รวมวิธีคิดเหนือชั้นทำให้รู้ว่า “ธุรกิจติดตลาด” หรือยัง

ธุรกิจติดตลาด คือสิ่งที่คนรู้จักทั่วไป ไม่จำเป็นต้องโฆษณาคนก็ต้องการจะซื้อหรือใช้บริการ แต่กว่าจะมาถึงขั้นนี้ก็ต้องมีการ “สร้างแบรนด์” กันนานพอสมควร ยกตัวอย่าง โค้ก ยี่ห้อน้ำอัดลมที่ดังไปทั่วโลกซึ่งก่อตั้งมานานกว่า 138 ปี มีวางขายในเมืองไทยมานานกว่า 75 ปี เป็นต้น

ธุรกิจติดตลาด

สำหรับแบรนด์ใหม่ๆ ที่เปิดตัวในตลาดก็คาดหวังว่าสักวันสินค้าเราจะฮิตแบบนั้น ซึ่งการสร้างแบรนด์ให้ติดตลาดมี 4 เคล็ดลับสำคัญคือ

  1. มีกลุ่มเป้าหมาย และจุดยืนให้ชัดเจน
  2. ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก มีความน่าสนใจ โดยใช้ต้นทุนให้น้อยที่สุด
  3. ทำโฆษณาในรูปแบบของสื่อชนิดต่างๆ ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค
  4. ทำความเข้าใจลูกค้าสม่ำเสมอ สร้างความภักดีต่อแบรนด์ให้มากขึ้น

แต่ในความเป็นจริงสมมุติว่าเราเปิดร้านขายสินค้าอะไรสักอย่างแล้วปรากฏว่าขายดีมาก อันดับแรกเราต้องพอใจที่ธุรกิจนี้มันสร้างรายได้อย่างดี คำถามคือ “แล้วแบบนี้เรียกว่าเป็น ธุรกิจติดตลาด หรือยัง”

Product-Market Fit คือศัพท์ธุรกิจที่เราควรรู้ ซึ่งหากแปลตรงๆก็หมายถึง ความเหมาะสมสอดคล้องกัน ระหว่างผลิตภัณฑ์กับตลาดที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย หรือในอีกความหมายก็คือ “ฮิตติดตลาด”

การดูว่าธุรกิจของเรา “ติดตลาด” หรือยังสังเกตได้จาก

  • ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าของเราเร็วแค่ไหน ?
  • ลูกค้าพูดถึงสินค้าของเราให้คนรอบตัวรู้จัก หรือพูดถึงบนโซเชียลมีเดียหรือไม่?
  • ลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมทางการตลาดของเราบ้างหรือไม่?
  • ลูกค้ายกเลิกการซื้อสินค้า หรือหากมีระบบสมาชิกมีจำนวนการยกเลิกมากน้อยแค่ไหน ?

แต่ถ้าการสังเกตยังไม่ชัดเจนมากพอและต้องการตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมจริงๆ ก็มีสูตรคิดเช่น

  • Customer Churn Rate การหาว่าลูกค้าเก่าที่หันไปซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์อื่น คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าทั้งหมด โดยหาได้จากสูตร Customer Churn Rate = (จำนวนลูกค้าที่หายไป / จำนวนลูกค้าทั้งหมด) x 100
  • Customer Retention Rate การหาอัตราการรักษาลูกค้าเก่าว่ายังมีลูกค้าเก่าอยู่กับธุรกิจของเรา คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลาหนึ่งโดยหาได้จากสูตร Customer Retention Rate = [(จำนวนลูกค้าที่เหลืออยู่ – จำนวนลูกค้าใหม่ที่หาได้) / จำนวนลูกค้าในช่วงเวลาเริ่มต้น] x 100

ธุรกิจติดตลาด

ซึ่งทั้ง 2 วิธีคิดนี้สำหรับคนที่ไม่ชอบตัวเลขคงจะน่าเบื่อ อันที่จริงก็ค่อนข้างยุ่งยากในการแทนค่าตัวเลขต่างๆ แต่ก็มีอีกวิธีที่ง่ายกว่าคือ Net Promoter Score (NPS) ที่เป็นตัวชี้วัดความพึงพอใจและความภักดีต่อแบรนด์ (Customer Loyalty) ที่ใช้เพียงคำถามง่าย ๆ ว่า “คุณจะแนะนำธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ให้เพื่อนหรือคนใกล้ตัวหรือไม่”

ซึ่งทุกคำตอบจะมีการให้คะแนนตั้งแต่ 0-10

  • 0 คะแนน หมายความว่า จะไม่แนะนำธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ อย่างแน่นอน
  • 10 คะแนน หมายความว่า จะแนะนำธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ อย่างแน่นอน

เมื่อตั้งคำถามนี้กับลูกค้าหลายๆ คนและมีจำนวนมากพอจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปวิเคราะห์และประเมินผลต่อไป

เมื่อสินค้าและ ธุรกิจติดตลาด ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะจบ ถึงตรงนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจต้องสร้างภาพจำให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม Coca-Cola แบรนด์ระดับโลก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอยู่แล้วยังต้องทุ่มงบประมาณมหาศาล เพื่อทำ “การโฆษณา” และ “การตลาด” ปีละกว่า 100,000 ล้านบาท

ความต้องการเพียงอย่างเดียวของแบรนด์ที่ติดตลาดไม่ใช่การสร้างยอดขาย แต่ทำอย่างไรเพื่อรักษาลูกค้าเก่าให้คงอยู่ ในขณะที่ต้องมีลูกค้าใหม่เข้ามาทดแทน นำไปสู่การพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ที่เข้าใจ Pain Point ของลูกค้า ในทุกยุคสมัยเพื่อให้ธุรกิจนั้นฮิตตลอดกาล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด