แฉคนวงใน! แฟรนไชส์ไทย อยู่จุดไหนบนเวทีโลก

การระบาดโควิดแม้จะคลี่คลายไปแล้ว แต่เศรษฐกิจทั่วโลกยังถดถอย อัตราเงินเฟ้อสูง ค่าครองชีพแพง สินค้าวัตถุดิบขึ้นราคา ต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลายๆ ธุรกิจปิดกิจการ ปลดพนักงานจำนวนมาก ทำให้หลายๆ คนที่ตกงานจำนวนหนึ่งสนใจทำธุรกิจ แฟรนไชส์ไทย มากขึ้น เพราะเริ่มต้นได้ง่ายกว่าการสร้างธุรกิจด้วยตัวเอง

ปัจจุบันธุรกิจ แฟรนไชส์ไทย มีมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาท อัตราเติบโตเฉลี่ย 15-20% ต่อปี มีจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ประมาณ 637 กิจการ มีจำนวนสาขารวมกันมากกว่า 90,000 สาขา แบ่งออกเป็นธุรกิจแฟรนไชส์เครื่องดื่มและไอศกรีม 161 ราย, อาหาร 156 ราย, การศึกษา 101 ราย, บริการ 64 ราย, เบเกอรี่ 57 ราย, ค้าปลีก 40 ราย, โอกาสทางธุรกิจ 21 ราย, การแพทย์ 20 ราย, งานพิมพ์ 10 ราย และอสังหาริมทรัพย์ 7 ราย

สำหรับมูลค่าธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลกตั้งแต่ปี 2564 อยู่ที่ 100,797.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าเติบโตถึง 279,916.51 ล่านเหรียญสหรัฐในปี 2575 มีอัตราเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9.73% ต่อปี (2564-2575)

ข้อมูลจาก Global Franchise ปี 2566 ธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลกสร้างรายได้กว่า 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศที่มีขนาดธุรกิจแฟรนไชส์ใหญ่สุดในโลก คือ สหรัฐอเมริกา สร้างรายได้จากธุรกิจแฟรนไชส์มากกว่า 800,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

โดยธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลกมีการขยายสาขาต่างประเทศเพิ่มขึ้น สร้างรายได้เฉลี่ยร้อยละ 18 จากรายได้ทั้งหมด ธุรกิจแฟรนไชส์ที่เติบโตสูงสุด คือ บริการส่วนตัว เช่น บริการซักแห้ง ฟิตเนส นวด มีมูลค่า 42.1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

สำหรับประเทศที่มีจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์มากที่สุดในโลก คือ เกาหลีใต้ 4,800 แบรนด์, อินเดีย 3,922 แบรนด์, สหรัฐฯ 3,400 แบรนด์, ไต้หวัน 3,300 แบรนด์, บราซิล 3,000 แบรนด์ ส่วนประเทศอื่นๆ ในอาเซียนอย่าง ฟิลิปปินส์ 2,000 แบรนด์, มาเลเซีย 900+ แบรนด์ มากกว่าไทยที่มีอยู่ราวๆ 637 แบรนด์

ปี 2566 ธุรกิจแฟรนไชส์ในเอเชียคิดเป็นร้อยละ 30 ของธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลก โดยจีนเป็นประเทศที่มีตลาดแฟรนไชส์โตต่อเนื่องมีธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 4,000 แบรนด์ เกาหลีใต้มีธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มร้อยละ 50 มาตั้งแต่ปี 2553 ไต้หวันมีธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มร้อยละ 20 ส่วนอินเดียมีตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ใหญ่สุดอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา และจีน

อย่างไรก็ตาม ประเทศในอาเซียนยังเป็นตลาดสำคัญสำหรับการขยายลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม ถือเป็นเป้าหมายการขยายแฟรนไชส์จากต่างประเทศ

ตลาดแฟรนไชส์ต่างประเทศ

สหรัฐอเมริกา

แฟรนไชส์ไทย

ปี 2566 จำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 15,000 ธุรกิจ หรือร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปี 2565 ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ มีทั้งหมด 805,436 สาขา มีการจ้างงานกว่า 254,000 ตำแหน่ง มีแรงงานในธุรกิจแฟรนไชส์ราวๆ 8.7 ล้านคน อุตสาหกรรมแฟรนไชส์ในสหรัฐฯ มีมูลค่ารวม 8.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

จีน

แฟรนไชส์ไทย

ปี 2563 มีแฟรนไชส์ซอร์ลงทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์จีนประมาณ 6,500 ธุรกิจ และสมาคมแฟรนไชส์จีน (China Chain Store & Franchise Association) ระบุ จีนมีร้านค้าแฟรนไชส์กว่า 257,000 สาขา สร้างรายได้กว่า 800,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตร้อยละ 17 ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดในจีน ได้แก่ KFC 7,000 แห่ง และ McDonald’s 3,500 แห่ง

ฟิลิปปินส์

แฟรนไชส์ไทย

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในฟิลิปปินส์ คือ ธุรกิจอาหาร สปา และเครื่องใช้ต่างๆ ในสปา ในปี 2565 ธุรกิจแฟรนไชส์ในฟิลิปปินส์สร้างรายได้ร้อยละ 7.8 ของ GDP สร้างงานกว่า 2 ล้านตำแหน่ง แฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่มสร้างรายได้ร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.08 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแฟรนไชส์อื่นๆ สร้างรายได้ร้อยละ 10 มูลค่า 1.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันตลาดแฟรนไชส์ฟิลิปปินส์ ใหญ่อันดับ 7 ของโลก รองจากเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อินเดีย ไต้หวัน บราซิล และฝรั่งเศส

อินเดีย

แฟรนไชส์ไทย

ปี 2563 ตลาดแฟรนไชส์อินเดียมีมูลค่า 50,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 4 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน คาดว่าในปี 2567 มีมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีจำนวนแฟรนไชส์ซอร์กว่า 4,600 ธุรกิจ มีสาขาแฟรนไชส์ 200,000 แห่ง

ความนิยมแฟรนไชส์ในไทย

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมในเมืองไทย ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบ Product Franchise เป็นระบบขายสินค้า ใช้เงินลงทุนต่ำ หลักพันไปจนถึงหลักแสนบาท รูปแบบร้านเป็นแบบคีออส รถเข็น เปิดร้านได้ง่าย คืนทุนเร็ว จ่ายเงินค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) ครั้งเดียวเปิดร้านขายได้เลย ไม่เก็บค่า Royalty Fee และ Marketing Fee

อีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่คนสนใจเช่นกัน คือ Business Format Franchise เป็นแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ ขายระบบหน้าบ้าน-หลังบ้าน มีทีมงานสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นอย่างดี พวกนี้ใช้เงินลงทุนสูงหลักล้านบาทขึ้นไป ขยายสาขาได้ยาก หลายๆ แบรนด์บริษัทต้องขยายสาขาเอง ส่วนแบรนด์ดังๆ อย่าง คาเฟ่ อเมซอน, 7-11 มีการขยายแฟรนไชส์ต่อเนื่อง

สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่สามารถเติบโตต่อเนื่องในเมืองไทย ยังเป็นอาหารและเครื่องดื่ม ค้าปลีก บริการ ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว คือ ธุรกิจสุขภาพและความงาม การดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

ซื้อแฟรนไชส์

ปัจจุบันมีธุรกิจ แฟรนไชส์ไทย ที่ประสบความสำเร็จ สามารถขยายสาขาแฟรนไชส์ไปต่างประเทศจำนวน 38 ราย ใน 31 ประเทศ อาทิ อาทิ กัมพูชา สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เมียนมา สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ กาตาร์ จอร์แดน บาห์เรน แคนาดา เนปาล รัสเซีย เวียดนาม เป็นต้น โดยกระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดตลาดเป้าหมายของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ได้แก่ จีน, อาเซียน, สหรัฐอเมริกา, ตะวันออกกลาง และ สหภาพยุโรป

สรุปก็คือ แฟรนไชส์ไทย ยังคงต้องใช้ระยะเวลาในพัฒนาให้เทียบเท่ากับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะฟิลิปปินส์แม้ว่าเขาจะไม่มีกฎหมายที่ควบคุมอุตสาหกรรมแฟรนไชส์โดยตรง แต่สามารถพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างเข้มแข็ง หลายๆ แบรนด์มีการเติบโตและแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องปรับตัวและวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ ทำการตลาดอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงสร้างระบบแฟรนไชส์ทั้งหลังบ้าน-หน้าบ้านให้เข็มแข็ง

แหล่งข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช