แฉ! จริงมั๊ย ผู้ผลิตจน พ่อค้าคนกลางรวย

ถ้าพูดถึงผู้ผลิต กับ พ่อค้าคนกลาง เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าเป็นเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ชาวประมง แต่จริงๆ แล้ว ผู้ผลิตมีมากมายหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน วิสาหกิจชุมชนต่างๆ หรือแม้แต่…ก็ถือว่าเป็นผู้ผลิต

แต่ถ้าถามว่า จริงหรือไม่ทุกวันนี้ คนที่เป็นผู้ผลิตจน ส่วนคนที่เป็น พ่อค้าคนกลางรวย คำตอบไม่แน่นอนเสมอไป มีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝ่ายไหนจะจน จะรวย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และบริบทด้วย รวมถึงผลผลิตหรือสินค้าที่ทำออกมาเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคหรือไม่

พ่อค้าคนกลางจะหาสินค้าอะไรมาถึงขายดี

พ่อค้าคนกลางรวย

กรณีแรก..เกษตรกร หลายคนมองว่าถูกเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง กดราคาผลผลิต ขายได้ราคาต่ำ แต่ต้องดูด้วยว่าผลผลิตเหล่านั้นมีคุณภาพหรือไม่ เป็นที่ความต้องการในตลาดมากน้อยแค่ไหน ถ้าความต้องการน้อย (สินค้าล้นตลาด) ก็ขายได้ราคาต่ำ แต่ถ้าความต้องการในตลาดสูง ก็ขายได้ราคาสูง เช่น ชาวสวนทุเรียนจะขายได้ราคาดีมาก พ่อค้าคนกลางก็กล้ารับซื้อ เพราะผู้บริโภคมีความต้องการสูง กิโลละ 200 บาทก็กล้าซื้อกิน

อีกกรณีในตอนนี้ เราจะเห็นได้ว่า ราคาพืชผักต่างๆ หมู ไข่ไก่ ในท้องตลาดราคาจะสูงมาก ยกตัวอย่างพริกราคากิโลกรัมละ 400-500 บาท คิดว่าเกษตรกรที่ปลูกผักหรือเลี้ยงสัตว์เหล่านี้รวยหรือจน ที่สินค้าราคาสูงเพราะผลผลิตออกมาน้อย ความต้องการบริโภคสูง เมื่อสถานการณ์เป็นแบบนี้ทำให้พ่อค้าคนกลางรวยไปด้วย ส่วนผู้บริโภครับกรรม

พ่อค้าคนกลางรวย

มาดูผู้ผลิตที่เป็นกลุ่ม “โรงงาน” กันบ้าง ถ้าจะเจ๊งจนต้องเป็นโรงงานที่ผลิตสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ตลาดไม่ต้องการ สินค้าไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในช่วงเวลาหรือสถานการณ์ตอนนั้น เห็นได้จากช่วงการระบาดโควิด-19 โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยรวยกันถ้วนหน้า ทุกโรงงานผลิตแทบไม่ทัน พ่อค้าคนกลางก็นำมาขายราคาสูงอีกต่างหาก กล่าวคือ รวยทั้ง 2 ฝ่าย

หรืออีกตัวอย่างที่เห็นชัดเจน ช่วงนี้เป็นหน้าฝน จะเห็นได้สินค้าที่ขายดีมากๆ ตอนนี้ คือ เสื้อกันฝน บางครั้งหาซื้อในร้าน 7-Eleven แทบจะไม่มี ขายหมดเกลี้ยง ทำให้โรงงานผลิตเสื้อกันฝนรวยอย่างเดียว บางชนิดที่ขายใน 7-Eleven ตอนนี้ราคา 29 บาท ใส่ได้ไม่ถึง 3 วัน ก็ขาดแล้ว ผู้บริโภคต้องหาซื้อใหม่ สถานการณ์แบบนี้โรงงานไม่เจ๊งอย่างแน่นอน

พ่อค้าคนกลางรวย

คนส่วนใหญ่มักมองว่า พ่อค้าคนกลางรวยกว่าคนผลิต เพราะคิดว่าบริบทของผู้ผลิตจะอยู่กับที่ ไม่เดินทาง ไม่รู้ตลาด ส่วนพ่อค้าคนกลางเป็นคนหาสินค้าจากแหล่งผลิตต่างๆ นำกลับมาขายให้ผู้บริโภคที่ไม่รู้ว่าจะหาซื้อสินค้านั้นได้จากที่ไหน พ่อค้าคนกลางถือตัวแทนผลิตกับผู้บริโภค ทำให้ต้องขายเอากำไรมากกว่าราคาที่รับซื้อจากแหล่งมาเป็นเรื่องธรรมดา

อย่างไรก็ตาม การมาของอินเทอร์เน็ตทำให้คนติดต่อกันได้ง่ายขึ้น การค้าขายเปลี่ยนไป ผู้บริโภคหาซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น สามารถสั่งสินค้าตรงจากโรงงานหรือแหล่งผู้ผลิตได้เอง แทบไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางเลย โรงงานหรือผู้ผลิตก็สามารถขายสินค้าผ่านผู้บริโภคได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางได้เหมือนกัน

พ่อค้าคนกลางรวย

สรุปก็คือ ทุกอาชีพไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือพ่อค้าคนกลางต่างมีต้นทุน มีความเสี่ยง และหวังผลกำไรแทบทั้งนั้น ทุกสถานการณ์และบริบทของแต่ละฝ่าย จะเป็นตัวกำหนดเองว่าใครจะรวย ใครจะจน ยกตัวอย่างกรณี “ซีพี” อยู่ในบริบทที่แข็งแกร่งทุกด้าน ทั้งเงินทุน ทีมงาน เป็นผู้ผลิตก็รวย เป็นพ่อค้าคนกลางก็ยิ่งรวย เรียกว่ากินรวบประเทศไทย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช