เคล็ดลับ! ขายเดลิเวอรี่ยังไง ให้ได้เดือนละล้าน

การเพิ่มยอดขายด้วยบริการเดลิเวอรี่ให้มีรายได้เดือนละล้าน เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่นั่นก็หมายความว่าขนาดร้านของเราต้องใหญ่พอสมควร มีระบบการบริหารจัดการในร้านที่ดีมาก

ซึ่งหากเป็นร้านธรรมดาทั่วไปอาจไม่ตั้งเป้าหลักล้านแต่ขอให้แต่ละเดือนมียอดขายมากขึ้น 30-40 % ก็ถือว่าดีมาก อย่างบางร้านก่อนเข้าร่วมเดลิเวอรี่มียอดขายต่อวัน 2,000 -3,000 บาท แต่พอเข้าร่วมเดลิเวอรี่มีรายได้ต่อเดือน 5,000 – 6,000 บาท แบบนี้ก็ถือว่าดีขึ้นเช่นกัน

ดังนั้น www.ThaiSMEsCenter.com จะพูดในมุมของการเข้าร่วมเดลิเวอรี่มีเทคนิคแบบไหนอย่างไรที่จะช่วยเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น ส่วนจะได้หลักล้าน หลักแสน หรือเพิ่มแค่หลักพัน ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของร้านเป็นสำคัญด้วย

ธุรกิจเดลิเวอรี่คาดการณ์ปี 2564 มูลค่ากว่า 74,000 ล้านบาท

เคล็ดลับ ขายเดลิเวอรี่ยังไง

ภาพจาก แฟรนไชส์ กีฟว มี โกโก้

สถานการณ์แพร่ระบาด COVID 19 เป็นปัจจัยที่เร่งให้ธุรกิจ Food Delivery เติบโตยิ่งขึ้น ตัวเลขน่าสนใจพบว่า ในปี 2557 มีมูลค่าเพียง42,000 ล้านบาท ซึ่งมีการขยับมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นแต่ไม่หวือหวา จนกระทั่งในปี 2563 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาดครั้งแรกกระตุ้นให้ Food Delivery มีมูลค่าตลาดสูงแบบก้าวกระโดดตัวเลขแตะที่ 68,000 ล้านบาท ซึ่ง ในแต่ละปีที่ผ่านมามูลค่าการตลาดมีการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 10% และคาดว่าปี 2564 นี้จะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 74,000 ล้านบาทและอาจจะไปแตะถึงระดับ 99,000 ล้านบาทได้ภายในปี 2567

ค่า GP ตัวเลขที่ร้านส่วนใหญ่ไม่อยากเสียให้ Food Delivery

เคล็ดลับ ขายเดลิเวอรี่ยังไง

มีอีกหลายร้านที่ยังไม่เข้าร่วมกับ Food Delivery เพราะมองว่าต้องเสียค่า GP โดยไม่จำเป็น เหมือนเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ แต่ในทางกลับกันหลายร้านที่เข้าร่วม Food Delivery มียอดขายเพิ่มขึ้นสูงมาก

หากหักลบกันแล้วยังเชื่อว่าการเข้าร่วม Food Delivery จะเป็นทางเลือกที่เหมาะกว่า ซึ่งค่า GP (Gross Profit) หรือส่วนแบ่งจากยอดขายในอัตราปัจจุบันที่แต่ละแอพพลิเคชั่นเก็บอยู่นั้นมีอัตราตั้งแต่ 25-35% แล้วแต่ร้านว่าขายอะไร ถามว่าคุ้มค่าแค่ไหน โดยภาพรวมก็ต้องบอกว่า “คุ้มค่า” เพราะจุดเด่นของ Food Delivery แต่ละแพลตฟอร์มอาจมีการโฆษณาที่ทำให้คนรู้จักร้านเรามากขึ้น (อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น)

แต่ก็เหมือนการนำร้านไปอยู่ในทำเลที่คนเห็นมากขึ้น รู้จักมากขึ้น ดีกว่าการเปิดหน้าร้านธรรมดา ซึ่ง วิธีที่จะทำให้คุ้มกับค่า GP ที่เสียไป ทางร้านจำเป็นต้องทำต้นทุนต่อจานใหม่โดยบวกค่า GP เข้าไปด้วย เพื่อให้การตั้งราคาขายมีกำไรได้มากขึ้น

หรือถ้ากลัวกระทบยอดขายเพราะราคาที่สูงขึ้นอาจใช้วิธีปรับลดปริมาณอาหารลง โดยยังคงคุณภาพเหมือนเดิม และอีกวิธีที่จะลดต้นทุนจากค่า GP ได้คือทางร้านจัดส่งเดลิเวอรี่ด้วยพนักงานของตัวเอง อาจภายในรัศมี 5-10 กิโลเมตร แต่วิธีนี้ก็มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทาง แต่ก็ทำให้ลดปัญหาต้นทุนค่า GP ได้ในระดับหนึ่ง

แนะเคล็ดลับ! 7 เทคนิคขายเดลิเวอรี่ เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น

โดยเคล็ดลับเหล่านี้ถือเป็นวิธีที่ร้านสามารถนำไปปรับใช้ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายได้แน่ แต่จะเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน จะเป็นหลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หรือมากถึงหลักล้าน ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของร้าน และการบริหารจัดการในร้านเป็นสำคัญโดย 7 วิธีดังกล่าวได้แก่

เคล็ดลับ ขายเดลิเวอรี่ยังไง

1.ปกต้องสวย

อันดับแรกอยากขายดีรูปหน้าปกต้องสวย น่ากิน อัตราส่วนพอดีกันไม่ตัดขาดส่วนที่สำคัญออกไป เป็นการใช้ภาพสื่ออารมณ์ และดึงดูดให้คนอยากลองสั่งเมนูนี้จากทางร้าน

2.เมนูอาหารตรงปก

นอกจากภาพปกสวย เมนูอาหารก็ต้องมีภาพที่สวยงาม และตรงปก ถ้าไม่ตรงปกให้ระบุว่าภาพเพื่อการโฆษณาเท่านั้น และถ้ามีเมนูไหนอยากขาย ให้ระบุรายละเอียดของเมนูนั้นๆด้วย เพราะคนที่เลือกอาหารจากแอพเดลิเวอรี่ ส่วนใหญ่ตัดสินใจจากรูปภาพที่เรานำเสนอเป็นสำคัญ

เคล็ดลับ ขายเดลิเวอรี่ยังไง

3.จัดเซตอาหารให้ลูกค้าเลือก

ร้านค้าจำเป็นต้องมีเมนูอาหารเป็นเซตให้ลูกค้าเลือก ชุดไหนโดนใจลูกค้า ราคาจับต้องได้ ลูกค้าจะตัดสินใจเร็วมาก และการจัดอาหารเป็นเซตมีข้อดีในแง่จิตวิทยาที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าและคุ้มกับเงินที่จ่ายให้กับร้าน

4.มีเมนูเพิ่มรสชาติ

นอกจากเมนูหลัก จำเป็นต้องมีเมนูเพิ่มอรรถรสในการทานอาหาร ในราคาถูกๆ สบายกระเป๋า 10-20 บาท ยกตัวอย่าง ลูกค้าที่สั่งผัดกระเพราส่วนใหญ่จะเลือกเมนูเพิ่มเติมคือ ไข่ดาว ซึ่งจากเมนูกระเพรา ถ้าเราใส่ไข่ดาวในเมนูเพิ่มเติม ก็อาจจะไปเพิ่มยอดขายในเมนูอื่นที่ปกติไม่ได้กินคู่กับไข่ดาว เช่น ข้าวหมูแดงหมูกรอบ ก็อาจมีลูกค้าสั่งไข่ดาวมาเพิ่ม หรืออาจมีการเพิ่มน้ำซุปเข้าไปเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้ามากขึ้น ร้านก็จะมีกำไรได้มากขึ้น

43

5.จัดโปรโมชั่นให้เหมาะสม

สิ่งสำคัญในการเพิ่มยอดขายคือร้านต้องมีการจัดโปรโมชั่นอย่างเหมาะสม ซึ่งการจัดโปรโมชั่น ควรเลือกให้ถูกจังหวะ ถูกเวลา สลับการจัดอาหารเป็นเซต ซึ่งเมื่อร้านใดที่มีโปรโมชั่นลูกค้าจะรู้สึกคุ้มค่า เช่น สั่ง 1 แถม 1 หรือ สั่งเมนูอาหารแถมเครื่องดื่ม หรือสั่งเครื่องดื่ม 2 แก้ว ฟรี 1 แก้ว เป็นต้น ในยุคที่คนใช้จ่ายอย่างประหยัด การมีโปรโมชั่นดีๆ จะเพิ่มการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

6.เพิ่มลิ้งค์ให้ลูกค้าค้นหาร้านเจอเร็วขึ้น

เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่ทำให้ลูกค้าเจอร้านของเราได้เร็วขึ้น ไม่ใช่แค่การนำร้านเข้าแอพเดลิเวอรี่อย่างเดียว แต่เราควรมีลิ้งค์ของร้านที่ให้ลูกค้ากดลิ้งค์เข้ามาถึงร้านได้เลยไม่ต้องไปมัวค้นหาให้เสียเวลา คนยุคนี้ไม่ชอบทำอะไรเสียเวลา เจอร้านไหนก่อนก็สั่งก่อน เป็นพฤติกรรมของลูกค้ายุคใหม่

41

7.รวดเร็ว มีคุณภาพ บริการดี

ในแง่ของการบริการคือการสร้างความประทับใจให้ลูกค้า การบริการที่รวดเร็ว อาหารอร่อย ลูกค้าไม่ต้องรอนาน สั่งปุ๊บ ทำปั๊บ จัดส่งได้ทันที ถือเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าและจะเก็บร้านของเราเอาไว้ในความทรงจำแถมยังอาจจะบอกต่อให้คนอื่นทราบได้อีกด้วย

การนำร้านเข้าร่วม Food Delivery แม้จะทำให้ร้านต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่อย่างน้อยก็ทำให้เรามียอดขายที่เพิ่มมากขึ้นได้ ในยุคนี้เราต้องอาศัยช่องทางออนไลน์มากขึ้น ร้านค้าร้านอาหารจึงควรปรับตัวและไม่ยึดติดกับความคิดเดิมๆ แม้จะไม่ใช่การเพิ่มยอดขายได้แบบถล่มทลายแต่ก็ทำให้มีรายได้หมุนเวียนเข้ามามากขึ้น ถือเป็นยุคที่ร้านทั้งหลายควรปรับตัวให้เข้ากับกระแสโลกยุคใหม่ ไม่ใช่ย่ำอยู่กับที่และยึดอยู่กับความคิดเดิมๆ ของตัวเอง

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3y6ZZiW

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด