เปิด 7-Eleven เจ้าของพื้นที่เอง คืนทุนเมื่อไหร่

ปัจจุบันสาขา 7-Eleven ในไทย สิ้นไตรมาส 2/2567 มีจำนวน 14,854 สาขา แบ่งเป็นสาขาบริษัท 51% อีก 49% เป็นสาขาของ Store Business Partner กับ Sub-Area รับสิทธิ์ช่วงอาณาเขต

สัดส่วนรายได้ 7-Eleven แบ่งออกเป็นสินค้าอุปโภค 24% ที่เหลือ 76% เป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม แต่ละสาขาของ 7-Eleven มียอดขายเฉลี่ยต่อวัน 86,656 บาท ยอดซื้อต่อบิล 85 บาท มีจำนวนลูกค้าเฉลี่ยต่อวัน 1,007 คน

การเปิดแฟรนไชส์ร้าน 7-Eleven หรือการเป็น Store Business Partner มีให้เลือก 2 รูปแบบ

เปิด 7-Eleven

#รูปแบบที่ 1

  • เงินลงทุน 4.8 แสนบาท
  • เงินประกัน 1 ล้านบาท

รวมแล้วต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven ประมาณ 1.48 ล้านบาท อายุสัญญา 6 ปี

Store Business Partner เข้าไปเป็นผู้จัดการร้าน มีเงินเดือน 29,000 บาท ต้องบริหารค่าใช้จ่ายให้ได้ตามงบ ย้ำว่าค่าใช้จ่ายไม่ใช่ยอดขาย ค่าใช้จ่ายก็มี ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์หลัก และอื่นๆ

ถ้าบริหารร้านได้ตามเป้างบค่าใช้จ่าย จะมีปันผลแบ่งยอดกำไรจากการขายให้ 20-30% ในส่วนที่มียอดขายเกินเป้า

เปิด 7-Eleven

#รูปแบบที่ 2

  • เงินลงทุน 1.73 ล้านบาท
  • เงินประกัน 9 แสนบาท

รวมแล้วต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven 2.63 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี

ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้ส่วนแบ่งจากกำไร 54% (ยังไม่ได้หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน และอื่นๆ ในร้าน)

การเป็น Store Business Partner ทั้ง 2 รูปแบบ ผู้ลงทุนไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และการก่อสร้างออกแบบตกแต่งร้าน ทางซีพีออลล์เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด รวมถึงค่าเช่า ภาษีป้าย ภาษีที่ดิน และอื่นๆ

เปิด 7-Eleven

เปิด 7-Eleven จำนวน 1 สาขา คืนทุนเมื่อไหร่
(กรณีเป็นเจ้าของที่ดินเอง)

  • จากการสอบถาม Store Business Partner ใช้เงินลงทุนเปิดร้าน 7-Eleven รูปแบบที่ 2 = 3,900,000 บาท (สูงกว่าตัวเลขที่ทางซีพีออลล์ระบุเอาไว้ในเว็บไซต์)
  • ได้ส่วนแบ่งจากกำไร 54% (ยังไม่ได้หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน และอื่นๆ ในร้าน)
  • ได้รับค่าเช่าจาก 7-Eleven = 60,000 บาท/เดือน (ขนาดพื้นที่ 822.5 ตร.ม.)
  • สถิติร้าน 7-Eleven มียอดขายเฉลี่ยต่อวัน = 86,656 บาท
  • ยอดขายต่อเดือน = 2,599,680 บาท
  • กำไรธุรกิจค้าปลีกประมาณ 15%

เมื่อนำยอดขายมาหัก 15% ออกก็จะเหลือรายได้ 389,952 บาท/เดือน/สาขา (ยังไม่หักค่าจ้างพนักงาน และค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ)

เปิด 7-Eleven

#ค่าใช้จ่ายในร้าน

  • ค่าจ้างพนักงาน 8 คน = 104,000 บาท/เดือน (เฉลี่ย 13,000 บาท/คน)
  • ค่าน้ำ+ค่าไฟ 50,000 บาท/เดือน
  • สินค้าหมดอายุ+อุปกรณ์ต่างๆ ชำรุด 20,000 บาท/เดือน

รวมค่าใช้จ่ายในร้านเฉลี่ยต่อเดือน = 174,000 บาท

#กำไรสุทธิต่อเดือน 389,952 – 174,000 = 215,952 บาท

#Store Business Partner มีส่วนแบ่งจากกำไร 54% = 116,614 บาท/เดือน (ยังไม่หักเงินเดือนตัวเอง)

#Store Business Partner เป็นเจ้าของที่ดิน ได้รับค่าเช่าต่อเดือน = 60,000 บาท

#สรุปก็คือ Store Business Partner มีรายได้ต่อเดือน 116,614 + 60,000 = 176,614 บาท

  • ระยะเวลาสัญญา 10 ปี
  • งบลงทุน 3,900,000 บาท หารด้วยรายได้สุทธิต่อเดือน 176,614 บาท = คืนทุน 22 เดือน

เปิด 7-Eleven

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะร้องโอ้ว!! เปิด 7-Eleven รายได้ดีขนาดนี้เหรอ ขอบอกให้รู้ก่อนเลยว่า รายได้ที่เห็นนี้เป็นค่าเฉลี่ยแต่ละสาขาทั่วประเทศของ 7-Eleven บางสาขารายได้เมื่อหักค่าใช้จ่าย เหลือกำไรไม่ถึงแสนก็มี แต่บางสาขาที่อยู่ในทำเลดีๆ ลูกค้าใช้บริการเป็นพันคนต่อวัน กำไรอาจจะดีหน่อยตกอยู่ที่ 1-2 แสนบาท/เดือนก็มี

กรณีที่สาขาไหนมียอดขายดี ลูกค้าเยอะๆ คุณอาจจะเคยเห็นร้าน 7-Eleven เปิดสาขาใกล้ๆ กัน เหตุผลก็เพราะทาง 7-Eleven มองว่าพื้นที่นั้นมีความเจริญ จำนวนลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้การบริการของสาขาเดิม ไม่ทันกับความต้องการของลูกค้า จึงเป็นสาเหตุให้มีร้าน 7-Eleven เข้ามาเปิดใหม่ เพื่อบริการลูกค้าได้รวดเร็ว

แต่ก่อนเปิดสาขาใหม่ใกล้สาขาเดิม บริษัทฯ จะให้สิทธิ Store Business Partner เจ้าเดิมพิจารณาความพร้อมในการเปิดสาขาใหม่ ถ้าพร้อมก็สามารถใช้สิทธิบริหารร้านใหม่ได้เลย แต่ถ้าไม่พร้อม บริษัทฯ จะเปิดร้านรอไว้ เพื่อให้ Store Business Partner เดิมมารับโอนไปเมื่อพร้อม ซึ่งในระหว่างนั้นบริษัทฯ ก็จะมีการประกันรายได้ให้สาขาเดิมด้วย

ใครมีความรู้หรือประสบการณ์ เปิด 7-Eleven สามารถแชร์ความคิดเห็นเข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้เลย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช