ย้อนอดีต! 5 แบรนด์แฟรนไชส์อเมริกาที่ว่าแน่ แต่โบกมือลาไทย

แบรนด์แฟรนไชส์จากสหรัฐอเมริกาไม่ว่าจะขยายตลาดไปที่ประเทศไหน มักจะทำให้คู่แข่งในประเทศเหล่านั้นตกเป็นรองขึ้นมาทัน กลายเป็นเบอร์ 1 ในบรรดาธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทเดียวกัน กรณีในไทยมีแมคโดนัลด์ เคเอฟซี สตาร์บัคส์ เซเว่นแต่รู้หรือไม่ว่ายังมีแบรนด์แฟรนไชส์จากอเมริกาที่ไม่ประสบความสำเร็จในไทย โบกมือลาไปแล้ว มาย้อนอดีตกันครับ

1.บาสกิ้น ร็อบบิ้นส์ (Baskin Robbins)

แบรนด์แฟรนไชส์อเมริกาที่ว่าแน่

ภาพจาก www.facebook.com/BaskinRobbinsThailand

แฟรนไชส์ไอศกรีมจากสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 7,682 สาขาทั่วโลก ก่อตั้งเมื่อปี 1945 (2488) โดยชาย 2 คน คือ ฺBurt Baskin กับ Irv Robbin ซึ่งทั้งสองคนเปิดร้านไอศกรีมในรัฐแคลิฟอร์เนียเหมือนกัน แต่คนละพื้นที่ ต่อมาทั้งคู่รวมธุรกิจกันใช้ชื่อแบรนด์ Baskin Robbins

Baskin Robbins เข้ามาเปิดตลาดในไทยราวๆ ปี 2539 แต่การทำตลาดไม่หวือหวามากนัก หลังจากนั้นอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท โกลเด้น สกู๊ป จำกัด ในเครือ บมจ.มัด แอนด์ ฮาวด์ หรือ MUD ผู้บริหารแฟรนชไชส์ “ดังกิ้น โดนัท”

ในปี 2563 แฟรนไชส์ไอศกรีม Baskin Robbins มีสาขากว่า 34 สาขา แต่ได้ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2564 เหลือเพียง 10 สาขาเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นร้านขนาดเล็กคีออส

ปี 2565 เหลือ 4 สาขา คือ โรงพยาบาลศิริราช, สยามพารากอน, เค วิลเลจ, และ เดอะวอล์ค เกษตร-นวมินทร์ พอมาถึงต้นปี 2566 ทางร้าน Baskin Robbins ประกาศปิดกิจการทั้งหมดในไทย

สาเหตุของการปิดกิจการในไทยมาจากการแข่งขันตลาดไอศกรีมในประเทศไทยสูงมาก ทำให้ผลประกอบการของ Baskin-Robbins ขาดทุนสะสมมาตลอด

  • ปี 2562 รายได้ 103 ล้านบาท ขาดทุน 10.2 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 63 ล้านบาท ขาดทุน 10.4 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 52 ล้านบาท ขาดทุน 7.4 ล้านบาท

2.เอแอนด์ดับบลิว (A&W)

แบรนด์แฟรนไชส์อเมริกาที่ว่าแน่

ภาพจาก www.facebook.com/awthai

แฟรนไชส์ร้านอาหารจากสหรัฐอเมริกา มีจุดเด่น คือ ขายรูทเบียร์ และวาฟเฟิล ก่อตั้งเมื่อปี 1919 (2462) ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย อเมริกา ปัจจุบันมีสาขากว่า 884 ทั่วโลก เข้ามาเปิดตลาดสาขาแรกที่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว ปี 1983 (2526) ภายใต้การบริหารของบริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) ต่อมาขยายสาขาได้มากถึง 30 สาขาทั่วประเทศ ตามหัวเมืองใหญ่ในห้างสรรพสินค้าบางสาขาอยู่ตามปั้มน้ำมัน

พอมาถึงปี 2565 A&W ประกาศปิดสาขาอย่างน่าใจหาย โดยมาจากปัจจัยการแข่งขันในตลาดสูง พฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศ ส่งผลต่อรายได้ของบริษัทขาดทุนสะสมติดต่อกันหลายปี โดยเฉพาะในปี 2564 ขาดทุนกว่า 70 ล้านบาท ซ้ำหนักยังมาเจอการระบาดโควิด-19 อีก

3.คาร์ลซ จูเนียร์ (Carl’s Jr.)

แบรนด์แฟรนไชส์อเมริกาที่ว่าแน่

ภาพจาก https://citly.me/1xEjt

แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดขายแฮมเบอร์เกอร์จากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1941 (2484) ในแคลิฟอร์เนียร์ สหรัฐอเมริกา ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว สามารถขยายสาขาได้ถึง 300 สาขาในปี 1984 (2524) ก่อนที่จะเปิดขายแฟรนไชส์ในปี 1987 (2530) ปัจจุบันมีสาขากว่า 1,695 ทั่วโลก

Carl’s Jr. เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 2555 ภายใต้การบริหารของบริษัท อาร์แอนด์อาร์ เรสทัวรองท์ กรุ๊ป จำกัด เปิดสาขาแรกที่พัทยา จำนวน 2 สาขา ก่อนขยายสาขามาในกรุงเทพฯ และที่อื่นๆ ปี 4 สาขา

ปีแรกๆ บริษัทตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะใช้งบกว่า 80 ล้านบาท ทำการตลาด สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก พร้อมวางแผนขยายสาขาถึง 9 แห่ง เน้นพื้นที่กรุงเทพฯ แต่สุดท้ายไปต่อไม่ไหว จำเป็นต้องโบกมือลาในไทย

พอถึงปี 2565 บริษัทฯ ได้ประกาศปิดทุกสาขาในสิ้นเดือนมีนาคม จากปัจจัยขาดทุนสะสม อีกทั้งยังมาเจอการระบาดโควิด-19 ปี 2562 ขาดทุน 46 ล้านบาท ปี 2563 ขาดทุน 43 ล้านบาท

4.The Coffee Bean & Tea Leaf (คอฟฟี่ บีน แอนด์ ทีลีฟ)

ภาพจาก www.facebook.com/thecoffeebeanthailand

แฟรนไชส์ร้านกาแฟชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1963 (2506) ต่อไปในปี 2014 (2557) ขยายสาขาหลาย 100 สาขาใน 27 ประเทศ ส่วนในไทยเข้ามาเปิดตลาดเมื่อปี 2013 (2556) ที่ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ภายใต้การบริหารบริษัท เอฟโวลูชั่น แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ต่อจากนั้น The Coffee Bean & Tea Leaf ถูกโอนไปให้บริษัท ฟู้ด แคปปิตอล จำกัด ดูแล

ต่อมาปี 2561 ฟู้ด แคปปิตอล ก็โอน The Coffee Bean & Tea Leaf กลับคืนไปให้ ฟิโก กรุ๊ป หรือกลุ่มศรีชาวาลา จนกระทั่งวันที่ 18 ก.ค. 2563 เพจ The Coffee Bean & Tea Leaf ได้ประกาศปิดกิจการถาวรทุกสาขาในวันที่ 20 ก.ค. 2563 เป็นช่วงการระบาดโควอด-19 พอดี

5.Popeyes (ป๊อปอายส์)

ภาพจาก www.facebook.com/Popeyes

แฟรนไชส์ร้านไก่ทอดชื่อดังจากอเมริกา ก่อตั้งเมื่อปี 1972 ปัจจุบันมีสาขากว่า 4,091 สาขาทั่วโลก เป็นแฟรนไชสืไก่ทอดที่เป็นรองแค่ KFC ในอเมริกา เข้ามาเปิดตลาดในไทยเมื่อปี 1995 โดยกลุ่มกรีนวัลเลย์ พอดำเนินธุรกิจไปได้ไม่นาน ก็มาจาวิกฤตต้มยำกุ้ง ลอยตัวเงินบาท ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น Popeyes ต้องปรับตัวมาโดยตลอด แต่ก็ไปไม่ไหว โบกมือลาตลาดในไทย

นั่นคือ 5 แบรนด์แฟรนไชส์อเมริกาที่ว่าแน่ ที่ตอนนี้เป็นแค่ตำนานในเมืองไทย แต่แบรนด์แฟรนไชส์เหล่ายังเปิดให้บริการในสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศทั่วโลก ปัจจัยที่ทำให้แบรนด์แฟรนไชส์ยักษฺใหญ่อเมริกาโบกมือลาไทย คือ การแข่งสูง ปรับตัวไม่ได้ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ทำให้ผลประกอบการขาดทุนสะสม อีกทั้งยังเจอการระบาดโควิด-19 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช