รวมสินค้าขายดี สงกรานต์ปี 2565 ขายอะไรกำไรดีสุด
การแพร่ระบาดโควิด 19 ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมาทำให้เทศกาลสงกรานต์ในเมืองไทยเงียบเหงาไปถนัดตา ในปี2563 กลายเป็นปีแรกที่ประกาศห้ามมีการเล่นสาดน้ำ แถมยังประกาศในปีนั้นว่าวันสงกรานต์ไม่เป็นวันหยุดราชการ ต่อเนื่องในปี 2564 มาตรการคุ้มเข้มก็ยังต่อเนื่อง รัฐบาลประกาศห้ามเล่น สาดน้ำ ประแป้ง จัดคอนเสิร์ต ปาร์ตี้โฟม อย่างเด็ดขาดในทุกกรณี
แต่มาถึงปี 2565 นี้แม้โควิดจะยังแพร่ระบาดแต่ภาครัฐมีมติให้สามารถจัดงานสงกรานต์ จัดกิจกรรมตามประเพณีได้ โดยอนุญาตให้เล่นน้ำ และจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การละเล่น การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com ก็เชื่อว่าสงกรานต์ปีนี้น่าจะคึกคักกว่าในปีที่ผ่านๆ มา แม้จะต้องเจอภาวะค่าครองชีพสูงปรี๊ดก็ตาม และเมื่อถึงเทศกาลแห่งความสุขทั้งที การใช้จ่ายก็ต้องสูงมากขึ้น โดยปีนี้คาดว่าจะมีสินค้าหลายอย่างที่จะขายดีแน่ๆ ใครที่อยากมีรายได้เพิ่มในช่วงสงกรานต์เราขอแนะนำให้ลองหาสินค้าเหล่านี้มาขาย
1.ปืนฉีดน้ำ
ทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปืนฉีดน้ำจะขายดีมาก แม้ว่าปีนี้การเล่นสงกรานต์จะอนุญาตให้จัดงานตามประเพณี อาจไม่มีการเล่นสาดน้ำกันอย่างครึกโครม ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวไม่เต็มที่
แต่สำหรับปืนฉีดน้ำก็ยังเป็นไอเท็มที่หลายคนต้องมีติดตัวในเทศกาลสงกรานต์ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีดีไซน์ที่แปลกและสวยงามยิ่งทำให้น่าสนใจมากขึ้นโดยเฉพาะการขายในช่องทางออนไลน์ ราคาปืนฉีดน้ำขึ้นอยู่กับรูปแบบ ขนาด และวัสดุที่นำมาใช้ ราคาเฉลี่ยประมาณ 100-200 บาท แต่หากเรามีแหล่งสินค้าที่ราคาถูกกำไรของเราก็จะมากขึ้น นอกจากนี้อาจมีการจัดเป็นเซตเพื่อให้ขายง่าย เช่นมีปืนฉีดน้ำ มีดินสองพอง มีขันน้ำ รวมอยู่ในชุดเดียวกัน เป็นต้น
2.ซองพลาสติกกันน้ำใส่โทรศัพท์
ในยุคที่โทรศัพท์กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิต ช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกคนก็คงไม่พลาดที่จะพกโทรศัพท์ออกไปเล่นสงกรานต์ เพื่อจะได้ถ่ายภาพสวยๆ ไว้อัพเดทในโซเชี่ยล ดังนั้น ซองพลาสติกกันน้ำจึงเป็นสินค้าที่คาดว่าจะขายดีแน่ โดยปัจจุบันมีหลายราคา ให้เลือกซื้อได้ตามต้องการ ขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้า การขายที่ดีที่สุดแนะนำให้ตั้งโต๊ะวางขายในจุดที่การเล่นน้ำสงกรานต์ ราคาขายมีตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักร้อย กำไรมากน้อยแค่ไหนก็อยู่ที่ราคาสินค้าที่รับมาด้วย
3.เสื้อผ้าลายดอก
การแต่งกายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ส่วนใหญ่เน้นสีสันสดใส บรรดาเสื้อผ้าลายดอก รวมถึงเสื้อยืดสกรีนข้อความเด็ดๆ จะขายดีมาก หลายคนอาจซื้อเสื้อผ้าลายดอก ไปเป็นของฝากให้กับญาติผู้ใหญ่หรือลูกหลาน ราคาของเสื้อผ้าลายดอก ขึ้นอยู่กับผ้าที่นำมาตัดเย็บ รูปแบบการตัดเย็บ ส่วนใหญ่ราคาประมาณ 100-200 บาท โดยสามารถขายได้ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์
4.ข้าวกล่อง
สงกรานต์ปีนี้การเล่นน้ำอาจไม่คึกคัก แต่ก็อนุญาตให้มีการจัดงานบุญ งานตามประเพณี ซึ่งในพื้นที่ที่มีการจัดกิจกรรมก็เชื่อว่าจะมีคนเข้าร่วมงานพอสมควร สิ่งที่มาคู่กันคือ “ความหิว” ดังนั้นบรรดาข้าวกล่องแบบง่ายๆ เช่น ข้าวผัดกระเพรา ข้าวไข่เจียว ข้าวผัดจึงขายดีมาก ไอเดียในการขายคือการตั้งโต๊ะในแหล่งที่มีการจัดกิจกรรม ทำเป็นข้าวกล่องพร้อมขาย อย่าตั้งราคาแพงเกินไปราคาที่จะขายง่ายๆ ประมาณ 20-30 บาท แม้ต้นทุนตอนนี้ทั้งไข่และแก๊สจะเพิ่มขึ้น แต่หากขายได้มาก กำไรเราก็จะมากตามไปด้วย
5.ครีมกันแดด/หมวก
ทุกวันนี้แดดแรงมาก และยิ่งช่วงสงกรานต์แดดยิ่งแรง สินค้าที่จะใช้ป้องกันกันได้ครีมกันแดด และหมวก น่าจะเป็นสินค้าขายดีที่สามารถขายได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยเฉพาะบรรดาครีมกันแดดต่างๆ ที่เราอาจจะสั่งจากต่างประเทศมาสต็อคเตรียมไว้ แต่เราต้องวางแผนในการสั่งสินค้าให้ดี การสั่งสินค้าในปริมาณมากเกินไปหากขายไม่หมดจะกลายเป็นต้นทุนที่เราต้องแบกรับ ทางที่ดีควรมีกลยุทธ์ในการขายที่ดีร่วมด้วย เช่นการไลฟ์สด เป็นต้น
6.สินค้าที่เกี่ยวกับการทำบุญ
เทศกาลสงกรานต์ปีนี้การเล่นน้ำสงกรานต์อาจจะไม่คึกคักนัก แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังเดินทางกลับภูมิลำเนาในปริมาณมากแน่นอน เป้าหมายส่วนใหญ่คือการไปพบปะญาติพี่น้อง และทำบุญ สินค้าขายดีเช่นชุดสังฆทาน ธูปเทียน พระพุทธรูป ดังจะเห็นได้จากร้านสังฆภัณฑ์ต่างๆ ที่ในช่วงนี้จะมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมาก
7.เครื่องดื่ม/น้ำแข็ง
ในเดือนเมษายนอุณหภูมิที่ร้อนจัด คนส่วนใหญ่ต้องกระหายน้ำ และกลายเป็นช่องทางให้สินค้าอย่างเครื่องดื่มนั้นขายดีมาก เช่นน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ชานมไข่มุก น้ำปั่น น้ำแข็งไส รวมถึงน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพอย่างน้ำเก๊กฮวย น้ำกระเจี๊ยบ แช่เย็นๆ สามารถดื่มได้ชื่นใจ ราคาขายก็เริ่มต้นตั้งแต่ 10-20 บาท ต้นทุนจะมากน้อยแค่ไหนก็อยู่ที่รูปแบบสินค้า แต่รับรองว่าสินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มไปตั้งโต๊ะขายใกล้จุดคนเล่นน้ำสงกรานต์ต้องขายดีแน่
8.ชุดตรวจ ATK / เครื่องวัดอุณหภูมิ
แม้ในปีนี้ภาครัฐจะอนุญาตให้จัดกิจกรรมสงกรานต์ตามประเพณีได้ แต่ก็ยังคงให้เฝ้าระวังและอยู่ในมาตรการที่ควบคุมอย่างเคร่งครัดและเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็ต้องระวังตัวเองเป็นอย่างดี ดังนั้นบรรดาชุดตรวจ ATK , แอลกอฮอล์ทั้งแบบเจลและสเปรย์ หรือแม้แต่เครื่องวัดอุณหภูมิต่างๆ จะเป็นสินค้าที่หลายคนมีความต้องการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าตัวเองยังรอดปลอดภัยจากโควิด
9.อาหารทานเล่น
เมนูทานเล่นอย่างเนื้อย่าง ไก่ย่าง เฟรนฟรายส์ทอด ลูกชิ้นปิ้ง ลูกชิ้นทอด เมนูเหล่านี้ขายดีแน่ เคล็ดลับในการขายคือต้องตั้งโต๊ะในจุดที่มีการจัดกิจกรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์ ต้นทุนของสินค้าเหล่านี้ไม่สูง เป็นสินค้าขายง่าย ขายดี แต่อาจจะไม่ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำมากนัก แต่ก็พอให้มีรายได้หมุนเวียนหรือใครที่มีหน้าบ้านอยู่ในย่านชุมชนมีคนมาเล่นน้ำกันมากๆ อาจตั้งโต๊ะขายสินค้าเหล่านี้ที่หน้าบ้าน จะเป็นรายได้เสริมที่ดีมาก
10.สินค้าแฟชั่น
ในยุคโซเชี่ยลที่ทำกิจกรรมใดๆ ก็ต้องอยากแช๊ะ และแชร์ลงโซเชี่ยล ดังนั้น สินค้าแฟชั่นที่จะทำให้ตัวเองดูสวย ดูดีจึงสำคัญมาก เช่น แว่นตา รองเท้า สร้อยคอ เครื่องประดับ หรือแม้แต่เสื้อผ้าสวยๆ ดีไซน์เก๋ๆ มักถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการแต่งตัวก่อนที่จะออกไปเล่นสงกรานต์ สินค้าเหล่านี้จึงขายดีโดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์ต่างๆ
สงกรานต์ปีนี้การแพร่ระบาดโควิดยังไม่คลี่คลายนัก แต่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยดีและมีวิธีรับมือในเบื้องต้น ทำให้ภาครัฐมีนโยบายในการจัดกิจกรรมสงกรานต์ได้เพื่อให้มีการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจมากขึ้น การลงทุนขายสินค้าจึงควรเน้นในกลุ่มที่ขายง่าย ขายดี และต้นทุนไม่แพง ให้สอดคล้องกับรายได้ของคนส่วนใหญ่ที่ไม่มาก แม้สินค้าเหล่านี้จะไม่ใช่สินค้าที่สร้างกำไรได้มากแต่ก็พอเป็นรายได้หมุนเวียนที่สามารถต่อยอดการขายไปในเทศกาลอื่นๆ ได้อีกด้วย
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3uN8Bum
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)