เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น! ทุบธุรกิจไทย เจ๊งแล้ว เจ๊งอีก ปิดกิจการพุ่ง

เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น เศรษฐกิจไทยยังทรุด ธุรกิจในไทยเจ๊งแล้ว เจ๊งอีก แค่เดือนเดียว (มิ.ย.) พบว่าธุรกิจประกาศปิดกิจการ ยุติการดำเนินงานเพิ่มอีก 10 แห่ง จากปัญหาเศรษฐกิจ ความต้องการในตลาดลดลง ค่าเช่าแพง ผลประกอบการขาดทุนสูง

ส่วนภาคโรงงาน 5 เดือนแรก ม.ค.-พ.ค.67 ปิดกิจการไปแล้ว 567 แห่ง เฉลี่ย 113 โรงงานต่อเดือน มีแรงงานตกงานกว่า 15,000 คน อุตสาหกรรมที่ปิดกิจการมากที่สุด คือ กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ และกลุ่มอุตสาหกรรมโลหะ คาดปี 2568 มีบริษัทขนาดใหญ่แบกรับภาระไม่ไหว ปิดตัวอีกหลายราย

1.โรงเรียนดัง “ราชินีวิพัฒน์” เลิกกิจการ

เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น

ภาพจาก https://bit.ly/4cNURnx

วันที่ 20 มิ.ย. 2567 เพจโรงเรียนราชินีวิพัฒน์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกาศเลิกกิจการ จากปัญหาจำนวนนักเรียนไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการ ประกอบกับไม่มีนักเรียนอยากเรียนต่อในปี 2567 โดยโรงเรียนได้เลิกกิจการมาตั้งแต่วันที่ 5 มิ.ย. 2567

2.ห้างดัง “โรบินสัน ศรีนครินทร์” ปิดกิจการ

เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น

ภาพจาก https://bit.ly/3XV6XXN

วันที่ 20 มิ.ย. 2567 มีรายงานแจ้งว่า ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ศรีนครินทร์ ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ เตรียมปิดให้บริการถาวร โดยเปิดให้บริการถึงวันที่ 20 ส.ค. 2567 หลังเปิดมายาวนานกว่า 30 ปี

3.สกูตเตอร์ไฟฟ้า Beam ปิดกิจการในไทย

เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น

ภาพจาก www.facebook.com/ridebeamthailand

วันที่ 24 มิ.ย. 2564 เพจ Beam Thailand ของ บริษัท บีม โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศยุติกิจการในไทย วันที่ 30 มิ.ย. 2567 โดยให้บริการวันสุดท้าย 27 มิ.ย. 2567

4.บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ Devas IPASON ประกาศล้มละลาย

เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น

ภาพจาก www.facebook.com/DevasIPASON

วันที่ 24 มิ.ย. 2567 มีรายงานข่าว บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ Devas IPASON ดำเนินกิจการในไทยมากว่า 20 เดือน ไม่สามารถอยู่รอดได้ ประกาศล้มละลาย เพราะเหลือทีมงานเพียง 5 คน จากทั้งหมด 160 คน ปัญหาเกิดจากทีมหลังการขายทั้งหมดได้ลาออก ทำให้ความสามารถในการจัดการมีจำกัด

5.เบียร์ “ไฮเนเก้น” ปิดโรงงานผลิตในเวียดนาม

วันที่ 25 มิ.ย. 2567 มีรายงานข่าว “ไฮเนเก้น” (Heineken) บริษัทผู้ผลิตเบียร์ยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของโลก ประกาศหยุดการดำเนินงานโรงเบียร์แห่งหนึ่งในเวียดนามชั่วคราวตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2567 จากปัญหาความต้องการลดลง กฎหมายห้ามดื่มสุราเข้มงวดขึ้น รูปแบบการบริโภคเปลี่ยนไป

6.แอปฯ “โรบินฮู้ด” ปิดให้บริการถาวร

เศรษฐกิจไร้สัญญาณฟื้น

ภาพจาก www.facebook.com/RobinhoodDeliveryApp

วันที่ 26 มิ.ย. 2567 มีรายงานว่า บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าคณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติให้ยุติบริการแอปพลิเคชั่น Robinhood ตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. 2567 เป็นต้นไป หลังจากจัดตั้งมามีวัตถุประสงค์ “ช่วยเหลือสังคม” ไม่คิดค่าสมัคร-ค่า GP จากร้านอาหาร โดยปี 2565 ขาดทุนกว่า 1,900 ล้านบาท และปี 2566 ขาดทุนกว่า 2,100 ล้านบาท

7.”ร้านข้าวมันไก่” ดราม่าดัง ปิดกิจการ

ภาพจาก https://bit.ly/4by5g5S

วันที่ 30 มิ.ย. 2567 มีรายงานว่า ร้านข้าวมันไก่ร้อยเอ็ด ที่เป็นประเด็นดราม่าในโลกออนไลน์ ติดป้ายเก็บเงินจากไรเดอร์ที่นั่งรอในร้าน 10 บาท ได้ติดป้ายประกาศปิดกิจการไปแล้ว เกิดจากสาเหตุกระแสโซเชียลเข้าไปลงทัวร์ถล่มไม่หยุด

8.ปิดตำนาน 32 ปี รง.เฟอร์นิเจอร์ส่งออก ระยอง ปิดกิจการ

วันที่ 2 ก.ค. 2567 เพจ นิวส์ชลบุรี-ระยอง ออนไลน์ โพสต์พนักงานเศร้า โรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางผสมไม้ปาติเกิลส่งออกต่างประเทศ ไปต่อไม่ไหว จำใจต้องปิดกิจการ จากปัญหาเศรษฐกิจ ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น

9.ร้านเค้กดัง Sweety Secret ประกาศเซ้งสาขาสามย่าน เหตุค่าเช่าแพง

ภาพจาก https://bit.ly/3RUqIeo

วันที่ 4 ก.ค. 2567 มีรายงานว่า ร้านบุฟเฟต์เค้กชื่อดัง Sweety Secret ได้ประกาศเซ้งร้านสาขาสามย่าน จากปัญหาค่าเช่าปรับขึ้นราคา สู้ต่อไม่ไหว โดยร้านยังเปิดให้บริการไปจนกว่าจะมีคนมารับเซ้งร้านต่อ

10.ร้านสหกรณ์จังหวัดตราด ปิดกิจการสาขาเนินทราย

ภาพจาก https://bit.ly/3VN89K8

วันที่ 4 ก.ค. 2567 มีรายงานข่าวว่า ร้านสหกรณ์จังหวัดตราด ประกาศปิดกิจการ สาขา 2 (เนินทราย) หลังเปิดดำเนินงานมากว่า 10 ปี จากปัญหาการบริหารภายใน การแข่งขันกับยักษ์โมเดิร์นเทรดไม่ไหว ทำให้ผลการดำเนินกิจการขาดทุนสูงถึง 138 ล้านบาท พร้อมประกาศขายที่ 24 ไร่ เพื่อชำระเงินกู้

จะเห็นได้ว่า สาเหตุที่ธุรกิจต่างๆ ประกาศปิดกิจการ ยุตติการดำเนินงาน มาจากปัจจัยหลายด้านทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น กำลังซื้อประชาชนไม่ดี มีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ค่าครองชีพและภาระค่าใช้จ่ายภาคธุรกิจและประชาชนสูง มีภาระหนี้สิน ปัญหาสงครามในต่างประเทศ ทำให้มีผลกระทบต่อสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช