เทรนด์ใหม่! ทำ Food Truck เป็นแฟรนไชส์

การขายอาหารและเครื่องดื่มแบบ ทำ Food Truck เป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความนิยม เพราะสามารถเคลื่อนย้ายที่จำหน่ายได้ สะดวกสบายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ใครที่อยากเปิดร้านแบบ Food Truck แล้วขายแฟรนไชส์ มาดูขั้นตอนการทำกัน

1. วิเคราะห์ตลาดและเลือกอาหารที่จะขาย

ทำ Food Truck

ก่อนทำ Food Truck ต้องรู้ก่อนว่าเทรนด์ตลาดเป็นอย่างไร พฤติกรรมผู้บริโภคนิยมทานอาหารประเภทไหน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นใครบ้าง เพื่อที่จะเลือกประเภทของอาหารที่จะขายได้อย่างเหมาะสม มีกลุ่มลูกค้าเป้หมายรองรับชัดเจน

2. ต่อเติมและออกแบบตกแต่งรถ Food Truck

ทำ Food Truck

เมื่อรู้ว่าจะขายอาหารอะไรแล้ว ต่อไปนำรถไปดัดแปลงต่อเติมให้เหมาะกับประเภทอาหารที่ขาย ไม่ว่าจะเป็นการปูพื้น ทำหลังคา เคาน์เตอร์ ระบบไฟฟ้าในรถ ป้ายโฆษณา ติดตั้งชุดตกแต่งภายใน รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ไฟนีออน สายปลั๊กพาวเวอร์ กล่องควบคุมไฟ และอื่นๆ ซึ่งการต่อเดิมใช้เงินราวๆ 1.5 แสนบาทขึ้นไป

3. ขอใบอนุญาตและจดทะเบียนรถ Food truck

ทำ Food Truck

ทำ Food Truck อย่างแรกผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนการค้า หรือใบอนุญาตประกอบกิจการร้านอาหารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องนำรถ Food Truck ไปจดทะเบียนเป็น “รถยนต์เพื่อการพาณิชย์” หรือ “รถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์” กับกรมการขนส่งทางบก เพื่อแสดงว่าได้รับอนุญาตให้ใช้รถที่ทำการต่อเดิม หรือดัดแปลงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

4. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการ

ทำ Food Truck

การทำแฟรนไชส์ Food Truck ก่อนขายแฟรนไชส์ต้องจำทะเบียนเครื่องหมายการค้าและบริการเหมือนกับการเปิดร้านแฟรนไชส์ทั่วไป เพื่อป้องกันสิทธิ์ในฐานะเจ้าของแบรนด์ และป้องกันการลอกเลียนแบบอีกด้วย

5. สร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ให้โดดเด่น

ทำ Food Truck

การทำ Food Truck สามารถเคลื่อนย้ายไปตามสถานที่ต่างๆ ได้ วิธีการง่ายๆ ในการสร้างแบรนด์และภาพลักษณ์ให้กับ Food Truck ก็คือ ออกบูธ ออกงานอีเว้นท์ต่างๆ หรือเปลี่ยนสถานที่ขายที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เพื่อให้คนรู้จัก สร้างการรับรู้ และจดจำในแบรนด์ รวมถึงเข้าร่วมกับสมาคม Food Truck และสร้างเพจโปรโมทธุรกิจแฟรนไชส์ทางโซเชียลมีเดีย

6. กำหนดค่าแฟรนไชส์ และงบการลงทุน

ทำ Food Truck

การขายแฟรนไชส์ Food Truck ที่นิยมทำกันในปัจจุบัน คือ ขายแฟรนไชส์ทั้งตัวรถ และผู้ซื้อแฟรนไชส์จัดหารถมาให้เจ้าของแบรน์ต่อเติมให้ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จ่ายเงินต่อเดิมเอง น่าจะประมาณ 1.5 แสนบาทขึ้นไป หรือน้อยกว่านี้แล้วแต่ประเภทอาหารที่ขาย ตัวรถราคาอยู่ที่ 3-4 แสนบาท เช่น แฟรนไชส์ Food Truck กาแฟพันธุ์ไทยพื้นที่ 9 ตร.ม. เงินลงทุน 1.68 ล้านบาท (ได้รถทั้งคัน), แฟรนไชส์ไอศกรีมดูคาติม ค่าแฟรนไชส์ 260,000 บาท ผู้ซื้อแฟรนไชส์หารถมาต่อเติมเอง

7. จัดทำคู่มือปฏิบัติงานให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์

ทำ Food Truck เหมือนเปิดขายแฟรนไชส์ทั่วไป ก่อนขายต้องจัดทำคู่มือการทำงานให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ให้ปฏิบัติตาม เพื่อสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการ ไม่ว่าใครจะทำอาหารก็จะได้รสชาติแบบเดียวกัน

นั่นคือ วิธีการทำ Food Truck ให้เป็นแฟรนไชส์ ซึ่งจะแตกต่างจากการทำร้านแฟรนไชส์ทั่วไป ตรงที่ต้องนำรถ Food Truck ที่ต่อเติมดัดแปลงไปจดทะเบียนให้ถูกต้องตามการใช้งาน 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช