เจ้าของธุรกิจกุมขมับ! วิกฤตเด็กไทยเกิดน้อยกระทบธุรกิจมหาศาล

ย้อนไประหว่างปี 2506-2526 อัตราการเกิดของเด็กไทยเฉลี่ยปีละ 1,000,000 คน โดยในปี 2514 มีอัตราการเกิดสูงสุดถึง 1,200,000 คน อัตราการเกิดที่มากในช่วงนั้นถึงขั้นที่เรียกว่า “สึนามิประชากร” กันทีเดียว

แต่เรื่องไม่น่าเชื่อก็เกิดขึ้นเพราะตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมาอัตราการเกิดของประชากรไทย กลับค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ และนับตั้งแต่ ปี 2564 -2566 อัตราการเกิดของเด็กไทยลดลงเกินครึ่ง เหลือเฉลี่ยแค่ปีละ 500,000 คน

  • ปี 2564 อัตราเกิด 544,570 คน อัตราตาย 550,042 คน
  • ปี 2565 อัตราเกิด 502,107 คน อัตราตาย 595,965 คน
  • ปี 2566 อัตราเกิด 519,660 คน อัตราตาย 567,055 คน

ตัวเลขการเกิดที่น้อยลงอย่างชัดเจนนี้ส่งผลเสียอะไรต่อภาคธุรกิจบ้าง ลองมาวิเคราะห์พร้อมๆกัน

เจ้าของธุรกิจกุมขมับ

1.วัยแรงงานมีแนวโน้มลดลง

อันเนื่องมาจากคนเกิดน้อยลง สวนทางกับผู้สูงวัย (อายุเกิน 60) ที่มีมากขึ้น เมื่อวัยแรงงานมีจำนวนน้อยลง การสรรหาบุคลากรให้เหมาะสมกับงานก็เป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น

2.ปัญหาแรงงานต่างด้าว

เป็นผลพวงแบบลูกโซ่เมื่อแรงงานไทยมีน้อย วิธีแก้ปัญหาที่ง่ายสุดคือหันไปพึ่งพาแรงงานต่างด้าว

เจ้าของธุรกิจกุมขมับ

3.จัดเก็บภาษีไม่เพียงพอกับการบริหารประเทศ

ในอนาคตหากอัตราการเกิดยังต่ำลง วัยแรงงานจะหายไปในสัดส่วนที่สูงมาก มีผลต่อการจัดเก็บภาษีของคนที่อยู่ในวัยทำงานจะทำได้น้อยลง ซึ่งเงินภาษีส่วนนี้คือเงินที่ต้องนำมาใช้พัฒนาประเทศต่อในอนาคต

4.ขาดแคลนแรงงานฝีมือ

เมื่อตัวเลือกในวัยทำงานมีน้อย คนที่มีความรู้ความสามารถก็หายากขึ้นด้วย สวนทางกับโลกยุคใหม่ที่ก้าวล้ำมากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้การเติบโตของประเทศก็จะถดถอยด้วย

เจ้าของธุรกิจกุมขมับ

5.ทุกธุรกิจต้องปรับตัวสู้วิกฤติ

คนกลุ่มวัยทำงาน วัยเด็ก วัยเรียน คือกำลังซื้อที่ทุกธุรกิจมุ่งเป้าต้องการ หากตัวเลขตรงนี้ลดลงชัดเจนนั่นหมายความว่าต้องมีการปรับปรุงธุรกิจในหลายด้านให้สอดคล้อง โดยเฉพาะในธุรกิจการศึกษาที่น่าจะได้รับผลกระทบเยอะมาก ยกตัวอย่าง การเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยบางแห่งจากที่เคยเด็กเข้าเรียนปีละ 7,000-8,000 คน แต่อาจเหลือเพียง 4,500 คน ไม่รวมบรรดาโรงเรียนกวดวิชาต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบแน่

และหากมองให้ลึกซึ้งลงไปอีกสัดส่วนของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ปัจจุบันลดลงเหลือแค่ ร้อยละ 20 และคาดว่า ในปี 2581 อัตราการเกิดจะยิ่งลดลง เหลือต่ำกว่า ร้อยละ 15 สวนทางกับการเติบโตของประชากรสูงอายุ 60 ปี ที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นคาดว่าในอีก 10 ปี ข้างหน้า พ.ศ.2576 ประเทศไทย จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากถึง ร้อยละ 30 เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4-5 ต่อปี

และอัตราผู้สูงอายุวัย 80 ปี ขึ้นไป ก็จะค่อย ๆ ขยับตามขึ้นไปที่ ร้อยละ 7- 8 ต่อปี และถ้ายังคิดว่าตัวเลขนี้ยังไม่วิกฤติมากพอยังมีข้อมูลที่ชี้อีกว่า ไทยมีอัตราการเกิดน้อยที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากญี่ปุ่น และหากจัดเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ไทยกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดน้อยที่สุดในโลกอีกด้วย

เจ้าของธุรกิจกุมขมับ

แต่ที่แย่กว่ามีน้อย คือ “มีน้อยและด้อยคุณภาพ” โดยในปี 2566 มีเด็กประถมวัย 0-6 ปี จำนวน 4.3 ล้านคน แต่ในปี 2583 จะเหลือเพียง 3.1 ล้านคนเท่านั้น นอกจากนี้ยังเด็กที่อยู่ในครัวเรือนยากจนมากถึง 3.5 แสนคน ตัวเลขนี้สัมพันธ์กับเรื่องพัฒนาประเทศอย่างชัดเจน ยิ่งเด็กไทยมีน้อยและขาดความรู้ความสามารถร่วมด้วยย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนอย่างมหาศาล

ถึงขนาดที่ช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมามีโครงการของกระทรวงสาธารณสุขที่ “ชวนคนไทยปั๊มลูกเพื่อชาติ” แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับความสนใจเท่าไหร่นัก ซึ่งก็พอเข้าใจได้ว่าการมีลูก 1คนในยุคนี้มีค่าใช้จ่ายสูง

คนนิยมความเป็นอิสระไม่อยากมีคู่ครองก็เพิ่มขึ้น การแก้ปัญหาเรื่องนี้ คงต้องมีมาตรการอีกหลายอย่างเพื่อเอามาประกอบ แต่สภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็เข้าใจได้ว่าทำไมคนไทยไม่อยากมีลูก เพราะขนาดตัวเองยังเอาแทบไม่รอดถ้ามีเด็กมาเพิ่มถ้าเลี้ยงเขาได้ไม่ดี ก็สู้ไม่มีซะดีกว่า สิ่งนี้จึงเป็นปัญหาระดับชาติที่มีแนวโน้มว่าจะแก้ได้ยากมากๆด้วย 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด