“แดง แหนมเนือง” จากธุรกิจหาบเร่ สู่ธุรกิจอาหารระดับประเทศ
แหนมเนืองที่เราคุ้นเคยที่จริงต้องออกเสียงว่า “แนมเหนือง” ตามภาษาเวียดนามที่หมายถึง “เมี่ยงหมูย่าง” ในอดีตอาหารชนิดนี้ถือเป็นเมนูที่หาทานได้ยาก แต่ปัจจุบันสามารถหารับประทานได้ทั่วไป โดยปกติแล้วแหนมเนืองจะประกอบไปด้วยหมูก้อน แผ่นแป้ง ผักสดต่างๆ และส่วนสำคัญคือ น้ำจิ้ม ที่แต่ละร้านก็จะมีสูตรเด็ดแตกต่างกันออกไป แต่สำหรับคนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้แหนมเนืองจริงๆ ต้องรู้จักชื่อของ “ แดง แหนมเนือง ” รวมถึง “วีที แหนมเนือง” ที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 50 ปี และ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่เส้นทางกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เส้นทางของ “แดง แหนมเนือง” เริ่มต้นจากแม่ค้าหาบเร่
ภาพจาก https://bit.ly/3ueYI9w
จุดเริ่มต้นของธุรกิจระดับประเทศนี้ ต้องย้อนไปตั้งแต่ปี 2488 ที่คุณพ่อตวน โฮวัน คุณแม่วี แซ่เรือง ได้เข้ามาอยู่ในเมืองไทย ด้วยความที่เป็นคนเชื้อสายเวียดนาม จึงมีสูตรอาหารของเวียดนามติดตัวมาด้วยแต่ในช่วงแรกไม่ได้เริ่มต้นธุรกิจนี้ โดยคุณพ่อตวนเริ่มจากการเป็นช่างทอ ส่วนคุณแม่วี เป็นแม่ค้าหาบเร่ ขายทุกอย่าง ทั้งผักปลา หรือแม้กระทั่งตักน้ำจากแม่น้ำโขงหาบขายตามบ้านเรือน กระทั่งในปี 2496 คุณแม่วี เริ่มทำแหนมเนือง บั่นแบ๋ว ปอเปี๊ยะสด ปอเปี๊ยะทอด ซึ่งเป็นสูตรอาหารเวียดนามขนานแท้ ที่ผ่านการถ่ายทอดมาแต่รุ่นปู่รุ่นย่า เริ่มจัดใส่สาแหรกหาบขายตามละแวกบ้าน โดยมีคุณแดง หรือคุณวิภาดา ลูกสาวคนที่ 2 ออกเดินตามคุณแม่ไปช่วยขายของด้วย
ภาพจาก https://bit.ly/3ueYI9w
กระทั่งในปี 2511 จากการทำงานเก็บเงินสะสมมาเรื่อยคุณพ่อตวนและคุณแม่วี จึงเก็บรวบรวมเงินมาเช่าอาคารพาณิชย์ 1 คูหา เปิดเป็นร้านขายแหนมเนือง ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นก่อตั้งกิจการร้านแดงแหนมเนือง ซึ่งมีลูกๆ ทั้ง 8 คนมาร่วมด้วยช่วยกันทำธุรกิจนี้ และในปี 2533 “แดงแหนมเนือง” เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เพราะมีการเปิดสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูต้อนรับนักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ และทำให้จังหวัดหนองคายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
ภาพจาก https://bit.ly/3ueYI9w
มาถึงในปี 2547 “แดงแหนมเนือง” ได้รับคัดเลือกให้เป็นสินค้าโอทอป (OTOP) ระดับ 5 ดาว ประเภทอาหาร เป็นเจ้าแรก และเป็นเจ้าเดียวของจังหวัดหนองคาย ที่รักษาระดับมาตรฐาน 5 ดาว มาตลอด 8 ปีเต็ม รวมถึงในปี 2549 ที่ได้รับรางวัลหนองคายเบสท์ (NongKhai Best) ประเภทอาหาร ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ ที่บ่งบอกให้ผู้บริโภคมั่นใจที่จะเลือกซื้อแหนมเนือง และของฝากจากจังหวัดหนองคายที่มีคุณภาพ และมาตรฐานที่ดีที่สุด
ในปี 2551 แดง แหนมเนืองได้เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย โดยร่วมมือกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในโครงการ “อร่อยทั่วไทย สั่งได้ที่ไปรษณีย์” โดยทำการจัดส่งกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล ถึงมือลูกค้าภายใน 1 วัน และจัดส่งสินค้าไปทั่ว 19 อำเภอเมือง ในจังหวัดภาคอีสาน
และนับถึงตอนนี้ “แดงแหนมเนือง” ถือเป็นสุดยอดธุรกิจ ที่คนทั่วทั่งประเทศรู้จักเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลามากกว่า 50 ปี สินค้าครองใจลูกค้าจำนวนมาก และก้าวสู่ความเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างสมบูรณ์แบบ
จุดเด่นน่าสนใจ ทำไม “แดง แหนมเนือง” ถึงฮิต
ภาพจาก https://bit.ly/3R3hLgq
แดงแหนมเนือง และ วีที แหนมเนือง มีความเกี่ยวข้องกัน โดยในครอบครัวซึ่งมีพี่น้อง 8 คน ช่วยกันดูแลกิจการแดงแหนมเนือง ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย อยู่ที่จังหวัดหนองคายส่วนพี่ชายกับพี่สาว ลำดับที่ 5-6 ดูแลกิจการวีทีแหนมเนือง อุดรธานี และพี่สาวลำดับที่ 7 ดูแลร้านวีทีแหนมเนือง ที่เชียงใหม่ กิจการทั้ง 3 แห่งนี้ ต่างได้สูตรการทำอาหารมาจากคุณพ่อคุณแม่เหมือนกันหมด เพียงแต่วางตำแหน่งธุรกิจของตัวเองไว้คนละตลาด แต่ถ้าพิจารณาถึงความน่าสนใจที่ทำให้เป็นสินค้ายอดฮิตจะพบว่า
ภาพจาก https://bit.ly/3ODfIOA
1. รสชาติโดนใจคนไทย
แดง และวีที แหนมเนือง ต่างมีจุดขายเรื่องรสชาติของอาหารที่ถูกปากคนไทย ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการเป็นแหนมเนืองรายแรกๆ ในประเทศไทย ทำให้คนไทยรู้สึกคุ้นลิ้นในรสชาติของแหนมเนืองทั้งสองเจ้า นอกจากรสชาติอาหารที่ถูกปากแล้ว แดง และ วีที แหนมเนือง ยังใช้จุดขายความสดใหม่ของผัก ที่ทำให้น่าสนใจมากขึ้น
2. พัฒนาการขายสู่ระบบเดลิเวอรี่
ในยุคแรกธุรกิจมีข้อจำกัดด้านการขยายฐานลูกค้า คนนอกพื้นที่เข้าถึง แดงแหนมเนืองได้ยาก แต่หลังจากพัฒนามาสู่ระบบเดลิเวอรี่ ด้วยการจับมือกับไปรษณีย์ไทยให้บริการส่งแหนมเนืองไปยังลูกค้าทั่วประเทศและการจับมือกับไปรษณีย์ไทยทำให้ชื่อเสียงของแหนมเนืองทั้ง 2 แบรนด์ เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นด้วย
ภาพจาก https://bit.ly/3NEpCOB
3. พัฒนาสู่ของฝากระดับประเทศ
ปัจจุบันแดง แหนมเนืองและวีที แหนมเนืองเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อมาก และพัฒนาสู่การเป็นสินค้าในสนามบินได้ด้วย ซึ่งได้มีการปรับปรุงพัฒนาแพคเกจให้สอดคล้องกับมาตรการของสำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จึงทำให้กลายเป็นของฝากที่มียอดขายเพิ่มมากขึ้น
เคล็ดลับการบริหารธุรกิจ “แดง แหนมเนือง” สู่ความสำเร็จ
ภาพจาก https://bit.ly/3OT289x
การจะสร้างธุรกิจให้เติบโตถือเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องมีวิสัยทัศน์และมุมมองที่กว้างไกล อย่าง แดง แหนมเนือง กว่าจะมีวันนี้ ต้องสะสมความรู้และประสบการณ์อย่างมาก รวมถึงต้องเรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภค ยกตัวอย่าง ในช่วงหนึ่งที่ลูกค้าอยากซื้อแหนมเนือง กลับไปทานบ้าน แต่ด้วยแพคเกจที่เป็นจุดด้อยในขณะนั้น ที่ยังเป็นลังกระดาษนำมาผ่า 2 ส่วนแล้วพับบนด่าง ก่อนนำไปบรรจุสินค้า ถือเป็นแพคเกจดั้งเดิมที่ภายหลังได้มีการเรียนรู้และสร้างแพคเกจใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น สะดวกต่อลูกค้ามากขึ้น ยอดขายก็เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ในยุคแรกเรื่องของการตั้งชื่อร้านก็สำคัญเพราะช่วงนั้น ยังไม่มีชื่อเรียกขานตรงกัน ลูกค้าบางคน เรียก ร้านคุณแดง, ร้านเจ๊แดง , ร้านแดง และเพื่อให้เกิดภาพจำที่ชัดเจน เลยตัดสินใจใช้ชื่อ “แดงแหนมเนือง” อย่างเป็นทางการ ก่อนคิดออกแบบโลโก้ ให้ดูทันสมัย มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษเพื่อความเป็นสากลมากขึ้น ยังไม่รวมถึงการพัฒนาสินค้าและเมนูให้มีความหลากหลาย การเพิ่มช่องทางการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ล้วนแต่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ธุรกิจ แดง แหนมเนือง เติบโตได้มากยิ่งขึ้น
สิ่งที่เราควรเรียนรู้สำหรับคนที่อยากมีกิจการของตัวเอง สิ่งสำคัญต้องเริ่มจากสินค้าที่มีคุณภาพ และพัฒนาการตลาดให้สอดคล้อง จากนั้นต้องรู้จักรักษาฐานลูกค้าเก่า ต่อยอดลูกค้าใหม่ และก้าวตามเทรนด์เทคโนโลยีให้ทัน เรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเคล็ดลับสำคัญในการสร้างธุรกิจให้เติบโตเพิ่มขึ้นได้
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3HR544p , https://bit.ly/3AmUBft , https://bit.ly/3bqXjpE , https://bit.ly/3OK6vE0 , https://bit.ly/3QJ5yO5
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3bJzFoA
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)