อวสาน “ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก” หมดยุคเสือนอนกิน

สมัยก่อนหลายๆ คนอาจจะได้ยินคนพูดกันว่า “ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก” เป็นธุรกิจ “เสือนอนกิน” ลงทุนเพียงครั้งเดียวมีรายได้เข้ามาตลอดชีวิต เป็นมรดกส่งต่อให้ลูกหลานก็ยังได้ แต่มาสมัยนี้ไม่ใช่ “เสือนอนกิน” อีกต่อไป ผู้ประกอบการหอพักต้องตื่นตัว ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าถึงจะอยู่รอดได้ มาดูเหตุผลกันว่า ทำไม “ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก” นอนกินอย่างเดียวไม่ได้อีกแล้ว

ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก

1. ธุรกิจห้องเช่า-หอพักได้รับความนิยมและเติบโตตามความต้องของกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่ ถ้าพื้นที่หรือจังหวัดไหนมีกลุ่มคนอาศัยน้อย เช่น นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัท พนักงานโรงงาน พนักงานห้างร้านต่างๆ จะทำให้ธุรกิจห้องเช่าได้รับผลกระทบ ไม่มีคนเช่า ไปไม่รอด

2. ธุรกิจหอพัก มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์เข้มงวด กลุ่มลูกค้าเป็นนักเรียน นักศึกษา แยกห้องพักชายหญิง มี พ.ร.บ.หอพักควบคุมชัดเจน ทำให้ผู้ประกอบการไม่อยากทำธุรกิจหอพักมากนัก ส่วนใหญ่ที่พักใกล้สถานศึกษาในปัจจุบันจะเป็น “อพาร์ตเมนต์” มากกว่า

3. ธุรกิจห้องเช่า มีการแข่งขันในตลาดสูง โดยเฉพาะคู่แข่ง “อพาร์ตเมนต์” และ “คอนโดมิเนียม” รวมถึงที่พักรูปแบบอื่นๆ ที่มีความทันสมัย และระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่า ทำให้ลูกค้ามีตัวเลือกมากขึ้น

4. ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก ไม่ค่อยมีสิ่งอำนวยความสะดวกบริการลูกค้า เช่น ร้านค้าใต้ตึก เครื่องซักผ้า ลาดจอดรถที่เพียงพอ ระบบบริการลูกค้า ฟิตเนส สระว่ายน้ำ เป็นต้น

5. ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก จะอยู่รอดได้ขึ้นอยู่กับความต้องการพักของกลุ่มลูกค้าในแต่ละพื้นที่ เช่น ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ โรงงานจำนวนมาก จะมีห้องเช่าเกิดขึ้นมารองรับ แต่ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โรงงานปิดกิจการ พนักงานกลับบ้าน ก็กระทบต่อธุรกิจห้องเช่าทันที

นั่นเป็นเหตุผลที่บ่งบอกให้เรารู้ว่า “ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก” ไม่ใช่ธุรกิจ “เสือนอนกิน” อีกต่อไป ที่จะลงทุนเพียงครั้งเดียว เก็บกินระยะยาว มีรายได้แบบ “Passive Income” ไปตลอดชีวิต เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตื่นตัว ปรับรูปแบบบริการให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่

ธุรกิจห้องเช่า-หอพัก

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช