต่ที่น่าจับตามอง คือ Tastien เดินกลยุทธ์ขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ ใช้พื้นที่ขั้นต่ำ 65 ตร.ม. งบลงทุนเริ่มต้น 4.5 แสนหยวน หรือประมาณ 2.3 ล้านบาท

เป็นกลยุทธ์ช่วยให้ขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว เหมือนกรณีแบรนด์ไอศกรีมและชาผลไม้ Mixue เติบโตรวเร็วมีสาขามากกว่า 25,000 แห่งในจีน และ 36,153 ทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขามากสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจาก Mcdonald, Subway, Starbucks แซงหน้า KFC ไปแล้ว

สรุปก็คือ แบรนด์จีนใช้กลยุทธ์เรื่องความเป็นชาตินิยม ราคาถูก เมนูหลากหลาย รวมถึงขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ เป็นปัจจัยทำให้เอาชนะแบรนด์จากตะวันตกได้อย่างรวดเร็ว

แหล่งข้อมูล https://bit.ly/4eLBwp1

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช