สูตรคำนวณ! เปิดร้านใน TikTok ตั้งราคาขายแค่ไหน! ไม่เจ๊ง

TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มาแรงมากในเมืองไทยมีผู้ใช้งานรวมกว่า ไทย 44.38 ล้านบัญชี และถ้าไปดูตัวเลขในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ใช้งานมากกว่า 325 ล้านราย ในยอดรวมทั้งหมดนี้มีบัญชีร้านค้าธุรกิจกว่า 15 ล้านรายทีเดียว

ถ้ามองดูตัวเลขนี้จะเห็นว่า TikTok เป็นตลาดที่ใหญ่มาก ก็ไม่แปลกใจที่ใครๆ ก็อยาก เปิดร้านใน TikTok ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2567 ที่ผ่านมา TikTok Shop ได้ประกาศปรับค่าคอมมิชชั่นของตลาด หรือค่าธรรมเนียมการขายสินค้า

จากอัตราคงที่ 4% เป็นอัตราค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันตามหมวดหมู่ย่อยของสินค้า เช่น เสื้อผ้าสตรีและชุดชั้นใน 5.35% , สินค้าสุขภาพ 4.28% เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเรียกเก็บค่าธรรมเนียมคำสั่งซื้อ หรือจำนวนเงินที่เรียกเก็บสำหรับการประมวลผลคำสั่งซื้อที่สำเร็จในอัตรา 3.21%

เปิดร้านใน TikTok

ภาพจาก www.facebook.com/tiktokshopthailandofficial

เมื่อเห็นตัวเลขที่เป็น “ต้นทุน” แบบนี้ คงมีคำถามในใจว่า “แล้วเราต้องตั้งราคาขายแค่ไหน” ถึงจะไม่ขาดทุน

และหากพูดถึงจุดคุ้มทุนก็ต้องเข้าใจก่อนว่า จุดคุ้มทุน (Break Even Point) คือ จุดที่ธุรกิจมี ยอดขาย = ต้นทุนรวม

โดยต้นทุนรวม = ต้นทุนคงที่ + ต้นทุนแปรผัน

ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) = ต้นทุนที่ต้องจ่ายอยู่แล้ว

ต้นทุนแปรผัน (Variable Cost) คือ ต้นทุนที่แปรผันตามปริมาณสินค้าที่ขายได้

ถ้าเราต้องการรู้ว่า ต้องขายสินค้ากี่ชิ้น ถึงจะคุ้มทุน สามารถหาตัวเลขได้จากสมการ

จำนวนสินค้าที่ขาย x ราคาต่อหน่วย = ต้นทุนคงที่รวม + ต้นทุนแปรผันรวม

ยกตัวอย่างขายเสื้อผ้าใน TikTok ตัวละ 300 บาท

เปิดร้านใน TikTok

มีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเช่น

  • ค่าจ้างทำคลิปรีวิวสินค้าใน TikTok จำนวน 20,000 บาท (ต้นทุนคงที่)
  • ค่าต้นทุนทำเสื้อ 1 ตัว 90 บาท (ต้นทุนผันแปร)
  • ค่าคอมมิชชันที่แบ่งให้ครีเอเตอร์ สมมติแบ่งให้ 5% ซึ่งเท่ากับ 300 x 0.05 = 15 บาท/ตัว
  • ต้นทุนการขายผ่าน TikTok 4% ซึ่งเท่ากับ 300 x 0.04 = 12 บาท/ตัว
  • ค่า Transaction Fee อยู่ที่ 3% ซึ่งเท่ากับ 300 x 0.03 = 9 บาท/ตัว

รวมต้นทุนแปรผันทั้งหมดแล้ว จะได้ว่า เสื้อ 1 ตัวมีต้นทุนแปรผันเท่ากับ 126 บาท

นำตัวเลขมาคำนวณในสมการ

จำนวนสินค้าที่ขาย = ต้นทุนคงที่รวม / (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย)

จำนวนสินค้าที่ขาย = 20,000 / (300 – 126)

หมายความว่า เราต้องขายเสื้ออย่างน้อย 115 ตัว จึงจะได้ “จุดคุ้มทุน” นั่นก็แสดงว่า กำไรที่แท้จริงของเราจะเริ่มจากเสื้อในตัวที่ 116 เป็นต้นไป

เปิดร้านใน TikTok

แต่ตัวเลขที่ยกตัวอย่างมานี้แค่พอให้เห็นภาพ ซึ่งแต่ละคนอาจมีตัวเลขผันแปรที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนหากยิ่งต่ำโอกาสคุ้มทุนก็ยิ่งเร็ว นอกจากนี้ไอเดียเรื่องการตลาดก็สำคัญมาก ต้องรู้จักใช้จุดเด่นของ TikTok มาเป็นจุดขาย

เนื่องจาก 86% ของผู้ใช้บน TikTok บอกว่าโฆษณาบน TikTok ให้ความรู้สึกสนุกและบันเทิง ทำให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมบน Tiktok มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นถึง 1.7 เท่า ดังนั้นการขายของใน TikTok Shop จึงควรเน้นสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานอันจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้นด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด