‘โควิดคลี่คลาย! หมุดหมายของผู้บริโภคยังเป็นทำเลปั้มน้ำมันหรือไม่?

ปัจจุบัน “ปั้มน้ำมัน” ถือเป็นทำเลทองในการทำธุรกิจหรือเปิดร้านค้าขาย เพราะผู้ประกอบการต่างได้รับผลกระทบแสนสาหัสจากมาตรการล็อกดาวน์ปิดห้างสรรพสินค้ามาแล้ว อีกทั้งตั้งแต่เกิดระบาดโควิดคนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซื้อของออนไลน์ และเดลิเวอรี่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ธุรกิจพาเหรดย้ายทำเลออกนอกห้าง หนึ่งในทำเลทองเป้าหมาย นั่นคือ ปั้มน้ำมัน

ถ้าถามว่าเมื่อ โควิดคลี่คลาย แล้ว ทำเลปั้มน้ำมันยังน่าสนใจและเป็นเป้าหมายของผู้บริโภค ในการสั่งซื้อสินค้าและใช้บริการธุรกิจร้านค้าอยู่อีกหรือไม่ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจะนำมาวิเคราะห์ให้ทราบครับ

จุดเด่นของปั้มน้ำมัน

โควิดคลี่คลาย

ด้วยเครือข่ายสาขาสถานีให้บริการน้ำมันของค่ายต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าถนนสายหลัก ถนนสายรอง และย่านชุมชนที่พักอาศัย โดยรูปแบบการเปิดปั้มน้ำมันมีทั้งในรูปแบบ COCO (Company Owned, Company Operated) และ DODO (Dealer Owned, Dealer Operated) จึงทำให้ปั้มน้ำมันขยายสาขาได้เร็วและครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

ขณะเดียวกัน ปั้มน้ำมันแบรนด์ต่างๆ ยังมีพื้นที่กว้างขวาง และได้จัดสรรพื้นที่ให้ธุรกิจและร้านค้าต่างๆ รวมถึงรถขายของเคลื่อนที่มาจอด เพื่อขายสินค้าต่างๆ จึง Win-Win ทั้งผู้ประกอบการปั้มน้ำมัน ผู้ประกอบการร้านค้า และผู้บริโภค

10

จุดเด่นของปั้มน้ำมันแต่ละค่ายยังได้เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน รองรับความต้องการของผู้บริโภคที่สัญจรผ่านและอาศัยใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ร้านกาแฟ ร้านขายของฝาก ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านซักผ้า ธนาคาร ร้านส่งพัสดุ ฯลฯ เมื่อมีธุรกิจร้านค้าเหล่านี้เปิดให้บริการในปั้มน้ำมัน จะช่วยดึงดูดให้เข้ามาใช้บริการในปั้มน้ำมันมากขึ้น ที่สำคัญยังช่วยตอบโจทย์ผู้บริโภคเรื่องของความสะดวก รวดเร็ว มีสินค้าและบริการในการดำเนินชีวิตประจำวันครบวงจร

สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความได้เปรียบของทำเลปั้มน้ำมันเมื่อเทียบกับทำอื่นๆ โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า ที่บางครั้งผู้บริโภคต้องใช้เวลาในการขับรถวนหาที่จอดรถและใช้เวลาเดินทางนานเพราะรถติด ด้วยปัจจัยเหล่านี้เราจะเห็นว่าปั๊มน้ำมันแต่ละค่าย มีการพัฒนาปั้มน้ำมันสู่การเป็น Power of Network ในด้านต่างๆ ที่ตอบโจทย์ความสะดวกอย่างครบวงจร

ปั้มน้ำมันยังครองใจผู้บริโภค

16

หากลองนั่งหลับตานึกดูว่าภายในปั้มน้ำมันมีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้างนอกจากการแวะเติมน้ำมัน จะพบว่าอย่างแรกที่หลายคนมีอยู่ในหัว ก็คือ ห้องน้ำ ร้านสะดวกซื้อ ตู้ ATM ร้านอาหารรูปแบบต่างๆ บางปั้มน้ำมันมีถึงธนาคาร ร้านสะดวกซัก สะดวกส่ง ร้านขายของฝาก ร้านขายเสื้อผ้า รองเท้า ร้านขายอุปกรณ์ตกแต่งรถ ศูนย์ซ่อมรถ ล้างรถ ฯลฯ

โดยเฉพาะร้านอาหารประเภทต่างๆ และร้านสะดวกซื้อ ซึ่งปัจจุบันสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้หลายอย่าง สะดวก รวดเร็ว ใกล้แหล่งชุมชนที่พักอาศัย และทางสัญจรผ่านไปมา ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวจะช่วยดึงดูดผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี มีข้อมูลชัดเจนว่าร้านอาหาร หรือบริการต่างๆ เลือกขยายสาขาใหม่ทำเลปั้มน้ำมันมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งรูปแบบ Standalone + Drive Thru หรือเช่าพื้นที่ขนาดเล็ก (ห้อง) เพื่อเน้นขายแบบ Delivery, Take Home เป็นหลัก

โมเดลนี้ได้ผลอย่างมากพื้นที่ชานเมืองที่ห้างสรรพสินค้าไปไม่ถึง เป็นช่องว่างสำหรับการเช่าพื้นที่ปั้มน้ำมัน เปิดร้านอาหาร ร้านขายยา ธุรกิจบริการต่างๆ รองรับลูกค้าชุมชนรอบด้าน เชื่อว่าต่อให้โควิด-19 คลี่คลายปกติ

13

ผู้บริโภคยังอยากกิน KFC, เชสเตอร์, เบอร์เกอร์คิง, แมคโดนัลด์, Café Amazon, ข้าวมันไก่, ข้าวแกงปักษ์ใต้, ก๋วยเตี๋ยว, ลูกชิ้นทอด, ไก่ย่าง, ส้มตำ, ซื้อของอุปโภค-บริโภค, ซื้อของจุกจิก, กดเงิน-โอนเงิน รวมถึงการฝาก-ส่งพัสดุต่างๆ ชาร์ตแบตเตอรี่รถยนต์, ซ่อมรถ, เติมลมยาง

แค่ขับรถมาปั้มน้ำมันแถวบ้านหรือทางสัญจรผ่าน ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปห้างและหาที่จอดรถ หรือไม่ก็กดเรียกใช้บริการเดลิเวอรี่ผู้ส่งอาหารของค่ายต่างๆ หรือเดลิเวอรี่ร้าน 7-11 ในปั้มน้ำมันใกล้ที่พักอาศัยมาส่งได้สะดวกรวดเร็วเช่นกัน

15

นั่นคือ จุดเด่นและความน่าสนใจของปั้มน้ำมัน แม้ว่าโควิด-19 จะคลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ยังเป็นหมุดหมายปลายทางของผู้บริโภคอยู่เช่นเดิม เพราะตอบโจทย์ในเรื่องของความสะดวกสบาย รวดเร็ว ใกล้บ้าน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันไม่ต่างไปจากห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจากhttps://bit.ly/3EMDsNY


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช