เปิดร้านงบไม่เกิน 5,000 ขายอะไรได้บ้าง
เปิดร้านงบไม่เกิน 5,000 ขายอะไรได้บ้าง งบน้อยทุนน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสสร้างธุรกิจของตัวเอง สิ่งสำคัญเราควรตั้งเป้าว่า “เราคาดหวังอะไรจากการลงทุน” ถ้าลงทุนน้อยก็คาดหวังเรื่องผลกำไรเล็กน้อย พอให้มีเงินหมุนเวียน และต้องสำรวจตัวเองด้วยว่าหากคิดจะเปิดร้านหรือขายของใด ๆ เรามีเวลามากน้อยแค่ไหน
www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าเงิน 5,000 ขายอะไรได้บ้าง ก็เพียงพอให้เริ่มทำอะไรได้หลายอย่างเพียงแค่เราอาจต้องขยันตั้งใจและพยายามมากขึ้นรวมถึงลงทุนน้อย ก็อาจต้องลงแรงมากขึ้นด้วยมีอะไรที่พอทำได้บ้างลองไปดูกัน
1.ขายของออนไลน์
ยังไม่ถือว่าตกเทรนด์แม้จะมีคู่แข่งมากสักหน่อยแต่ก็อยู่ที่เราว่าจะจริงจังกับงานนี้ได้มากแค่ไหน การขายของออนไลน์ยังเป็นช่องทางเติบโตง่ายและที่สำคัญไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนมาก มีวิธีการสร้างรายได้จากสินค้าออนไลน์หลายแบบทั้งการนำของเก่าที่ตัวเองไม่ใช้มาไลฟ์ขาด หรือการทำธุรกิจแบบ Dropship ที่เราไม่จำเป็นต้องสต็อคสินค้า เพียงแค่ก็อปสินค้ามาโพสต์ขาย ปลายทางจะเป็นผู้จัดส่งสินค้าให้ หรือการลงทุนรับสินค้าในราคาถูกมาขาย ถ้ามีเงินทุน 5,000 ก็อาจได้สินค้าไม่มากแต่ถ้าเริ่มขายดีมีกำไรก็สามารถเพิ่มสินค้าให้มากขึ้นในภายหลังได้
2.เปิดร้านขายน้ำผลไม้ปั่น
เงินทุน 5,000 อาจจะแปรเปลี่ยนเป็นเครื่องปั่นไฟฟ้า แก้ว วัตถุดิบเช่นผลไม้ต่างๆ นมข้นหวาน น้ำตาล ถังน้ำแข็ง แต่ทั้งนี้เราต้องมีทำเลของเราเองแบบไม่เสียค่าเช่าก็จะเริ่มทำร้านขายน้ำปั่นได้ด้วยเงินไม่เกิน 5,000 ที่เหลือก็คือใช้ฝีมือของตัวเองทำให้ลูกค้าติดใจเทคนิคการตลาดแบบทุนน้อยต้องเลือกใช้เครื่องมือออนไลน์ให้เกิดคุณภาพสูงสุด
3.ขายงานฝีมือ/งานแฮนเมดด์
บางคนทุนน้อยแต่มีความสามารถด้านศิลปะก็ใช้สร้างรายได้ดีไม่ว่าจะเป็นงานฝีมือการเย็บปัก , งานประดิษฐ์จากสิ่งของเหลือใช้ , การวาดภาพ เป็นต้น งานเหล่านี้วัดกันที่ไอเดียแต่ต้นทุนจริงๆ ไม่เกิน 5,000 ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกงานฝีมือแบบไหน ถ้ายังไม่รู้จะเรียนอะไรลองศึกษาจากยูทูปที่มีการสอนงานแฮนด์เมดหลายอย่างทั้งทำสบู่ ทำกรอบรูป ทำพวงกุญแจ งานเย็บปัก งานเครื่องประดับ ส่วนช่องทางตลาดเน้นที่โซเชี่ยลเป็นหลักขอให้ฝีมือดีลูกค้าก็จะตามมาเอง
4.ขายหมึกย่าง / ไก่ย่าง
เป็นอีกการลงทุนที่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่นิยมอย่างมาก อย่างการขายปลาหมึกย่างเดี๋ยวนี้ก็มีคนทำในรูปแบบแฟรนไชส์ให้เราเลือกซื้อปลาหมึกเสียบไม้พร้อมนำมาย่างขายได้ทันที หรือจะเลือกขายไก่ย่าง ก็สามารถทำขายเองได้ เริ่มต้นจากการซื้ออุปกรณ์เบื้องต้น วัตถุดิบต่างๆ มาหมักด้วยเครื่องเทศ แต่สินค้าต้องมีคุณภาพ ถ้าใครมีทำเลหน้าบ้านในย่านชุมชนหรือใกล้ตลาดจะยิ่งได้เปรียบมาก งบในการลงทุนไม่เกิน 5,000 บาท สามารถสร้างรายได้หมุนเวียนได้อย่างดี
5.ลูกชิ้นทอด
นอกจากอาหารปิ้งย่างก็เชื่อว่าการขายลูกชิ้นทอดเป็นอีกอาชีพยอดฮิตที่ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องลองผิดลองถูกเอง แต่มีแฟรนไชส์ให้เลือกลงทุนได้เลยอย่าง อู้ฟู่ลูกชิ้นปลาเยาวราช มีแพคเกจราคาไม่เกิน 5,000 เช่น ชุดทดลองขาย 2,990 บาท และชุดขายพร้อมป้ายและอุปกรณ์ 4,990 บาท ในส่วนของ ไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิด ก็มีแพคเกจชุดทดลองของ 3,990 ลาท ที่ให้พร้อมเปิดร้านได้ทันที หรือ ซูโม่ลูกชิ้นปลาระเบิด ก็มีแพคเกจน่าสนใจคือชุดป้ายบน –ล่าง ที่ลงทุนเพียง 2,490 บาท จะเห็นได้ว่าแฟรนไชส์เหล่านี้มีหลายแพคเกจที่ราคาลงทุนน้อยกว่า 5,000 แถมยังขายง่าย ขายดีและมีโอกาสคืนทุนไวได้กำไรเร็วด้วย
ภาพจาก https://bit.ly/3TOQMaa
6.ขายอาหารเดลิเวอรี่
ภาพจาก https://bit.ly/3RdeFGx
ในปัจจุบันการขายอาหารไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน ขอเพียงเรามีสูตรเมนูอาหารอร่อย และรู้จักใช้การตลาดออนไลน์เข้าร่วม การขายในรูปแบบเดลิเวอรี่ช่วยทำให้เราประหยัดต้นทุนได้มาก งบเพียง 5,000 สามารถเปิดร้านขายได้แน่ และในตอนนี้ก็มีหลายแฟรนไชส์ที่หันมาเปิดแพคเกจลงทุนแบบเดลิเวอรี่ให้เราเลือกลงทุนได้ง่ายขึ้น เช่น ซานตงขาหมู ซุปเปอร์เล้ง สินค้าหลักคือขาหมูแสนอร่อย แพคเกจลงทุนเพียง 4,990 บาท มีวัตถุดิบให้พร้อมอยู่ที่ไหนก็ขายได้ เพียง อุ่น สับ ไม่ว่าจะขายผ่านเดลิเวอรี่ หรือ ขายแบบตั้งร้านข้างทางในตึกแถวใกล้ตลาด ใช้อุปกรณ์ที่มีในครัวเรือน และมีทีมงานคอยให้คำปรึกษาตลอดเวลาด้วย
7.ขายเนื้อย่าง / หมูปิ้ง
การขายเนื้อย่าง หรือการเปิดร้านขายหมูปิ้ง ถือว่าน่าสนใจและเป็นสินค้าที่ขายง่าย ขายดี มีความต้องการลูกค้าเยอะมาก การลงทุนไม่เกิน 5,000 สามารถเปิดร้านได้ทันที แม้ปัจจุบันจะเป็นการเปิดร้านที่มีคู่แข่งจำนวนมาก แต่ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้า การบริการ ทำเลในการขาย รวมถึงสมัยนี้มีแฟรนไชส์หมูย่าง เนื้อย่าง ให้เลือกลงทุนได้ทันที อย่างการขายเนื้อย่างแฟรนไชส์ยอดฮิตที่คนรู้จักกันดีเช่น ต.เนื้อย่าง ที่ลงทุนแค่ 3,000 บาท ก็จะได้เนื้อโคขุนเสียบไม้พร้อมขายกว่า 500 ไม่ ขายไม้ละ 10 บาทรายได้จากวัตถุดิบชุดนี้กว่า 5,000 บาท ถือว่าน่าสนใจอย่างมาก สามารถสร้างรายได้หมุนเวียนให้ผู้ลงทุนได้อย่างดี
8.รับทำอาหารกล่อง
ใครที่มีฝีมือด้านการทำอาหารและมีความสามารถในการคำนวณวัตถุดิบต่าง ๆ เหมาะสมกับการทำอาชีพนี้มาก ต้นทุนเบื้องต้นส่วนใหญ่คือวัตถุดิบต่าง ๆ อุปกรณ์ก็ใช้จากในครัวที่มี เมนูที่รับทำในระยะแรกก็เน้นที่ง่าย ๆ เช่นผัดกระเพรา , ข้าวผัด , ผัดพริกแกง เป็นต้น สำคัญคือการหาลูกค้าเช่น พนักงานออฟฟิศ , พนักงานโรงงาน เป็นต้น ในช่วงแรกออร์เดอร์อาจไม่มาก แต่ถ้าคุณภาพสินค้าเราดี บริการดี ออร์เดอร์ลูกค้าก็จะค่อยๆเพิ่มมากขึ้น ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการที่ต้องรักษาคุณภาพให้ลูกค้าประทับใจ
9.ร้านขนมปังปิ้ง
การเปิดร้านขนมปังปิ้งใช้ต้นทุนไม่เกิน 5,000 บาทวัตถุดิบมีขนมปัง ราคาขึ้นอยู่กับขนาด น้ำหนัก และการหั่นขนมปัง ถ้าเป็นขนมปังที่ยังไม่ได้หั่นมาให้ก็จะถูกกว่า วัตถุดิบอื่นๆ เช่น แยม , มายองเนส , ช็อคโกแลตนูเทลล่า , เนย เป็นต้น อุปกรณ์สำคัญเช่น เตา มีด โต๊ะ โหลใส่แยม ,จานกระดาษ 100 ชิ้น การเลือกทำเลขาย ควรอยู่ในย่านชุมชน หน้าโรงเรียน ย่านมหาลัยหรือแหล่งออฟฟิศ บริเวณใกล้กับป้ายรถเมล์ บริเวณสถานีรถไฟฟ้า ตลาดที่มีผู้คนพลุกพล่านในตอนเช้า เพราะจะสามารถขายได้ในปริมาณที่มากในเวลาที่จำกัด
10.ร้านขนมจีนน้ำยา
ขนมจีนน้ำยาอาจจะดูว่าเป็นเมนูยุ่งยากแต่ถ้าคนที่ทำเมนูนี้ได้ ใช้ต้นทุนโดยรวมไม่เกิน 5,000 บาท ขายอะไรได้บ้าง ช่วงเริ่มต้นธุรกิจไม่ต้องตั้งร้านใหญ่โต แค่มีที่ในเขตชุมชนหรืออยู่ใกล้ตลาดนัดน้ำยา 1 หม้อ ขนมจีนพร้อมขาย ไว้มีเงินทุนค่อยเพิ่มเมนูอื่นประกอบเข้าไปอย่างน้ำพริกขนมจีน แกงเขียวหวาน น้ำเงี้ยว ขนมจีนน้ำย้อย ต้องไม่ลืมเครื่องเคียงอย่างผักสด ผักดอง ขายชุดละ 30-35 บาทสามารถขายแบบเดลิเวอรี่ได้ด้วย
การมีเงินทุนน้อย สำคัญคือต้องใช้ไอเดียให้มาก กลยุทธ์การตลาดเป็นสิ่งสำคัญ ในช่วงแรกอาจมีรายได้ไม่มาก เพราะต้นทุนน้อยวัตถุดิบน้อย ลูกค้าก็ยังไม่ค่อยรู้จัก แต่ถ้าเราพยายาม ขยัน ตั้งใจทำจริง ทำต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ช่องทางการขายก็จะเริ่มเปิดกว้าง และอาจพัฒนาธุรกิจของเราให้เติบโตสร้างรายได้มากขึ้นได้ด้วย
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3QiVauR
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)