รวมธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด!

นาทีนี้ไม่ว่าจะไปไหนได้ยินเสียงพ่อค้าแม่ค้า รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า เศรษฐกิจย่ำแย่เหลือเกิน ขายของลำบาก ประชาชนไม่อยากใช้จ่าย หลายๆ ธุรกิจอยู่ในช่วงยากลำบากไม่น้อย บางธุรกิจไปต่อไม่ไหว มาดูกันว่ามีธุรกิจอะไรบ้างที่กำลังเป็นเสือลำบากในช่วงปี 2567 และนับต่อจากนี้

1.ธุรกิจเต็นท์ขายรถมือ 2

รวมธุรกิจเสือลำบาก

ภาพจาก freepik.com

ปี 2567 เห็นได้ชัดเจนว่าธุรกิจเต็นท์รถมือสองไปต่อไม่ไหว แพลตฟอร์มซื้อขายรถมือ 2 รายใหญ่ประกาศปิดกิจการ จากธุรกิจดาวเด่นยุคโควิด สู่ดาวร่วง เมื่อเศรษฐกิจฟื้น-กระแสรถ EV มาแรงเกินต้าน ผู้ประกอบการแข่งดุ สวนทางดีมานด์ เจอปัญหาโอเวอร์ซัพพลาย คนกู้ไม่ผ่าน ผ่อนไม่ไหว อีกทั้งราคายังสู้รถใหม่ไม่ได้ สะท้อนวิกฤติเต็นท์รถมือ 2 จริงๆ

2.ธุรกิจรับจัดโต๊ะจีน

รวมธุรกิจเสือลำบาก

ธุรกิจร้านอาหารจีนและรับจัดโต๊ะจีนเคยเฟื่องฟูอย่างมากก่อนโรคโควิดระบาด พอมาเจอโควิดตั้งแต่ปี 2563 ต่างทยอยปิดตัวกันเป็นแถว เพราะโต๊ะจีนไม่สามารถจัดให้นั่งได้เต็มที่ เว้นระยะห่าง ส่งผลให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ทำรายได้จากบริการจัดเลี้ยงอาหารจีนไม่มากนัก ส่วนอีกหลายแห่งประสบปัญหาขาดแคลนทุนอย่างหนัก ทำให้ต้องเลิกจ้างพ่อครัว ผู้ช่วยพ่อครัว และพนักงานเสิร์ฟบางส่วน เพื่อปรับลดต้นทุนการดำเนินงาน

3.ขายของตลาดนัด

รวมธุรกิจเสือลำบาก

เคยเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอย่างมากในช่วง 2-3 ปีก่อน คนอยากหารายได้เสริม คิดอะไรไม่ออก ก็เปิดท้ายขายของหรือขายของตามตลาดนัด พ่อค้าแม่ค้าทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ มาปี 2567 เศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูง ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ทำให้พ่อค้าแม่ค้าขายไม่ดีตามด้วย ตลาดหลายๆ แห่งแทบไม่มีคนเดิน

4.ธุรกิจร้านอาหาร

รวมธุรกิจเสือลำบาก

ผู้ประกอบการร้านอาหารได้ส่งสัญญาณอยู่ในช่วงลำบาก ไปต่อไม่ไหว ทยอยปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2566 มาปี 2567 สัญญาณเริ่มชัดขึ้น ร้านอาหารหลายๆ แบรนด์ปิดกิจการต่อเนื่อง ทั้งแบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากต้นทุนวัตถุดิบสูง และการแข่งขันที่สูงขึ้น แม้แต่แบรนด์ “อร่อยดี” ในเครือ CRG ยังปิดตัวไปแล้วเมื่อสิ้นเดือน เม.ย. 2567

5.ร้านชาบู หมาล่า

รวมธุรกิจเสือลำบาก

ช่วงปีที่ผ่านมา ธุรกิจร้านอาหารชาบู หมาล่า บูมเอามากๆ ได้รับความนิยมลูกค้าคนไทยอย่างมาก เป็นของแปลกใหม่จากประเทศจีน นักธุรกิจทั้งชาวไทยชาวต่างชาติแห่เปิดกันเป็นจำนวนมาก มาตอนนี้เริ่มปิดกิจการ หายไปทีละรายๆ เห็นได้ชัดเจนก็คือย่านห้วยขวาง จากที่แข่งขันกันเปิด มาแข่งขันกันปิด เหลืออยู่ไม่กี่ร้านในตอนนี้

6.ร้านโชห่วย

รวมธุรกิจเสือลำบาก

ก่อนจะมีร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ต้องยอมรับว่าร้านขายของชำหรือโชห่วยถือเป็นร้านค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากประจำหมู่บ้าน ใครที่เปิดร้านขายตามหมู่บ้านนับว่าเป็นเถ้าแก่ เป็นคนมีฐานะคนหนึ่ง พอมาในวันนี้ถือเป็นช่วงยากลำบากของร้านโชห่วย คนเข้าร้าน 7-Eleven กันหมด ยังรวม CJ, มินิบิ๊กซี, Tops Daily อีกต่างหาก

นั่นคือ 6 ธุรกิจเสือลำบาก ปี 2567/2024 โหดจัด ไปไม่รอด! โดยสาเหตุมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ต้นทุนวัตถุดิบสูง การระบาดโควิด-19 รวมถึงการไม่สามารถปรับตัวได้ของผู้ประกอบการ ทำให้แข่งขันในตลาดไม่ได้ สุดท้ายไปต่อไม่ไหว

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช