ปี 2022 แฟรนไชส์สะดวกซัก ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่

หลังจากมีข่าว แฟรนไชส์สะดวกซัก WASHCOIN ชิงปิดกิจการ ลอยแพผู้ซื้อแฟรนไชส์เกือบ 100 ราย สร้างความเสียหายหลัก 100 ล้านบาท โดยอ้างเหตุผลการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 ยาวนาน 6 เดือน ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่อง ยอดขายลดลง อีกทั้งไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ จึงต้องปิดกิจการและระบบอย่างถาวรตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 2565

จากกรณีดังกล่าวได้มีคำถามตามมามากมายจากผู้ที่อยากจะลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2565 ว่า แฟรนไชส์สะดวกซัก ยังน่าสนใจลงทุนอยู่หรือไม่ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะหาคำตอบมาให้ครับ

แฟรนไชส์สะดวกซัก

ปัจจุบันร้านสะดวกซักในประเทศไทยมีมูลค่าราวๆ 2,800 ล้านบาท มีจำนวนสาขารวมกันกว่า 2,200 สาขา และมีแนวโน้มเติบขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเริ่มแรกในช่วง 2-3 ปีก่อนมีเพียงไม่กี่แบรนด์ ปัจจุบันมีราวๆ 40 แบรนด์ทั้งแบรนด์ไทยและต่างประเทศ แม้จะเกิดการระบาดของโควิด-19 แต่ร้านสะดวกซักตอบโจทย์ผู้บริโภคและเติบโตสวนกระแสธุรกิจอื่นๆ

เนื่องจากร้านสะดวกซักตอบโจทย์วิถีชีวิตของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่ต้องการความเร่งรีบ สะดวกสบาย ซึ่งการซักผ้า ตากผ้า ที่ต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงกลายเป็นกิจกรรมที่ไม่มีใครอยากทำเสียเวลา จึงทำให้การทำความสะอาดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายกลายเป็นปัญหาสำคัญของคนทั่วไปที่อยากมองหาวิธีการซักผ้าที่มีความสะดวกสบายมากขึ้น

23

แต่ถ้าถามว่าแฟรนไชส์สะดวกซักยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่ ขอเรียนว่ายังน่าลงทุน เพราะตลาดในเมืองไทยยังมีโอกาสอีกมาก เพราะแม้โควิด-19 ไม่คลี่คลาย แต่ธุรกิจร้านสะดวกซักได้รับผลกระทบน้อยกว่าธุรกิจอื่น เพราะเป็นธุรกิจที่ใช้คนน้อย ทำให้มีต้นทุนแรงงานต่ำ ไม่ต้องสต็อกสินค้า ต้นทุนมีเพียงค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า และค่าแก๊สเท่านั้น ประกอบกับการซักผ้าเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องทำประจำอยู่แล้ว จึงทำให้มีการใช้บริการต่อเนื่อง สามารถทำเงินให้นักลงทุนได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อย่างไรก็ตาม การลงทุนแฟรนไชส์สะดวกซักใช้เงินลงทุนสูงประมาณ 1-3 ล้านบาท โดยเฉพาะแฟรนไชส์สะดวกซักที่ใช้เครื่องอุตสาหกรรม มีจุดเด่นใช้งานได้นาน ซักรวดเร็ว สะอาด ทั้งซัก-อบแห้ง มีสิ่งอำนวยสะดวกลูกค้าครบครัน ถ้าบำรุงรักษาดีไม่ต้องซ่อมบ่อย เครื่องอบเอากรองฝุ่นทำความสะอาดบ่อยๆ การทำความร้อนก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

22

สำหรับรายรับ-รายจ่าย ผู้ลงทุนแฟรนไชส์จะมีรายรับประมาณราวๆ 60,000-120,000 บาทต่อเดือน โดยช่วงที่มีลูกค้าใช้บริการมากที่สุดจะเป็นช่วงหน้าฝน รายได้อย่างต่ำอาจถึงแสนบาท ส่วนช่วงหน้าร้อนทำให้ลูกค้าใช้บริการน้อยลง

ส่วนรายจ่ายหากเปิดร้านแฟรนไชส์สะดวกซักเครื่องอุตสาหกรรม มีทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ค่าเช่า ค่าแม่บ้าน ตกประมาณเดือนละ 35,000-65,000 บาท (ไม่รวมเงินเดือนผู้ลงทุนแฟรนไชส์) แล้วแต่ขนาดของร้านแฟรนไชส์

นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายในเรื่องการซ่อมบำรุง ซึ่งข้อมูลจากคนที่ซื้อแฟรนไชส์บอกว่าตกปีละประมาณ 20,000-50,000 บาท แต่ถ้าซ่อมเป็นครั้งก็อาจจะแพง ค่าอะไหล่บางรายการตกราวๆ 5,000-7,000 บาท และถ้าอายุการใช้งานของเครื่องซักผ้าประมาณ 5 ปี ผู้ลงทุนแฟรนไชส์ก็จะต้องคืนทุนให้ได้ภายใน 5 ปี ไม่เช่นนั้นเครื่องเก่าทำงานได้ไม่เป็นประสิทธิภาพ

21

สำหรับคนสนใจลงทุนแฟรนไชส์สะดวกซักในปี 2022 อย่างแรกต้องศึกษาหาข้อมูลแบรนด์แฟรนไชส์สะดวกซัก เปรียบเทียบหลายๆ แบรนด์ เพราะแต่ละแบรนด์มีจุดเด่น ข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริการ ถือเป็นจุดที่ทำให้ร้านสะดวกซักมีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง เช่น นั่งรอผ้าซัก มีกาแฟทาน ไวไฟฟรี มีทีวีให้ดู ฯลฯ

ขั้นตอนต่อไปที่ผู้ต้องการลงทุนทำแฟรนไชส์ร้านสะดวกซักต้องทำ คือ การหาทำเลที่ตั้งในการเปิดร้าน ถ้าบริเวณโดยรอบเป็นหมู่บ้านพื้นราบ ไม่ใช่ใจกลางเมือง ซึ่งส่วนใหญ่มีเครื่องซักผ้าอยู่แล้ว จะเป็นทำเลที่ไม่เหมาะในการเปิดร้าน โดยทำเลที่ดีสำหรับเปิดร้านสะดวกซัก คือ มหาวิทยาลัย ย่านที่พักแนวสูง อพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม โรงแรม ฯลฯ

20

สุดท้ายถือเป็นหัวใจสำคัญของการลงทุน แฟรนไชส์สะดวกซัก หรือแฟรนไชส์อื่นๆ ก็คือ การตรวจสอบและศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) ให้ได้มากๆ ตรวจสอบสถานะกิจการ ผลประกอบการ ประสบการณ์ของผู้บริหาร รวมถึงระบบการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา ซึ่งสามารถตรวจสอบผลประกอบการจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสอบถามระบบการสนับสนุนจากสาขาแฟรนไชส์ซีรายอื่นๆ

มาถึงตอนนี้ใครที่อยากลงทุนแฟรนไชส์สะดวกซักจริงๆ ขอให้คิดให้ดีอย่างรอบคอบ ศึกษาหาข้อมูลแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์เพื่อเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะตอนนี้มีแฟรนไชส์สะดวกซักหลากหลายแบรนด์ ลองไปหาข้อมูลให้ดี ทำการบ้านให้ละเอียด ไม่เช่นนั้นอาจน้ำตาเช่นหัวเข่าอย่างกรณีผู้ซื้อแฟรนไชส์สะดวกซัก WASHCOIN ก็เป็นได้ครับ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3tDTeWl

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช