ทีมไหน! เจ้าของแฟรนไชส์ หาทำเลให้ vs แฟรนไชส์ซี หาทำเลเอง

ธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ มีการช่วยผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ ด้วยการวิเคราะห์และหาทำเลเปิดร้านให้ ขณะที่อีกหลายๆ แบรนด์เช่นเดียวกันจะให้ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์หาทำเลเปิดร้านเอง แล้วนำเสนอให้แบรนด์แฟรนไชส์พิจารณา ทั้งสองแบบมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร มาดูกัน

เจ้าของแฟรนไชส์ หาทำเลให้

เจ้าของแฟรนไชส์ หาทำเลให้

ข้อดี

  1. ไม่เหนื่อย ไม่เสียเวลาในการหาทำเลเอง
  2. ได้รับการพิจารณาเปิดร้านได้เร็ว เพราะมีทำเลรองรับอยู่แล้ว
  3. ได้ทำเลทองที่ผ่านการวิเคราะห์และพิจารณาจากเจ้าของแฟรนไชส์แล้ว
  4. อาจได้ค่าเช่าราคาถูกกว่าหาทำเลเอง เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ต่อรองเจ้าของพื้นที่ให้

ข้อเสีย

  1. เจ้าของแฟรนไชส์มีอาจมีการคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม โดยบวกกับค่าแฟรนไชส์
  2. อาจได้ทำเลเปิดร้านไม่โดนใจ ไกลที่พักอาศัยของตัวเอง

แฟรนไชส์ซี หาทำเลเอง

เจ้าของแฟรนไชส์ หาทำเลให้

ข้อดี

  1. ได้ทำเลโดนใจ ใกล้บ้าน
  2. รู้ว่าทำเลเปิดร้านมีโอกาสขายได้ จากการลงสำรวจของตัวเอง
  3. ได้ค่าเช่าถูก หรือไม่ได้เสียค่าเช่า กรณีรู้จักเจ้าของพื้นที่ หรือเป็นที่ของตัวเอง

ข้อเสีย

  1. เหนื่อย เสียเวลาในการวิเคราะห์และหาทำเลเปิดร้านเอง
  2. มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หาทำเล
  3. ทำเลที่นำเสนอ อาจไม่ได้รับการพิจารณาจากเจ้าของแฟรนไชส์ ทำให้เสียโอกาส
  4. เปิดร้านได้ช้า ต้องรอทางเจ้าของแฟรนไชส์พิจารณาทำเลเปิดร้าน

เคล็ดลับในการหาทำเลเปิดร้าน ลูกค้าไม่ขาดสาย

1.ลงพื้นที่สำรวจกลุ่มลูกค้า

เจ้าของแฟรนไชส์ หาทำเลให้

สิ่งแรกที่ต้องทำในการเลือกทำเลเปิดร้าน คือ การลงพื้นที่สำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อายุ เพศ อาชีพ รายได้ ความหนาแน่นของประชากร พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอย เมื่อรู้ข้อมูลเหล่านี้จะรู้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์เหมาะสมกับทำเลนั้นหรือไม่

2.การสัญจรของลูกค้า

เจ้าของแฟรนไชส์ หาทำเลให้

ทำเลเปิดร้านที่ดีต้องอยู่ติดกับทางสัญจรของลูกค้า ไม่ใช่ว่านานๆ ทีมีรถผ่านคันเดียว หรือคนเดินผ่าน 4-5 คน แบบนี้ก็ขายไม่ได้แน่นอน ก่อนเปิดร้านควรลงพื้นที่สำรวจให้เห็นกับตาเลยว่า ภาพรวมสถานที่เป็นยังไง มีที่จอดรถ การเดินทางสะดวกหรือไม่ รวมถึงมีคนสัญจรผ่านไปมาตลอดเวลาหรือเปล่า

3.มองเห็นง่าย เข้าถึงสะดวก

ทำเลทองต้องมีที่จอดรถ การเดินทางสะดวก เข้าถึงง่าย ที่สำคัญร้านต้องไม่มีอยู่มุมอับ เปิดร้านแล้วต้องโดดเด่น มองเห็นได้ชัดเจน ถึงจะดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี ก่อนเปิดร้านลงพื้นที่สำรวจด้วยตัวเองว่า ถ้าเปิดร้านแล้วมองเห็นชัดเจนหรือไม่

4.สำรวจคู่แข่งขันในพื้นที่

เปิดร้านแล้วจะขายได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคู่แข่งขันในพื้นที่ด้วย สำรวจดูว่าพื้นที่จะเปิดร้านมีคู่แข่งธุรกิจเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีร้านธุรกิจเดียวกันเยอะจะทำให้แข่งขันรุนแรง แย่งลูกค้ากันเอง ถ้าคู่แข่งธุรกิจเดียวกันน้อย จะช่วยเพิ่มยอดขายได้ดีกว่าคู่แข่งมาก

5.ค่าเช่าพื้นที่เปิดร้าน

ธุรกิจแฟรนไชส์จะมีรายได้และอยู่รอดได้ขึ้นอยู่กับค่าเช่าพื้นที่ในการเปิดร้านด้วย เปิดในห้างจะมีค่าเช่าแพงกว่านอกห้าง ถ้าจะเปิดในห้างต้องดูว่าเหมาะสมกับธุรกิจตัวเองด้วยหรือไม่ บางธุรกิจไม่เหมาะกับในห้าง ถ้าค่าเช่าแพงก็ต้องเปรียบเทียบหลายๆ พื้นที่ วิเคราะห์การสัญจรและทราฟฟิกของลูกค้าประกอบอีกที

6.วิเคราะห์แนวโน้มทำเล

อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก่อนเลือกทำเลเปิดร้าน คือ แนวโน้มการพัฒนาของทำเลในพื้นนั้นๆ มีโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ถนนหนทางเพิ่มขึ้นหรือไม่ การขยายตัวของผังเมือง ความเจริญเติบโตของพื้นที่ สภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น

นั่นคือ ข้อดี-ข้อเสีย ระหว่าง เจ้าของแฟรนไชส์ หาทำเลให้ กับ ผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์ หาทำเลเปิดร้านเอง คนที่อยากซื้อแฟรนไชส์ต้องเลือกให้เหมาะกับตัวเอง หาทำเลเองอาจเปิดร้านได้ช้าหรือไม่ได้รับการพิจารณา หรืออาจได้ค่าเช่าถูก หรือไม่มีค่าเช่าเลยก็ได้ เพราะเป็นทำเลของตัวเอง หรือเป็นของคนรู้จัก ที่สำคัญทำเลต้องเหมาะสมกับแฟรนไชส์ที่เปิดด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช