รวม 10 อาชีพที่ทำเป็น “เดลิเวอรี่” ได้

ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของ COVID 19 หลายคนหันมาใช้แพลตฟอร์ม “เดลิเวอรี่” มากขึ้น เพราะเป็นช่องทางที่ยังพอสร้างรายได้ในยามที่ร้านค้าเปิดได้ไม่เต็มที่ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ต้องกักตัวอยู่บ้านก็จำเป็นต้องใช้บริการ เดลิเวอรี่มากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ดีหลายคนอาจรู้จักแค่ร้านอาหาร เครื่องดื่มเท่านั้นแต่ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่ามีอีกหลายอาชีพที่สามารถทำเป็นเดลิเวอรี่ได้ มีอาชีพไหน อย่างไรบ้าง ลองไปดูกันว่า รวม 10 อาชีพที่ทำเป็น “เดลิเวอรี่” มีอะไรบ้าง

1.อาหาร/เครื่องดื่ม

รวม 10 อาชีพที่ทำเป็น “เดลิเวอรี่”

ภาพจาก https://bit.ly/3fVOfb2

เป็นอย่างแรกที่เราต้องนึกถึง ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มเดลิเวอรี่มากมายเช่น Foodpanda , LINE MAN , Lalamove เป็นต้น และมีร้านค้าร้านเครื่องดื่มจำนวนมากที่หันมาใช้แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่เพิ่มยอดขายให้กับร้านค้าตัวเอง โดยเฉพาะในช่วงสถานการแพร่ระบาดของ COVID 19 ที่ทำให้แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่เป็นช่องทางจำหน่ายอันดับหนึ่งแม้จากนี้สถานการณ์อาจจะคลี่คลายลงแต่เชื่อว่า อาหารและเครื่องดื่มเดลิเวอรี่จะยังเติบโตและเฟื่องฟูได้อีกมาก มีมูลค่าการตลาดที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ

2.ตัดแต่งขนสัตว์

39

ภาพจาก freepik

งานบริการเฉพาะทางอย่างการตัดแต่งขนสัตว์ที่มีกลุ่มลูกค้าเฉพาะ ก็สามารถเป็นเดลิเวอรี่ได้ เพราะเราต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้ากลุ่มนี้ก่อนว่าส่วนใหญ่ไม่มีเวลาจะพาสัตว์เลี้ยงมาที่ร้าน หรืออาจด้วยขนาดของสัตว์เลี้ยงที่ใหญ่เกินไป การให้พนักงานตัดแต่งขนสัตว์ อาบน้ำ ทำความสะอาด มาให้บริการที่บ้าน ดูจะน่าสนใจและไม่ทำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องลำบากในการเดินทางด้วย ค่าบริการก็ขึ้นอยู่กับชนิดของงาน ความยากง่ายในบริการ ส่วนใหญ่เริ่มต้นตั้งแต่ 300 500 ไปจนถึงหลักพัน แต่ผู้ที่จะทำเดลิเวอรี่ด้านนี้ต้องมีความรู้ความชำนาญในงานที่ทำด้วย

3.ช่างซ่อมนอกสถานที่

38

ภาพจาก freepik

คนที่เป็นช่างไม่ว่ายุคไหนสมัยใดก็ไม่มีวันตกงาน ไม่ว่าจะช่างรถยนต์ ช่างมอเตอร์ไซด์ ช่างไฟฟ้า ช่างแอร์ ขอแค่รู้จักโฆษณาตัวเองให้คนส่วนใหญ่รู้จัก อาจจะมีหน้าร้านหรือไม่มีหน้าร้านก็ได้ แต่การมีหน้าร้านจะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าได้มากกว่า ซึ่งการเป็นช่างซ่อมนอกสถานที่ สามารถเพิ่มค่าบริการพิเศษได้มากขึ้น และยิ่งอยู่ในช่วงเวลานอกเหนือปกติ นอกจากค่าบริการแล้วอาจได้เงินพิเศษจากลูกค้า ที่ยินดีและเต็มใจจ่ายให้กับช่างที่มาทำหน้าที่ ถือเป็นงานบริการที่ใครมีทักษะทางนี้ หากินได้ไม่มีคำว่ายากจน

4.บริการทำความสะอาด

37

ภาพจาก freepik

บริการทำความสะอาดเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่สามารถเคลื่อนย้ายออกไปทำงานนอกสถานที่ได้ง่าย บริการทำความสะอาดไม่เพียงแต่ทำความสะอาดบ้านเท่านั้น การทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ สำนักงาน โกดัง สนามฟุตบอล พื้นที่จัดคอนเสิร์ต ก็จัดเป็นตัวเลือกยอดนิยม หรือถ้าเราไม่ได้ทำเป็นบริษัทแต่ทำคนเดียวก็สามารถเป็นแม่บ้านเดลิเวอรี่ได้ เพราะปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นให้เราสมัครเป็นแม่บ้าน ให้ลูกค้าเรียกใช้งานได้ตามต้องการด้วย

5.ร้านตัดผมเดลิเวอรี่

36

ภาพจาก freepik

สถานการณ์แพร่ระบาด COVID 19 ที่ผ่านมา ร้านตัดผมเสริมสวยก็ต้องมีการปรับตัว จากเหตุที่ร้านส่วนใหญ่ต้องปิดชั่วคราวตามมาตรการควบคุมการป้องกันโรคระบาด ดังนั้นการเข้าหาลูกค้าด้วยตัวเองจึงเป็นทางเลือกที่ร้านตัดผมส่วนใหญ่ใช้ โดยเป็นการบริการนอกสถานที่ ตามบ้านของลูกค้า ซึ่งสามารถเรียกใช้งานช่างตัดผมตามวัน เวลาที่กำหนด ถึงขนาดที่มีแฟรนไชส์ที่เข้ามาให้บริการในเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง

6.นวดแผนโบราณ

35

ภาพจาก freepik

อาชีพนวดแผนโบราณอยู่คู่สังคมไทยมานานและบรรดาผู้รับจ้างนวดทั้งหลายทั้งที่มีใบอนุญาติถูกต้องและไม่มีใบอนุญาติก็มีจำนวนมาก ขึ้นอยู่กับลูกค้าว่าจะรู้จักใคร และพึงพอใจในผลงานมากน้อยแค่ไหน ราคาในการนวดแต่ละครั้งคิดเป็นรายชั่วโมงขั้นต่ำชั่วโมงละประมาณ 100 บาท โดยเฉพาะตามห้องพัก อพาร์ทเม้นหลายแห่งนิยมใช้บริการนวดแผนโบราณจากผู้รับจ้างเดลิเวอรี่ หรือบรรดาคนที่ต้องนั่งนานๆ คนที่หยุดเสาร์ อาทิตย์ แต่ไม่อยากออกจากบ้านก็จะเลือกใช้บริการนวดแผนโบราณเหล่านี้

7.ช่างภาพ

34

ภาพจาก freepik

อาชีพช่างภาพเป็นงานเดลิเวอรี่ได้เช่นกัน เพราะเจ้าภาพจะจ้างงานช่างภาพไปตามสถานที่ต่างๆ มีการนัดหมาย หรือมีการวางมัดจำล่วงหน้า ช่างภาพที่มีฝีมือจะมีงานให้เข้ามาไม่ขาดสาย และมีรายได้ต่อเดือนที่สูงมาก ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือในการถ่ายภาพเป็นสำคัญ ยิ่งรู้จักคนมาก ยิ่งมีโอกาสได้งานมาก ปัจจุบันช่างภาพส่วนใหญ่ใช้สื่อโซเชี่ยลในการหาลูกค้า อัพโหลดรูปผลงานของตัวเองให้ลูกค้าได้เลือกชมก่อนตัดสินใจจ้างงาน

8.การจัดเลี้ยง (Catering)

33

ภาพจาก freepik

การจัดเลี้ยงในช่วงที่ผ่านมาอาจจะเงียบเหงาเพราะไม่สามารถจัดงานได้ตามต้องการ แต่หากสถานการณ์แพร่ระบาดคลี่คลาย การจัดเลี้ยงจะกลายเป็นเดลิเวอรี่ที่มีการจ้างงานอย่างคึกคัก ด้วยการเลื่อนจัดงานหลายต่อหลายงานในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นโอกาสของผู้ประกอบการจัดเลี้ยง ที่ต้องรู้จักพัฒนารูปแบบการจัดเลี้ยง เมนูอาหาร บริการให้สอดคล้องกับความต้องการ และจะเป็นงานเดลิเวอรี่ที่มีคนสนใจจ้างงานจำนวนมาก

9.บริการย้ายของ

32

ภาพจาก freepik

บริการย้ายของถือเป็นงานเดลิเวอรี่เช่นกันเพราะคนบางคนต้องการย้ายแบบเร่งด่วน ต้องการย้ายทันที ซึ่งก็มีทั้งการทำงานในรูปแบบของบริษัทที่มีการทำงานเป็นทีม มีรถขนย้ายของตัวเอง หรือคนธรรมดาที่รับงานด้านนี้ ก็อาจจะมีแค่รถกระบะและทีมงานบางส่วนในการช่วยขนย้าย ค่าใช้จ่ายต่อบริการหนึ่งครั้งก็ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน ระยะทางในการขนย้าย ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพเดลิเวอรี่ที่คนส่วนใหญ่มักนึกไม่ถึง

10.ติวเตอร์/เทรนเนอร์ส่วนตัว

31

ภาพจาก freepik

ครูสอนหรือเทรนเนอร์ส่วนตัวก็เป็นงานเดลิเวอรี่ได้ พ่อแม่บางคนต้องการติวเตอร์สอนลูกหลานตัวเองในทันที ก็จะจ้างติวเตอร์ให้มาสอนในวิชาที่ต้องการ หรือบางคนที่รักสุขภาพแต่ไม่อยากไปฟิตเนสก็จะมีการจ้างเทรนเนอร์ส่วนตัวมาให้บริการที่บ้านก็ถือเป็นอีกหนึ่งงานบริการที่น่าสนใจ ค่าใช้จ่ายต่อก็ขึ้นอยู่กับการตกลงโดยส่วนใหญ่คิดเป็นรายชั่วโมงขั้นต่ำประมาณ 300-500 บาท

การบริการแบบเดลิเวอรี่คือการปรับตัวทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น แต่ปัจจุบันก็มีการแข่งขันในด้านนี้สูง การจะพัฒนาอาชีพตัวเองให้เป็นเดลิเวอรี่ต้องคำนึงถึงความพร้อม และหัวใจหลักของเดลิเวอรี่คืองานบริการที่สร้างความประทับใจให้ลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจต้องจำไว้ให้ขึ้นใจ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3canYES

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด